แนวคิดของประธานโฮจิมินห์เกี่ยวกับแรงงานและสวัสดิการสังคมยังคงทรงคุณค่าแห่งยุคสมัยตลอดไป

Hong Van- VOV5
Chia sẻ

(VOVWORLD) -ปีนี้ เวียดนามรำลึกครบรอบ 50 ปีการปฏิบัติตามพินัยกรรมของประธานโฮจิมินห์  โดยในพินัยกรรมของท่าน ประธานโฮจิมินห์ได้ย้ำว่า พรรคต้องมีแนวทาง นโยบายและแผนการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นอย่างดี ซึ่งท่านได้มีแนวคิดนี้นับตั้งแต่วันแรกที่เข้าร่วมการปฏิวัติและเป็นพื้นฐานให้แก่การวางนโยบายด้านแรงงานและสวัสดิการสังคมของรัฐบาลเวียดนามในยุคต่างๆ ปัจจุบัน แนวคิดของประธานโฮจิมินห์เกี่ยวกับแรงงานและสวัสดิการสังคมยังคงได้รับการสานต่อและส่งเสริมเพราะเป็นแนวคิดที่ทรงคุณค่าและมีความร่วมสมัยอยู่เสมอ  

แนวคิดของประธานโฮจิมินห์เกี่ยวกับแรงงานและสวัสดิการสังคมยังคงทรงคุณค่าแห่งยุคสมัยตลอดไป - ảnh 1 (Photo: dangcongsan.vn)

แนวคิดของประธานโฮจิมินห์เกี่ยวกับแรงงานและสวัสดิการสังคมเต็มไปด้วยความหมายแห่งความเป็นมนุษย์และเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน  ซึ่งหาได้ยากที่จะมีรัฐบาลใดที่มีแนวทางที่เสมอต้นเสมอปลายเกี่ยวกับการดูแลผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมของพลเมือง ประชาชนและแรงงานเหมือนรัฐบาลของประธานโฮจิมินห์

  คุณค่าแห่งยุคสมัย

  นับตั้งแต่ปี 1919 ในจดหมายที่ส่งถึงการประชุมสันติภาพปารีส  ท่าน เหงวียนอ๊ายก๊วกหรือประธานโฮจิมินห์ได้เรียกร้องให้มอบสิทธิการตัดสินใจให้แก่ประชาชนเวียดนาม              รวมทั้ง สิทธิเสรีภาพในการรวมตัว สิทธิด้านการศึกษาและจัดตั้งโรงเรียนเทคนิคและโรงเรียนวิชาชีพ

ในการประชุมสมัชชาผู้แทนประชาชนทั่วประเทศ ณ เตินจ่าวของแนวร่วมเวียดมิงห์ที่มีขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคมปี 1945 นอกจากการเห็นพ้องเกี่ยวกับการลุกขึ้นสู้ครั้งใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนและกองกำลังเวียดนามมิงห์แล้ว  ที่ประชุมยังได้อนุมัตินโยบายที่สำคัญต่างๆ รวมทั้ง นโยบายการทำงานวันละ 8 ชั่วโมง การกำหนดเงินเดือนขั้นพื้นฐานและประกันสังคม

หลังจากที่การปฏิวัติเดือนสิงหาคมประสบความสำเร็จ ในการประชุมเมื่อวันที่ 3กันยายน ปี1945 รัฐบาลได้อนุมัตินโยบายด้านสินเชื่อให้แก่เกษตรกร การขจัดความไม่รู้หนังสือและการช่วยเหลือประชาชนในการดำรงชีวิต รัฐบาลของประธานโฮจิมินห์ได้สร้างพื้นฐานให้แก่การจัดทำนโยบายด้านแรงงานและสังคมโดยออกกฤษฎีกาที่ 29 ปี1947 ที่มีข้อกำหนดที่ก้าวหน้าเกี่ยวกับการปกป้องแรงงานเด็ก การฝึกสอนอาชีพและเงินเดือนขั้นพื้นฐาน เป็นต้น ซึ่งกฤษฎีกาดังกล่าวได้สร้างพื้นฐานให้แก่การจัดทำหลักการขั้นพื้นฐานที่ถูกระบุในกฎหมายแรงงานปัจจุบัน  รองนายกรัฐมนตรีเวียดนาม หวูดึ๊กดามได้ประเมินว่า “ แนวคิดโฮจิมินห์มีเนื้อหาที่หลากหลายและครอบคลุมในทุกด้าน ซึ่งเนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายด้านแรงงานและสวัสดิการสังคมของประธานโฮจิมินห์ยังคงทรงคุณค่าทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ โดยเน้นถึงการค้ำประกันเสรีภาพและสิทธิในการเป็นเจ้าของของประชาชน งานทำ การฝึกสอนอาชีพ การยกระดับความรู้  เงินเดือนและคุณภาพชีวิตทั้งทางวัตถุและจิตใจของแรงงาน การค้ำประกันความปลอดภัยด้านแรงงานและการสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ด้านแรงงานอย่างมีเสถียรภาพ ซึ่งก็เป็นมาตรฐานแรงงานสากลในปัจจุบัน”

