เวียดนามมีส่วนร่วมสร้างสรรค์อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่สันติภาพและเจริญรุ่งเรือง

Chia sẻ
(VOVWorld)-วันที่๒๔ตุลาคม ณ กรุงฮานอย ได้มีการจัดการประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือเศรษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขงหรือACMECSครั้งที่๗   การประชุมผู้นำ๔ประเทศกัมพูชา-ลาว-เมียนมาร์-เวียดนามหรือCLMVครั้งที่๘และการประชุมฟอรั่มเศรษฐกิจโลกแห่งแม่โขงหรือ WEF-Mekong  การที่เวียดนามเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งนี้ก็เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ที่มีมาช้านานกับประเทศเพื่อนบ้าน มีส่วนร่วมพัฒนากลไกความร่วมมืออย่างจริงจังเพื่อเป้าหมายสร้างสรรค์อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขที่สันติภาพและเจริญรุ่งเรือง 

(VOVWorld)-วันที่๒๔ตุลาคม ณ กรุงฮานอย ได้มีการจัดการประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือเศรษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขงหรือACMECSครั้งที่๗   การประชุมผู้นำ๔ประเทศกัมพูชา-ลาว-เมียนมาร์-เวียดนามหรือCLMVครั้งที่๘และการประชุมฟอรั่มเศรษฐกิจโลกแห่งแม่โขงหรือ WEF-Mekong  การที่เวียดนามเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งนี้ก็เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ที่มีมาช้านานกับประเทศเพื่อนบ้าน  มีส่วนร่วมพัฒนากลไกความร่วมมืออย่างจริงจังเพื่อเป้าหมายสร้างสรรค์อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขที่สันติภาพและเจริญรุ่งเรือง 
เวียดนามมีส่วนร่วมสร้างสรรค์อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่สันติภาพและเจริญรุ่งเรือง  - ảnh 1
การประชุมผู้นำ๔ประเทศกัมพูชา-ลาว-เมียนมาร์-เวียดนาม
(Photo: vietnamplus.vn)

นี่เป็นครั้งที่๒ที่เวียดนามเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำความร่วมมือCLMVและACMECS  ซึ่งการประชุมACMECS๗    CLMV๘และWEF-Mekong เป็นกิจกรรมการต่างประเทศพหุภาคีที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนามในปี๒๐๑๖  การจัดการประชุมดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จมีความหมายสำคัญเป็นอย่างมากต่อเวียดนามทั้งในด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม เพื่อผลประโยชน์ของทั้งเวียดนามและประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการวางระเบียบวาระการประชุม
ในฐานะประเทศเจ้าภาพ  เวียดนามได้เสนอหัวข้อของการประชุมCLMV๘คือ “ใช้โอกาส-กำหนดอนาคต”   ส่วนหัวข้อการประชุมผู้นำACMECS๗คือ “มุ่งสู่เขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่คล่องตัวและเจริญรุ่งเรือง”และการประชุมWEF-Mekongในหัวข้อ “ แสวงหาความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์-  บรรดาผู้นำแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์เกี่ยวกับเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง”  โดยหัวข้อเหล่านี้ต่างได้รับการสนับสนุนจากประเทศต่างๆ ซึ่งหัวข้อดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายร่วมกันของประเทศต่างๆคือ สร้างสรรค์อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่สันติภาพและเจริญรุ่งเรือง  ส่งเสริมความคล่องตัวและการใช้โอกาสใหม่ของประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงใหม่และกำหนดแนวทางความร่วมมือในเวลาที่จะถึง  นาย ดั๋งดิ่งกวี๊  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามได้เผยว่า “ในการประชุมครั้งนี้ เวียดนามพยายามเสนอความคิดริเริ่มต่างๆ  ซึ่งความคิดริเริ่มที่ใหญ่ที่สุดคือ เวียดนามได้เชิญฟอรั่มเศรษฐกิจโลกมาจัดการประชุมเศรษฐกิจโลกเกี่ยวกับแม่น้ำโขงครั้งแรกเพื่อผลักดันการเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการกับผู้นำและผู้กำหนดนโยบาย  ผมหวังว่า ผ่านการประชุมครั้งนี้ ฝ่ายต่างๆจะมีโครงการร่วมมือที่เป็นรูปธรรม”
ที่ประชุมครั้งนี้ดึงดูดการเข้าร่วมของเครือบริษัทและบริษัทสมาชิกฟอรั่มเศรษฐกิจโลกกว่า๑๐๐แห่งและสถานประกอบการ๖๐แห่งของประเทศในเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง  นี่เป็นโอกาสที่ดีเพื่อประชาสัมพันธ์ศักยภาพของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงต่อชมรมสถานประกอบการ  ดึงดูดการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน  แหล่งบุคลากรและผลักดันการเชื่อมโยงในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง  นอกจากนี้ เวียดนามยังเสนอมาตรการผลักดันการประสานงานในการปฏิบัติระเบียบวาระการประชุมจนถึงปี๒๐๓๐ของสหประชาชาติเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เวียดนามมีส่วนร่วมสร้างสรรค์อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่สันติภาพและเจริญรุ่งเรือง  - ảnh 2
นาย ดั๋งดิ่งกวี๊  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม

