เศรษฐกิจต่างๆระมัดระวังเกี่ยวกับความเสี่ยงของภาวะถดถอยทั่วโลก

Bá Thi
Chia sẻ
(VOVWORLD) - เนื่องจากผลกระทบที่ยืดเยื้อเป็นเวลานานจากปัจจัยลบหลายประการ ทำให้เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับความเสี่ยงจากภาวะถดถอยที่ชัดเจนมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญและสถาบันการเงินระหว่างประเทศหลายรายได้ออกมาเตือนว่า เศรษฐกิจต่างๆต้องมีความระมัดระวังและพยายามมากขึ้นในการป้องกันสถานการณ์เศรษฐกิจที่เลวร้ายลงทั้งในระยะสั้นและระยะกลาง   
เศรษฐกิจต่างๆระมัดระวังเกี่ยวกับความเสี่ยงของภาวะถดถอยทั่วโลก - ảnh 1สำนักงานใหญ่ของ FED (AFP)

ข้อมูลต่างๆที่เพิ่งได้รับการประกาศจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ รวมถึงเศรษฐกิจใหญ่ของโลกได้แสดงให้เห็นว่า ผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนและการหยุดชะงักของแหล่งจัดสรรสินค้าทั่วโลกเป็นเวลานานได้ทำให้อัตราเงินเฟ้อในหลายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจขนาดใหญ่และเศรษฐกิจพัฒนาอยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ได้ทำให้ธนาคารกลางของหลายประเทศต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขั้นพื้นฐาน ซึ่งทำให้ความเสี่ยงจากภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้น

เพิ่มความเสี่ยงให้แก่ภาวะถดถอย

เมื่อวันที่ 21 กันยายน ธนาคารกลางสหรัฐหรือ FED ได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.75 เพื่อรับมือสถานการณ์เงินเฟ้อที่ทำสถิติสูงสุดในรอบ 4 ทศวรรษ นี่เป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกันที่ FED ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงที่ร้อยละ 0.75 และเป็นการปรับขึ้นครั้งที่ 5 ในปีนี้

ตามความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจและการเงิน การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED ได้ลดโอกาสการเติบโตและเพิ่มความเสี่ยงที่เศรษฐกิจตกสู่ภาวะถดถอยต่อตัวสหรัฐเองซึ่งเป็นเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของโลก เพราะส่งผลให้ดอกเบี้ยอื่น ๆ เพิ่มขึ้นตาม เช่น ดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน ดอกเบี้ยผ่อนรถยนต์ ดอกเบี้ยบัตรเครดิตและสินเชื่อธุรกิจ ซึ่งจะทำให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจลดลง ในทางเป็นจริง ในการแถลงหลังประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นาย เจอโรม พาวเวลล์ ประธาน FED ได้กล่าวว่าทราบถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากมาตรการรัดเข็มขัดและไม่มีใครรู้ว่า กระบวนการนี้จะนำไปสู่ภาวะถดถอยหรือไม่ และถ้าหากเป็นเช่นนั้น จะเป็นอย่างไร จะรุนแรงถึงแค่ไหน นอกจากนั้น รายงานอัพเดการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจที่ประกาศโดย FED ในวันเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลนี้เมื่อคาดการณ์ว่า อัตราการว่างงานโดยเฉลี่ยในสหรัฐจะสูงถึงร้อยละ 4.4  ในปีหน้า สูงกว่าตัวเลขในปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.7 ในขณะที่ประมาณการณ์เติบโตของจีดีพีในปีนี้อยู่ที่เพียงร้อยละ 0.2

ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกเท่านั้นที่ประสบอุปสรรคและเผชิญกับความเสี่ยงจากภาวะถดถอย หากนี่กำลังเป็นสถานการณ์ที่ทุกประเทศทั่วโลกกำลังต้องเผชิญ โดยเมื่อวันที่ 15 กันยายน ธนาคารโลกหรือ WB ได้เตือนว่า ความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจถดถอยในทั่วโลกกำลังเพิ่มขึ้นในสภาวการณ์ที่ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ กำลังพยายามควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ในการให้สัมภาษณ์ช่อง Fox Business นาย David Malpass ประธานธนาคารโลกได้เตือนว่า เศรษฐกิจโลกอาจชะลออย่างต่อเนื่องในปี 2023 และปีต่อๆ ไป

ในทำนองเดียวกัน ในรายงานที่เพิ่งเผยแพร่เมื่อไม่กี่วันก่อน ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียหรือADBได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจประจำปี 2022 ของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย  โดย ADB ได้ลดการคาดการณ์การเติบโตของภูมิภาคเอเชียในปีนี้เหลือร้อยละ 4.3 ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 5.2 เมื่อเดือนเมษายน โดยได้พยากรณ์ว่า อัตราการเติบโตของจีนซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกลดลงจากร้อยละ 5.0 เหลือร้อยละ 3.3  เนื่องจากการใช้มาตรการป้องกันโควิด-19 ที่เข้มงวด เช่น การล็อกดาวน์และการจำกัดการเดินทางซึ่งทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก ในภูมิภาคเอเชียมี 46 ประเทศที่เป็นสมาชิกของ ADB  ซึ่งเริ่มตั้งแต่หมู่เกาะ Cook ในมหาสมุทรแปซิฟิกไปจนถึงคาซัคสถานในเอเชียกลาง โดยเมื่อปีที่แล้วทาง ADB ได้คาดการณ์การเติบโตของภูมิภาคนี้สูงถึงร้อยละ 7

เศรษฐกิจต่างๆระมัดระวังเกี่ยวกับความเสี่ยงของภาวะถดถอยทั่วโลก - ảnh 2นาย David Malpass ประธานธนาคารโลก (Reuters)

ระมัดระวังและเพิ่มความพยายาม

ในสภาวการณ์ที่การปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่กำลังเกิดขึ้นและปัญหาอุปทานทั่วโลกยังไม่ได้รับการแก้ไข คาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกจะยังคงอยู่ในระดับสูงในระยะสั้นจนทำให้ธนาคารกลางต้องมีมาตรการแทรกแซงมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และในความเป็นจริง ธนาคารกลางสหรัฐและธนาคารกลางของหลายประเทศ ได้ประกาศอย่างเป็นทางการถึงแผนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อรับมือภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งหมายความว่า โอกาสสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะถูกจำกัดต่อไป

จากสถานการณ์ที่น่ากังวลดังกล่าว บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจได้เรียกร้องให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ดำเนินการอย่างระมัดระวัง และมีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อผลักดันกิจกรรมการผลิตและค้ำประกันการขยายตัว โดยนาย อัลเบิร์ต พาร์ค หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคาร ADB ได้เตือนถึง “ปัญหาใหญ่ที่อาจเกิดขึ้น” ต่อศักยภาพของภูมิภาคเอเชีย โดยย้ำว่า รัฐบาลต่างๆต้องระมัดระวัง ในขณะเดียวกัน นาย David Malpass ประธานธนาคารโลกแนะนำให้ผู้กำหนดนโยบายเปลี่ยนเนื้อหาที่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆจากการลดการบริโภคมาเป็นการส่งเสริมการผลิตเพื่อเพิ่มอุปทานซึ่งจะช่วยบรรเทาอุปสรรค์ที่ทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น

ในระยะยาว ผู้เชี่ยวชาญหลายคนมองว่า นอกจากมาตรการแก้ไขเฉพาะหน้าแล้ว สหประชาชาติและประเทศอื่นๆ ยังคงต้องให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อการหาทางยุติการปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครน อำนวยความสะดวกให้แก่แหล่งจัดสรรทั่วโลกและยืนหยัดยุทธศาสตร์การขยายตัวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน.

คำติชม