โลกผลักดันความพยายามในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19

Ba Thi
Chia sẻ
(VOVWORLD) - ในระหว่างวันที่ 3-4 ธันวาคมปี 2020 สมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้จัดการประชุมพิเศษครั้งที่ 75 เกี่ยวกับการรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ การประชุมครั้งนี้มีการเข้าร่วมของบรรดาผู้นำและนักวิทยาศาสตร์จากกว่า 100 ประเทศและองค์กรระหว่างประเทศสำคัญๆ ซึ่งถือเป็นความพยายามระดับโลกครั้งใหม่ และเป็นที่น่าสนใจที่สุดในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติในศตวรรษที่ 21   
โลกผลักดันความพยายามในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 - ảnh 1นาย อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ (UN) 

ตามรายงานที่ประกาศเมื่อวันที่ 3 ธันวาคมต่อที่ประชุมของสหประชาชาติเกี่ยวกับการค้าและการพัฒนาหรือ UNCTAD การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ทำให้ประชาชน 32 ล้านคนใน 47 ประเทศที่ด้อยพัฒนาที่สุดในโลกตกเข้าสู่ความยากจนอย่างรุนแรง โดยเฉพาะถ้าหากไม่มีปฏิบัติการใดๆก็จะทำให้เป้าหมายการพัฒนาระดับโลกไม่ประสบความสำเร็จ

ผลักดันความพยายามทั่วโลกเพื่อรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19

นาย อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติได้เผยว่า จนถึงขณะนี้ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1.5 ล้านคนทั่วโลก และทำให้ความท้าทายในระยะยาวอื่น ๆ รุนแรงมากขึ้น รวมถึงความไม่เท่าเทียมกันและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ตามคำเตือนของเลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ โลกอาจต้องเผชิญกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด -19 ในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้าถึงแม้วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19จะถูกนำมาใช้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งย้ำว่า ความคืบหน้าทางวิทยาศาสตร์ในเวลาที่ผ่านมาเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม แต่การฉีดวัคซีนไม่ใช่ "ยาอายุวัฒนะ" เพื่อรับมือกับโควิด -19 ที่กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลก นาย กูเตอร์เรส ได้ย้ำอีกครั้งถึงคำเรียกร้องว่า วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ควรได้รับการพิจารณาให้ เป็น"สินค้าทั่วไประดับโลก" เพื่อแบ่งปันกับประชาชนทั่วโลก อีกทั้งเรียกร้องการมีส่วนร่วมของประเทศต่างๆในการสนับสนุนเงินทุน 4.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ในอีก 2 เดือนข้างหน้า 

ในฐานะสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติวาระปี2020-2021  ประธานอาเซียนปี 2020 โดยเฉพาะ การได้รับการชื่นชมจากประชาคมโลกเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการป้องกันและรับมือการแพร่ระบาดของโควิด-19 นายกรัฐมนตรีเวียดนาม  เหงียนซวนฟุก ได้ส่งสารที่สำคัญถึงที่ประชุมผ่านเนื้อหา 6 ประเด็นโดยให้ความสำคัญต่อบทบาทการเป็นศูนย์กลางของสหประชาชาติ การผลักดันการประสานงานนโยบาย ความสามัคคีในการปฏิบัติงาน  การผลักดันความร่วมมือระหว่างประเทศ ตลอดจนความพยายามของกลไกพหุภาคีในการบริหารระดับโลกเพื่อขจัดโควิด-19 การถือผลประโยชน์ของประชาชนเป็นศูนย์กลางของนโยบายและการปฏิบัติเนื้อหาที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆคือปกป้องสุขภาพและชีวิตของมนุษย์ ค้ำประกันว่า ประชาชนในทุกประเทศและดินแดนสามารถเข้าถึงวัคซีนและยารักษาโรคโควิด-19 ในราคาที่ย่อมเยา ในฐานะประธานอาเซียน 2020 เวียดนามและประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นพ้องกับข้อริเริ่มและความร่วมมือหลายข้อเพื่อรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เช่น กองทุนอาเซียนเพื่อรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลังสำรองอุปกรณ์การแพทย์ฉุกเฉินระดับภูมิภาค กรอบยุทธศาสตร์รับมือสถานการณ์ด้านสาธารณสุขฉุกเฉินของอาเซียน ศูนย์สาธารณสุขอาเซียนเพื่อรับมือสถานการณ์ด้านสาธารณสุขฉุกเฉินและโรคอุบัติใหม่ กรอบการฟื้นฟูแบบบูรณาการของอาเซียนและแผนปฏิบัติการอย่างพร้อมเพรียงใน 3 เสาหลักของประชาคมเพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนและสถานประกอบการในการแก้ไขผลร้ายจากการแพร่ระบาดและรักษาเสถียรภาพโดยเร็ว

โลกผลักดันความพยายามในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 - ảnh 2บรรดาผู้แทนยืนสงบนิ่งเป็นเวลา 1 นาที แสดงความไว้อาลัยต่อผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในการประชุมเมื่อวันที่ 3 ธันวาคมปี 2020 (UN)

ความต้องการและแนวโน้มของความร่วมมือเพื่อรับมือการแพร่ระบาด

ก่อนการประชุมพิเศษของสมัชชาใหญ่สหประชาชาติเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายนไม่กี่วัน อาเซียนและสหภาพยุโรปหรืออียูได้จัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน – อียูหรือ AEMM ครั้งที่ 23 ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์เพื่อหารือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในอนาคต ปัญหาระหว่างประเทศ โดยเฉพาะวิธีการร่วมมือเพื่อรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และสร้างพลังขับเคลื่อนเพื่อฟื้นฟูอย่างเข้มแข็ง ในการประชุม รัฐมนตรีของอาเซียนและอียูได้เห็นพ้องเกี่ยวกับความสำคัญของความร่วมมือในองค์การอนามัยโลกหรือWHO รวมถึงการประเมินอย่างมีภาวะวิสัยเกี่ยวกับวิธีการรับมือการแพร่ระบาด ทั้งสองฝ่ายมีความประสงค์ที่จะร่วมมือในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19และการฟื้นฟูอย่างยั่งยืนต่อไปให้สอดคล้องกับกรอบการฟื้นฟูแบบบูรณาการอาเซียน ที่ประชุมยังส่งเสริมให้ผลักดันความร่วมมือเพื่อเพิ่มความสามารถในการเตรียมพร้อม ตลอดจนความสามารถในการรับมือวิกฤตด้านสาธารณสุขในปัจจุบันและในอนาคตให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนข้อที่ 3 เกี่ยวกับสุขภาพและความสุข

สามารถเห็นได้ว่า ผลกระทบของการแพร่ระบาดที่ยังคงรุนแรงทำใหความต้องการและแนวโน้มความร่วมมือระหว่างประเทศในการรับมือการแพร่ระบาดนับวันเพิ่มมากขึ้น ในฐานะประเทศสมาชิกที่มีความรับผิดชอบของสหประชาชาติ เวียดนามมีความประสงค์ว่า “ประชาคมระหว่างประเทศจะส่งเสริมความมุ่งมั่นและพลังที่เข้มแข็งของแต่ละประชาชาติ ตลอดจนจิตใจแห่งความสามัคคี ความร่วมมือระหว่างประเทศที่เข้มแข็งเพื่อร่วมกันฟันฝ่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และสร้างสรรค์อนาคตที่ดีขึ้นให้แก่แต่ละประเทศและประชาชนทุกคน ซึ่งเวียดนามพร้อมมีส่วนร่วมต่อกระบวนการอันสูงส่งนี้”./.  

คำติชม