เจ้าหน้าที่ระดับสูงอาเซียนประชุมเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนจำกัดวง (MOFA) |
ด้วยจิตใจของการเป็นประเทศสมาชิกที่กระตือรือร้น เป็นฝ่ายรุกและมีความรับผิดชอบ เวียดนามเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้เพื่อมีส่วนร่วมส่งเสริมจิตใจแห่งความสามัคคี ความเป็นเอกภาพและความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ในอาเซียนเพื่อยกระดับสถานะและบทบาทของเวียดนามในอาเซียนและในฟอรั่มระหว่างประเทศ
สถานการณ์ใหม่ทำให้อาเซียนต้องปรับตัวและมีความยืดหยุ่น
การประชุมปีนี้มีขึ้นในสภาวการณ์ที่ค่อนข้างพิเศษ อาเซียนกำลังอยู่ในช่วงที่ยากลำบาก ประเทศสมาชิกอาเซียนเพิ่งฟันฝ่าวิกฤตโควิด-19 และกำลังอยู่ในระยะแห่งการเปิดประเทศและฟื้นตัวอีกครั้ง ซึ่งต้องแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมอีกมาก ในขณะที่สถานการณ์โควิด-19 กำลังคลี่คลายลงและปรากฎโอกาสแห่งการฟื้นฟู แต่สถานการณ์ทั้งในระดับภูมิภาคและโลกทั้งในด้านภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจกลับมีความซับซ้อนและไม่เอื้ออำนวย เช่น การปะทะ วิกฤตพลังงาน เงินเฟ้อ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งล้วนแต่ส่งผลกระทบในทางลบต่อการฟื้นตัวของอาเซียน
ในสภาวการณ์ดังกล่าว การประชุมครั้งนี้เป็นโอกาสเพื่อให้บรรดารัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนหารือและตกลงเกี่ยวกับแนวทางของกลุ่มฯ เสนอความคิดริเริ่มและมาตรการแก้ไขเพื่อรับมืออุปสรรคและความท้าทายดังกล่าว เสริมสร้างความสามัคคีภายในกลุ่มฯ ผลักดันบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในภูมิภาค ตลอดจนอำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่สำหรับความพยายามในการฟื้นฟูของอาเซียนและของแต่ละประเทศสมาชิก ซึ่งนี่เป็นเหตุผลที่ประเทศเจ้าภาพอินโดนีเซียเลือกหัวข้อของปี 2023 คือ “เพื่ออาเซียนที่แข็งแกร่ง: ศูนย์กลางแห่งการเติบโต”
ภายใต้หัวข้อ เพื่ออาเซียนที่แข็งแกร่ง: ศูนย์กลางแห่งการเติบโต” อินโดนีเซียในฐานะประธานหมุนเวียนอาเซียนปี 2023 ได้เสนอเนื้อหาที่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ 2 ประเด็นคือ การธำรงสถานะของอาเซียนและเสริมสร้างบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในภูมิภาคและโลก และส่งเสริมความพยายามในการฟื้นฟูและการเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียนอย่างครอบคลุม เปลี่ยนอาเซียนให้เป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญ ขยายผลการเติบโตทั้งภายในและนอกภูมิภาค และกลายเป็นจุดเด่นของเศรษฐกิจโลก
เวียดนามมีส่วนร่วมและสนับสนุนความคิดริเริ่มเพื่อปรับปรุงความสามารถด้านกลไกและความมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานของอาเซียน
การประชุมครั้งนี้มีการหารือที่สำคัญ 3 นัด โดยในการประชุมสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ SEANWFZ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ บรรดารัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้กล่าวว่า อาเซียนเองไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ แต่ไม่ได้หมายความว่า ไม่ได้ใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อเป้าหมายสันติภาพ ปัญหาที่วางไว้ในปัจจุบันคือจะให้ความร่วมมือในการบริหารและตรวจสอบอย่างไร เอกอัครราชทูต เหงียนหายบั่ง หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรเวียดนามประจำอาเซียน กล่าวว่า
“เวียดนามได้แสดงความคิดเห็นและหารือเรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการตามสนธิสัญญาว่าด้วยการจัดตั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะ ความเป็นเอกภาพและการบรรลุเสียงพูดเดียวกัน และวิธีการเข้าถึงร่วมกันกับประเทศหุ้นส่วนเพื่อให้พวกเขาพร้อมที่จะเข้าร่วมหรือให้คำมั่นที่จะให้ความเคารพสนธิสัญญาฯ นี่เป็นปัญหาที่ซับซ้อนมาก โดยเฉพาะในสภาวการณ์ที่การแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศมหาอำนาจ โดยเฉพาะประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองนับวันเพิ่มมากขึ้น”
ในการประชุมสภาประสานงานอาเซียน รัฐมนตรี บุ่ยแทงเซิน และผู้นำทางการทูตของประเทศต่างๆ ในอาเซียนได้บรรลุกลไกผู้สังเกตการณ์ของติมอร์ เลสเตในอาเซียน สร้างแผนงานสำหรับติมอร์ เลสเตในการเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการของอาเซียน
เอกอัครราชทูต เหงียนหายบั่ง หัวหน้าคณะผู้แทนถาวรเวียดนามประจำอาเซียน |
ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนจำกัดวง รัฐมนตรีต่างประเทศ บุ่ยแทงเซินและรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนได้ทบทวนและประเมินการดำเนินการตามข้อตกลง 5 ประการเกี่ยวกับปัญหาเมียนมาร์ที่ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2022 อีกทั้ง หารือมาตรการเพื่อยกระดับความสามารถและประสิทธิภาพในการดำเนินงานของสำนักงานและกลไกในอาเซียน เอกอัครราชทูต เหงียนหายบั่ง ย้ำว่า
“นี่คือปัญหาที่เวียดนามได้หยิบยกขึ้นมาในปีที่ดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน และขณะนี้กำลังทำงานร่วมกับอาเซียนเพื่อปฏิบัติเรื่องนี้ นอกจากนี้ ที่ประชุมจะหารือเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ในความสัมพันธ์ของอาเซียนกับหุ้นส่วน ปัญหาทั้งในระดับภูมิภาคและโลกที่กำลังเกิดขึ้นยังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากและส่งผลกระทบโดยตรงต่อาเซียน หน้าที่ของคณะผู้แทนเวียดนามคือแสดงความคิดเห็น มีเสียงพูดและเสนอความคิดริเริ่มเพื่อสร้างเสียงพูดเดียวกันและค้ำประกันความสามัคคีและความเป็นเอกภาพของอาเซียนเพื่อธำรงบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนและภาพลักษณ์ของอาเซียนบนเวทีระหว่างประเทศ”
นับตั้งแต่เข้าเป็นสมาชิกของอาเซียน เวียดนามได้แสดงให้เห็นถึงบทบาทการเป็นสมาชิกที่กระตือรือร้น เป็นฝ่ายรุก มีความรับผิดชอบและพร้อมเป็นผู้นำและมีส่วนร่วมในการจัดทำระเบียบปฏิบัติของอาเซียน ในปี 2023และปี 2024 เป็นช่วงเวลาที่อาเซียนจะเน้นความพยายามเพื่อสร้างสรรค์วิสัยทัศน์อาเซียนหลังปี 2025 พร้อมกำหนดแนวทางสำหรับระยะการพัฒนาใหม่ของสมาคมฯภายหลังเกือบ 2 ทศวรรษนับตั้งแต่กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ ภายใต้การประสานงานของอินโดนีเซียและการมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งของประเทศสมาชิก รวมทั้งเวียดนาม เรามั่นใจได้ว่า อาเซียนจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้.