  กฤษฏีกาที่ 29 ปี 1947 ยังมีแนวคิดที่ก้าวหน้าโดยยอมรับสิทธิ์การรวมตัวของแรงงาน  สิทธิการเจรจาต่อรองและการนัดหยุดงาน เป็นต้น ซึ่งกฤษฎีกาดังกล่าวมีขึ้นก่อนที่องค์การแรงงานระหว่างประเทศประกาศใช้อนุสัญญาฉบับที่  98 เกี่ยวกับสิทธิองค์กรและการเจรจาต่อรองปี  1949 และอนุสัญญาฉบับที่ 87 เกี่ยวกับเสรีภาพในการจัดตั้งสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการจัดตั้งสมาคมปี  1948  ซึ่งมาถึงยุคปัจจุบัน สภาแห่งชาติเวียดนามเพิ่งได้อนุมัติอนุสัญญาฉบับที่  98 เมื่อเดือนมิถุนายนปี 2019 และคาดว่า จะอนุมัติอนุสัญญาฉบับที่ 87 ในปี 2023 นาย Chang - Hee Lee ผู้อำนวยองค์การแรงงานระหว่างประเทศประจำเวียดนามได้เผยว่า “อนุสัญญา 2 ฉบับนี้มีความคล้ายคลึงกับแนวคิดของประธานโฮจิมินห์ เมื่อปี  1919 กฎหมายและข้อกำหนดที่ท่านได้จัดทำเมื่อปี 1947 และหลังจากที่เวียดนามช่วงชิงเอกราช  ซึ่งปัจจุบัน แนวคิดดังกล่าวยังสอดคล้องกับมติที่ 27 ของคณะกรรมการกลางพรรคปี 2018 เกี่ยวกับนโยบายด้านเงินเดือน”

การส่งเสริมแนวคิดประธานโฮจิมินห์เกี่ยวกับแรงงานและสวัสดิการสังคม

  จากการสานต่อและการส่งเสริมแนวคิดของประธานโฮจิมินห์เกี่ยวกับแรงงานและสวัสดิการสังคมควบคู่กับการผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจในหลายทศวรรษที่ผ่านมา เวียดนามได้วางแนวทางและหน้าที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหางานทำและรายได้ให้แก่แรงงาน ปฏิบัติเป้าหมายการแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

ในแนวโน้มแห่งการผสมผสานเข้ากับกระแสโลกอย่างกว้างลึก แนวคิดของประธานโฮจิมินห์เกี่ยวกับแรงงานและสวัสดิการสังคมจะได้รับการปฏิบัติให้สอดคล้องกับหลักการการพัฒนาอย่างรอบด้านและยั่งยืนและไม่ปล่อยให้ใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง รองนายกรัฐมนตรี หวูดึ๊กดามได้ยืนยันว่า“ รัฐบาลเวียดนามได้ถือการพัฒนาแหล่งบุคลากรและการค้ำประกันงานทำอย่างยั่งยืนเป็นเงื่อนไขล่วงหน้าที่สำคัญในการสร้างสรรค์ระเบียบเศรษฐกิจเชิงตลาดตามแนวทางสังคมนิยม ใช้โอกาสจากยุคประชากรทองเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ถือประชาชนเป็นศูนย์กลางและไม่ปล่อยให้ใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง”

การค้ำประกันการปฏิบัติสวัสดิการสังคมเป็นความต้องการที่จำเป็นของกระบวนการพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืน การที่รัฐบาลเวียดนามให้ความสนใจต่อการปรับปรุงนโยบายด้านสวัสดิการสังคม สร้างงานทำให้แก่แรงงานก็เป็นการสานต่อแนวคิดของประธานโฮจิมินห์เกี่ยวกับแรงงานและสวัสดิการสังคม พร้อมทั้งเป็นการแสดงให้เห็นว่า แนวคิดของประธานโฮจิมินห์เป็นแนวคิดที่ทรงคุณค่าและมีความร่วมสมัยอย่างลึกซึ้ง.

คำติชม