แผนพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลเวียดนามแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน

Thu Hoa
Chia sẻ
(VOVWORLD) - เมื่อวันที่ 6 มีนาคม รัฐบาลเวียดนามได้ประกาศแผนบูรณาการและแผนปฏิบัติมติที่ 36 ของการประชุมครั้งที่ 8 คณะกรรมการกลางพรรคสมัยที่ 12 เมื่อวันที่ 22 มีนาคมปี 2018 เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลเวียดนามอย่างยั่งยืนจนถึงปี2030 วิสัยทัศน์จนถึงปี 2045 ซึ่งแผนการและมาตรการที่เป็นรูปธรรมเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมจุดแข็งและศักยภาพของเวียดนามที่มีชายฝั่งทะเลยาวกว่า 3,260 กิโลเมตร มีเกาะน้อยใหญ่กว่า 3 พันแห่งและมีจังหวัดและนครริมฝั่งทะเล 28 แห่งในการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลอย่างยั่งยืน 
แผนพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลเวียดนามแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน - ảnh 1แผนพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลเวียดนามอย่างยั่งยืนแบบบูรณาการ (Chinhphu.vn) 

แผนบูรณาการจนถึงปี2030 และวิสัยทัศน์จนถึงปี 2045 ระบุถึงเนื้อหาและมาตรการ 6 ข้อเกี่ยวกับการบริหารทะเลและมหาสมุทร เขตริมฝั่งทะเล การพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลและในเขตริมฝั่งทะเล การยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน การสร้างสรรค์วัฒนธรรมทางทะเล สังคมที่เป็นมิตรกับทะเล วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การพัฒนาแหล่งบุคลากร สิ่งแวดล้อม การรับมือภัยธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาน้ำทะเลหนุน การค้ำประกันงานด้านกลาโหม ความมั่นคง งานด้านการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศ

พัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลและเขตริมฝั่งทะเล

 มาตรการที่สำคัญที่สุดคือลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการท่องเที่ยวในเขตริมฝั่งทะเลและเกาะแก่งที่มีศักยภาพ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การบริการที่มีขอบเขตใหญ่ แหล่งชอปปิ้ง การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวแบบผจญภัยและการท่องเที่ยวชุมชน เวียดนามจะพัฒนาทัวร์ท่องเที่ยวเกาะแก่งและเขตทะเลนอกชายฝั่งควบคู่กับการบริการทางทะเล การส่งเสริมการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆให้มีความหลากหลาย โดยเฉพาะการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลให้มีชื่อเสียงระดับโลกที่เชื่อมโยงกับทัวร์ท่องเที่ยวระหว่างประเทศ

เวียดนามจะพัฒนาระบบท่าเรือตามแผนบูรณาการเพื่อตอบสนองความต้องการของการพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัย สร้างพื้นฐานให้แก่การผสมผสานอย่างรวดเร็วและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับท่าเรือต่างๆในภูมิภาคและโลก

ควบคู่กันนั้น การสำรวจแหล่งแร่ธาตุ ปิโตรเลียม ไฮโดรคาร์บอนใหม่ในเขตทะเลนอกชายฝั่งเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตแร่ธาตุและปิโตรเลียม เวียดนามจะเน้นพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังในเขตริมฝั่งทะเลตามแนวทางประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ผลักดันการใช้ประโยชน์จากสัตว์น้ำในเขตทะเลนอกชายฝั่งตามแนวทางส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมการแปรรูป ใช้ประโยชน์จากสัตว์น้ำอย่างยั่งยืนควบคู่กับการปกป้องและพัฒนาทรัพยากรสัตว์น้ำ สร้างสรรค์และปฏิบัติรูปแบบการเพาะเลี้ยงและใช้ประโยชน์จากสัตว์น้ำอย่างเหมาะสม

ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและสร้างสรรค์วัฒนธรรมทางทะเล

เวียดนามจะปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม ค้ำประกันชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในเขตทะเลและเกาะแก่ง จัดทำและปรับปรุงระเบียบการและวัฒนธรรมของชุมชนในเขตริมฝั่งทะเล อนุรักษ์ ฟื้นฟูและพัฒนางานเทศกาล โบราณสถานทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรม สถาปัตยกรรมและมรดกทางธรรมชาติ พัฒนาศูนย์วัฒนธรรมในจังหวัดและนครริมฝั่งทะเลสังกัดส่วนกลาง ผลักดันการให้การศึกษาเพื่อยกระดับความรู้และขยายความเข้าใจเกี่ยวกับทะเล มหาสมุทร การปรับตัวและรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ปัญหาน้ำทะเลหนุน การป้องกันและรับมือภัยพิบัติสำหรับนักเรียนและนักศึกษา
ผลักดันการวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทะเล

ในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพัฒนาแหล่งบุคลากร รัฐบาลได้กำชับให้ต้องทำการเปลี่ยนแปลงใหม่อย่างมีความคิดสร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ทันสมัย ผลักดันการวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีควบคู่กับการสำรวจทางทะเล จัดตั้งศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น เทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีอวกาศในการตรวจสอบและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในก้นทะเลบนพื้นฐานของการสานต่อและพัฒนาแหล่งพลังต่างๆ การฝึกอบรมแหล่งบุคลากรที่มีคุณภาพสูง การกระชับความร่วมมือเพื่อแสวงหาการสนับสนุนจากหุ้นส่วน องค์การต่างๆในภูมิภาคและโลกในการวิจัยวิทยาศาสตร์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในหน่วยงานเศรษฐกิจทางทะเล การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การป้องกันและต่อต้านภัยธรรมชาติ การรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาน้ำทะเลหนุน

ส่วนในด้านสิ่งแวดล้อม การรับมือภัยธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาน้ำทะเลหนุน เวียดนามจะตรวจสอบ จัดทำและปฏิบัติโครงการและหน้าที่ต่างๆที่ระบุในโครงการสำรวจทรัพยากร สิ่งแวดล้อมทางทะเลและเกาะแก่งอย่างมีประสิทธิภาพ ปรับปรุงและสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับทะเลและเกาะแก่งของกระทรวง หน่วยงานและท้องถิ่นทางอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลทางทะเลระดับชาติ ปฏิบัติตามแผนผังของเขตเศรษฐกิจ นิคมอุตสาหกรรมและเขตตัวเมืองริมฝั่งทะเลที่ได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน อนุรักษ์ระบบนิเวศ ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ปัญหาน้ำทะเลหนุนและข้อกำหนดของกฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม.

คำติชม