เวียดนามให้ความสำคัญต่อการเข้าร่วมระเบียบความร่วมมือในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง

Anh Huyen - VOV5
Chia sẻ
ในระหว่างวันที่ 19 - 21 ธันวาคม ท่าน Nguyen Tan Dung นายกรัฐมนตรีเวียดนามเดินทางไปเยือนประเทศพม่าและเข้าร่วมการประชุม GMS ครั้งที่ 4 เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ในหลายด้านกับประเทศพม่าและเป็นการให้ความสำคัญต่อการเข้าร่วมระเบียบความร่วมมือในเขตอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง
            เวียดนามและพม่าสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคมปี 1975 และจัดพิธีฉลองครบรอบ 35 ปีเมื่อปี 2010  ในหลายปีมานี้ เวียดนามและพม่าได้พยายามผลักดันให้ความสัมพันธ์มิตรภาพที่มีมาช้านานและความร่วมมือในหลายด้านพัฒนายิ่งขึ้นผ่านการเยี่ยมเยือนซึ่งกันและกันในทุกระดับ โดยเฉพาะการเยือนของท่าน Nguyen Tan Dung นายกรัฐมนตรีเวียดนามเมื่อเดือนเมษายนปี 2010  ส่วนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างสองประเทศก็มีความคืบหน้าต่างๆ ซึ่งมูลค่าการค้าต่างตอบแทนในปี 2011 อาจจะบรรลุ 180 ล้านเหรียญสหรัฐหรือเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับปี 2010  นอกจากนี้ ยังมีการจัดงานนิทรรศกาลประจำปีเพื่อแนะนำสินค้าและดึงดูดการลงทุนระหว่างสถานประกอบการ  แต่ตามความคิดเห็นของนาย Le Quang Lan รองอธิบดีกรมนโยบายการค้าพหุภาคีสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์เวียดนาม ตัวเลขดังกล่าวยังคงต่ำกว่าศักยภาพที่มีอยู่ของทั้งสองประเทศดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพยายามให้มากขึ้น 

            “ปัจจุบัน มูลค่าการค้าต่างตอบแทนระหว่างเวียดนามกับพม่า ถ้าหากเปรียบเทียบกับมูลค่าการค้าภายในกลุ่มอาเซียนก็จะเห็นว่า ยังไม่สูงมากนัก คืออยู่ที่ประมาณ 185 400 ล้านเหรียญสหรัฐ  ดังนั้น พวกเรากำลังแสวงหามาตรการผลักดันทั้งในระดับทวิภาคีและภูมิภาค โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การแลกเปลี่ยนคณะผู้แทนสถานประกอบการและการเปิดโอกาสให้แก่การลงทุนและการค้า เป็นต้น

            ในการประชุมของคณะกรรมการผสมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม วิทยาศาตร์และเทคโนโลยี่เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2010 ผู้แทนของเวียดนามและพม่าได้หารือเกี่ยวกับมาตรการที่เป็นรูปธรรมเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในด้านการเกษตร ป่าไม้ สัตว์น้ำ การคมนาคมขนส่ง พลังงาน ข้อมูลข่าวสาร สาธารณสุข วัฒนธรรม การท่องเที่ยวและกีฬา เป็นต้น และมีการลงนามในข้อตกลงร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ข้อตกลงการขนส่งทางอากาศพลเรือนเมื่อปี 1997 ข้อตกลงการค้าปี 1994 ข้อตกลงความร่วมมือการท่องเที่ยวปี 1994และแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือใน 12 ด้านที่ได้รับสิทธิพิเศษ             นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ร่วมมือทวิภาคีดังกล่าวยังพัฒนาอย่างดีงามในกรอบความร่วมมือระดับอาเซียนและในฟอรั่มระหว่างประเทศต่างๆ เช่น ความร่วมมือในเขตอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจอิรวดี - เจ้าพระยาและแม่โขงหรือ ACMECS และความร่วมมือระหว่างเวียดนาม – กัมพูชา – ลาวและพม่าหรือ CLMV เป็นต้น ซึ่งทั้งสองประเทศมักจะมีจุดยืนที่คล้ายคลึงกัน มีการประสานงานและสนับสนุนกันในฟอรั่มต่างๆดังกล่าว

            เวียดนามให้ความสำคัญต่อการเข้าร่วมระเบียบความร่วมมือในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง - ảnh 1

            ในระหว่างการเยือนประเทศพม่าครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเวียดนาม Nguyen Tan Dung กับผู้นำประเทศอื่นๆในเขตอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงหรือ GMS ซึ่งได้แก่กัมพูชา ลาว ไทย จีนและพม่าจะเข้าร่วมการประชุมสุดยอด GMS ขยายวงครั้งที่ 4 ภายใต้หัวข้อ “มุ่งสู่ทศวรรษใหม่แห่งความสัมพันธ์หุ้นส่วนพัฒนายุทธศาสตร์เขตอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงขยายวง” โดยจะมีการหารือเกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมการผสมผสานและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ยกระดับความรู้และทักษะความสามารถให้แก่บุคลากร อำนวยความสะดวกให้แก่การขนส่งสินค้าและผู้โดยสารผ่านชายแดนและพัฒนาการค้าด้านพลังงาน  ในฐานะที่เป็นสมาชิกอย่างเข้มแข็งของ GMS เวียดนามได้รับผลประโยชน์ต่างๆจากความร่วมมือดังกล่าว ซึ่งรวมไปถึงโอกาศใหม่แห่งความร่วมมือ นาย Kimihiro Ishikane รองอธิบดีกรมเอเชียแห่งกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นยืนยันว่า

            “ญี่ปุ่นให้ความสำคัญต่อความร่วมมือกับบรรดาประเทศในเขตอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง เพราะการพัฒนาอย่างยั่งยืนและมีเสถียรภาพของภูมิภาคนี้จะเอื้อผลประโยชน์ให้แก่ญี่ปุ่น  ปัจจุบัน สถานประกอบการญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในเขตอนุภูมิภาคนี้มากขึ้น ซึ่งเวียดนามก็เป็นตลาดที่มีศักยภาพอีกแห่งหนึ่งของพวกเรา

            การเยือนพม่าของนายกรัฐมนตรีเวียดนาม Nguyen Tan Dung ถือเป็นโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมความสัมพันธ์มิตรภาพที่มีมาช้านานและความร่วมมือในหลายด้าน ผลักดันการปฏิบัติข้อตกลงที่ได้บรรลุระหว่างผู้นำระดับสูง รวมไปถึงการแก้ไขอุปสรรคให้แก่สถานประกอบการในการเจาะตลาดซึ่งกันและกัน  การเข้าร่วมการประชุม GMS 4 ครั้งนี้ก็เป็นโอกาสแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญต่อการเข้าร่วมระเบียบความร่วมมือดังกล่าวโดยผ่านความคิดริเริ่มต่างๆและส่วนร่วมที่เป็นรูปธรรมในโครงการความร่วมมือ GMSของเวียดนาม./.

คำติชม