เวียดนามผลักดันการผสมผสานเข้ากับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Anh Huyen - VOV5
Chia sẻ
(VOVworld) – การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนครั้งที่ 48 ได้มีขึ้น ณ กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาวในวันที่ 3 สิงหาคม ซึ่งเป็นการประชุมนัดแรกหลังจากที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้รับการจัดตั้ง เมื่อปลายปี 2015 โดยเน้นหารือเนื้อหาของเสาหลักเศรษฐกิจ ผลักดันการปฏิบัติแผนการประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนถึงปี 2025 และเวียดนามในฐานะประเทศสมาชิกก็ได้มีส่วนร่วมที่เข้มแข็งต่อกระบวนการนี้

(VOVworld) – การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนครั้งที่ 48 ได้มีขึ้น ณ กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาวในวันที่ 3 สิงหาคม ซึ่งเป็นการประชุมนัดแรกหลังจากที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้รับการจัดตั้งเมื่อปลายปี 2015 โดยเน้นหารือเนื้อหาของเสาหลักเศรษฐกิจ ผลักดันการปฏิบัติแผนการประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนถึงปี 2025 และเวียดนามในฐานะประเทศสมาชิกก็ได้มีส่วนร่วมที่เข้มแข็งต่อกระบวนการนี้

เวียดนามผลักดันการผสมผสานเข้ากับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน - ảnh 1
พิธีเปิดการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนครั้งที่ 48

วันที่ 31 ธันวาคมปี 2015 เป็นนิมิตรหมายแห่งประวัติศาสตร์ในตลอด 48 ปีของการจัดตั้งและพัฒนาของอาเซียนเมื่อมีการเปิดตัวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีด้วยเป้าหมายคือมุ่งสู่การพัฒนาภูมิภาคอาเซียนให้มีเสถียรภาพ เจริญรุ่งเรืองและมีขีดความสามารถในการแข็งขันระดับสูง บรรดาประเทศสมาชิกได้ตั้งเป้าไว้ว่า ต้องสร้างความกลมกลืนในยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ มีการปรึกษาทาบทามกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและการเงิน ขยายการเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น
เออีซีสร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนา
ใน 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียน เออีซีถือเป็นเสาหลักที่สำคัญที่สุดเพราะการพัฒนาเออีซีจะเป็นพื้นฐานผลักดันการปฏิบัติสองเสาหลักที่เหลือ เป้าหมายของเออีซีคือ สร้างสรรค์ตลาดและฐานการผลิตเดียว สร้างภูมิภาคเศรษฐกิจที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน มีการพัฒนาที่เท่าเทียมกันและผสมผสานเข้ากับระบบเศรษฐกิจโลก ในตลอด 7 เดือนที่ผ่านมาตั้งแต่ที่เออีซีได้รับการเปิดตัว บรรดาประเทศอาเซียนได้เน้นสร้างบรรยากาศการปฏิบัติอย่างเสรีใน 3 ด้าน คือ การค้าเสรีด้านสินค้า การบริการ การลงทุน การเงินและแรงงาน โดยแต่ละประเทศสมาชิกได้เร่งปฏิบัติการตัดลดภาษี ปฏิรูประเบียบศุลกากรและมีมาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้าอื่นๆ
เพื่อเป้าหมายสร้างสรรค์ภูมิภาคเศรษฐกิจที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่เข้มแข็ง ในเวลาที่ผ่านมา เออีซีได้มุ่งปฏิบัติ 4 ด้านหลักคือ นโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ปกป้องผู้บริโภค ปกป้องลิขสิทธิ์ทางปัญญาและพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน ควบคู่กันนั้นก็พิจารณาร่างยุทธศาสตร์แห่งการพัฒนาให้แก่สถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม สร้างกรอบโครงการทั่วไปให้แก่สถานประกอบการอาเซียนและปฏิบัติความคิดริเริ่มการผสมผสานอาเซียนเพื่อสร้างสรรค์ภูมิภาคอาเซียนให้มีการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน อาเซียนยังเห็นพ้องผลักดันการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีและข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอย่างรอบด้าน เข้าร่วมห่วงโซ่การผลิตทั่วโลกอย่างเข้มแข็งมากขึ้นเพื่อผสมผสานเข้ากับระบบเศรษฐกิจโลก
เออีซีสร้างโอกาสใหญ่ให้แก่เวียดนาม
การที่เออีซีได้รับการจัดตั้งถือเป็นนิมิตรหมายสำคัญในกระบวนการผสมผสานของอาเซียน การเติบโตของกลุ่มได้เอื้อประโยชน์ให้แก่ทุกประเทศในภูมิภาค รวมทั้งเวียดนาม เออีซีเปิดโอกาสให้เวียดนามเข้าถึงตลาดที่กว้างขวางมากขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นตลาดในกลุ่มอาเซียนเท่านั้น หากยังขยายไปยังประเทศนอกภูมิภาคอีกด้วย เนื่องจากแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนต่างมีข้อตกลงร่วมมือ โดยเฉพาะข้อตกลงการค้าเสรีกับหุ้นส่วนการค้าใหญ่ทั่วโลก และเออีซีได้ทำให้บรรยากาศการลงทุนประกอบธุรกิจของเวียดนามน่าดึงดูดใจมากขึ้น รองศ.ดร.จิ่งถิทูเฮือง รองคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยการค้าต่างประเทศเผยว่า“โอกาสเกี่ยวกับตลาดเป็นสิ่งที่สามารถเห็นได้ชัดสำหรับสถานประกอบการเวียดนาม ซึ่งเป็นตลาดที่มีประชากรกว่า 600 ล้านคน อยู่อันดับที่ 3 ของโลกและอยู่ใกล้เวียดนาม ซึ่งหมายความว่า ระยะทางไม่ไกลมากเหมือนอียู สหรัฐหรือญี่ปุ่น ดังนั้น สถานประกอบการต้องเล็งเห็นเกี่ยวกับความสะดวกนี้”