มุ่งสู่อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่คล่องตัวและเจริญรุ่งเรือง

กลไกความร่วมมือACMECSและCLMVได้รับการจัดตั้งเมื่อปี๒๐๐๓และได้กลายเป็นกลไกความร่วมมือที่สำคัญและช่วยส่งเสริมศักยภาพของประเทศต่างๆในเขต
ภายหลังดำเนินงานมาเป็นเวลา๑๓ปี  ความร่วมมือACMECSและCLMVได้บรรลุผลงานที่น่ายินดี  มีส่วนร่วมเสริมสร้างสันติภาพ เสถียรภาพ  ผลักดันความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงและลดช่องว่างการพัฒนาในอาเซียน  จากการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างกว้างลึกและความพยายามในการอำนวยความสะดวกให้แก่การแลกเปลี่ยนทางการค้าและการลงทุน  เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้กลายเป็นเขตที่พัฒนาอย่างคล่องตัวและเป็นพลังขับเคลื่อนให้แก่การขยายตัวที่สำคัญของอาเซียน นาย ดั๋งดิ่งกวี๊  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามได้ประเมินบทบาทของ๒กลไกความร่วมมือดังกล่าวว่า “สองกลไกความร่วมมือดังกล่าวเป็นกลไกที่สำคัญเพราะในจำนวน๑๒กลไกความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง สองกลไกความร่วมมือดังกล่าวเน้นถึงเนื้อหาสำคัญของประเทศสมาชิก  ถ้าอยากขยายความร่วมมือกับประเทศต่างๆนอกภูมิภาค ก่อนอื่น  ต้องปฏิบัติกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศภายในภูมิภาคเป็นอย่างดี ซึ่งกลไกความร่วมมือดังกล่าวช่วยสร้างโอกาสให้แก่ประเทศต่างๆหารือเกี่ยวกับปัญหาที่ให้ความสนใจร่วมกันและปัญหาต่างๆที่ต้องได้รับการแก้ไข  นอกจากนี้ ประเทศเหล่านี้ก็มีบทบาทสำคัญในอาเซียน”
นับตั้งแต่เข้าร่วมกลไกความร่วมมือACMECSและCLMV  เวียดนามได้พยายามปฏิบัติบทบาทของตนเป็นอย่างดี  ในจำนวนประเทศสมาชิกCLMV  เวียดนามมีจุดแข็งในด้านขอบเขตเศรษฐกิจ  ประสบการณ์ในการพัฒนา  การเปลี่ยนแปลงใหม่และการผสมผสานเข้ากับกระแสโลก  บนพื้นฐานนี้ เวียดนามได้มีความคิดริเริ่มและมีส่วนร่วมผลักดันการเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน  การพัฒนาแหล่งพลังต่างๆ  การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน  ผลักดันการปฏิบัติโครงการพัฒนาร่วมของ๔ประเทศ  ส่วนในกรอบของกลไกความร่วมมือACMECS  เวียดนามได้พยายามปฏิบัติเป้าหมายร่วมเพื่อใช้ศักยภาพ  ผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืน  ร่วมกับประเทศสมาชิกดึงดูดหุ้นส่วนทั้งภายในและนอกอาเซียน
ในระยะแห่งการพัฒนาใหม่ของเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง  กลไกความร่วมมือACMECSและCLMVจะมีบทบาทสำคัญเพื่อช่วยให้ประเทศสมาชิกฟันฝ่าความท้าทายต่างๆ ยกระดับทักษะความสามารถในการแข่งขันและใช้โอกาสการพัฒนาใหม่   ในฐานะประเทศเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งนี้ เวียดนามได้ร่วมกับประเทศสมาชิกอื่นๆพัฒนากลไกความร่วมมือACMECSและCLMVให้ย่างเข้าสู่ระยะใหม่เพื่อมีส่วนร่วมมากขึ้นต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค.

คำติชม