เวียดนามผลักดันการผสมผสานเข้ากับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน - ảnh 2
นายกรัฐมนตรีประเทศเจ้าภาพลาวกล่าวปราศรัยในการประชุม

พยายามผสมผสานเข้ากับอาเซียนในทุกด้าน
จากการตระหนักได้ดีเกี่ยวกับโอกาสที่ได้รับจากเออีซี ก่อนที่เออีซีได้รับการจัดตั้ง เวียดนามก็ได้เตรียมพร้อมให้แก่การผสมผสานนี้ โดยนอกจากยกระดับความรู้ให้แก่สถานประกอบการแล้ว เวียดนามก็ยังประกาศนโยบายปรับปรุงบรรยากาศการแข่งขันและเพิ่มทักษะความสามารถให้แก่เศรษฐกิจ นายเหงียนกวางวิงห์ ผู้อำนวยการสำนักงานสถานประกอบการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนสังกัดหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนามย้ำว่า           “ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเร็วๆนี้ เวียดนามได้ประกาศมติที่ 19 เกี่ยวกับการปรับปรุงบรรยากาศการแข่งขันและเพิ่มทักษะความสามารถในการบริหารของรัฐบาล อาจกล่าวได้ว่า นี่เป็นการกระตุ้นที่สำคัญเพื่อให้กระทรวงและหน่วยงานต่างๆปรับปรุงระเบียบราชการ ลดเวลาการชำระภาษีและเวลาทำระเบียบศุลกากร ซึ่งปฏิบัติพร้อมกับนโยบายสนับสนุนสถานประกอบการเวียดนามเพื่อเพิ่มทักษะความสามารถให้แก่พวกเขา ทั้งนี้ถือเป็นกระบวนการที่ดีสำหรับการผสมผสานเข้ากับเออีซี”
ในการเดินพร้อมกับอาเซียน เวียดนามกำลังพยายามผสมผสาน ปรับปรุงกลไกเศรษฐกิจให้มีความสะดวกและสอดคล้องกับธรรมเนียมระหว่างประเทศ เออีซีที่ผสมผสานในทุกด้านจะเอื้อประโยชน์มากมายต่อเวียดนามแต่ในขณะเดียวกันก็จะสร้างความท้าท้ายไม่น้อย ดังนั้น เมื่อเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ เวียดนามจะเป็นฝ่ายรุกในการยื่นข้อเสนอและความคิดริเริ่มต่างๆเพื่อร่วมมือกับอาเซียนผลักดันการดำเนินแผนการประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้ประสบความสำเร็จ.

คำติชม