เร่งปฏิบัติเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

Huyền
Chia sẻ
(VOVWORLD) -  การประชุมสุดยอดเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศและพลังงานก่อนการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ COP ครั้งที่ 28 ได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปนในสภาวการณ์ที่สหประชาชาติได้ออกคำเตือนอย่างต่อเนื่องว่า ประเทศต่างๆ กำลังปฏิบัติตามคำมั่นที่ให้ไว้เกี่ยวกับการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างล่าช้า การประชุมนี้เป็นโอกาสเพื่อให้ประเทศต่างๆ ทบทวนคำมั่นที่ให้ไว้และเร่งมีปฏิบัติการเพื่อแก้ไขวิกฤตโลกร้อน
เร่งปฏิบัติเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ - ảnh 1แห้งแล้งในทุ่งในเมือง Walgett ประเทศออสเตรเลีย (AFP)

 

การประชุมนี้มีรัฐมนตรีและผู้นำระดับโลกในด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานเกือบ 40 คนเข้าร่วม โดยปัญหาต่างๆ เช่น การลงทุนพลังงานหมุนเวียน การสนับสนุนทางการเงินให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการพัฒนาพลังงานสะอาดคือเนื้อหาหลักของการประชุม

ความคิดริเริ่มที่เป็นรูปธรรม

ที่ประชุมได้เห็นพ้องเกี่ยวกับแนวคิดในการจัดตั้งพันธมิตรระหว่างประเทศเพื่อยกเลิกการอุดหนุนและการให้สิทธิพิเศษด้านภาษีแก่เชื้อเพลิงฟอสซิลในทุกรูปแบบ ซึ่งแนวคิดนี้เสนอโดยนาย Rob Jetten รัฐมนตรีกระทรวงสภาพภูมิอากาศของเนเธอร์แลนด์ และรัฐบาลเนเธอร์แลนด์จะมีปฏิบัติการโน้มน้าวอย่างเข้มแข็งเพื่อให้กลุ่มพันธมิตรนี้ได้รับการจัดตั้งก่อนการประชุม COP 28 ซึ่งคาดว่าจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายนถึงวันที่ 12 ธันวาคม ที่เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

ดร. Fatih Birol กรรมการบริหารของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศหรือ IEA ได้ย้ำถึงความสำคัญของคำมั่นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องถึงแนวคิดนี้ โดยแสดงความเห็นว่า การจัดทำกระบวนการที่ชัดเจนเพื่อยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็น 1 ใน 5 เงื่อนไขชี้ขาดต่อความสำเร็จของการประชุมสุดยอด COP 28  ส่วนเงื่อนไขอื่น ๆ คือการเพิ่มการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนเป็น 3 เท่า การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน 2 เท่า การลดความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์และการจัดทำกลไกสนับสนุนทางการเงินให้แก่พลังงานสีเขียวในประเทศกำลังพัฒนา นาง เทเรซา ริเบรา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของสเปน ซึ่งเป็นประเทศเจ้าภาพจัดการประชุมฯและประธานหมุนเวียนของสภายุโรปได้เผยว่า การจัดตั้งพันธมิตรเพื่อลดการให้สิทธิพิเศษในการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจะเป็นก้าวเดินแรกที่ปฏิบัติ

ก่อนหน้านั้น ในการประชุมของภาคอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซที่จัดขึ้น ณ กรุงอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ภายใต้อำนวยการของสุลต่าน อัล-จาเบอร์ ประธาน COP 28 บริษัทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทั่วโลกกว่า 20 แห่งได้ขานรับคำเรียกร้องให้ภาคพลังงานปฏิบัติเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ก่อนปี 2050 และการปล่อยก๊าซมีเทนเกือบเป็นศูนย์ภายในปี 2030ให้จริงจัง ส่วนในการประชุมสุดยอดแอฟริกาเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศเมื่อเดือนกันยายน ณ ประเทศเคนยา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ให้คำมั่นที่จะลงทุน 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อพัฒนาพลังงานสะอาดให้ได้ 15 กิกะวัตต์ (GW) ภายในปี 2050 ในแอฟริกา วงเงินนี้ยังเป็นแรงผลักดันที่จะช่วยให้แอฟริการะดมเงินเพิ่มเติมอีกอย่างน้อย 12.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากภาคเอกชนและองค์กรพหุภาคีเพื่อมีส่วนร่วมต่อการรณรงค์เพื่อช่วยให้แอฟริกากลายเป็น “ประเทศมหาอำนาจด้านพลังงานหมุนเวียน” ที่ริเริ่มโดยสหประชาชาติเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมเกี่ยวกับการพัฒนาแห่งสีเขียวของแอฟริกา

เร่งปฏิบัติเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ - ảnh 2สุลต่าน อัล-จาเบอร์ ประธาน COP 28 (AFP)

ยังมีอุปสรรคมากมาย

ตามข้อตกลงปารีสเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ได้รับการอนุมัติในการประชุม COP 21 เมื่อปี 2015 ณ กรุงปารีส ประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ 195 ประเทศได้ตกลงที่จะจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับช่วงช่วงปี 1950 โดยพยายามทำให้ตัวเลขนี้อยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียส

หลังการประชุม COP 21  ประเทศต่างๆ มีความคืบหน้ามากขึ้นในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่อย่างไรก็ตาม ในทางเป็นจริง หลังภาวะวิกฤตโควิด-19  ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง โดยเมื่อปีที่แล้ว อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ คือสูงกว่าระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมถึงร้อยละ 50  โดยเฉพาะการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากภาคพลังงานทำสถิติใหม่อยู่ที่ 3 หมื่น 7 พันล้านตันเมื่อปีที่แล้ว

เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 ก่อนหมดทศวรรษนี้ ต้องลดปริมาณการใช้ถ่านหินลงร้อยละ 67 - 82 ส่วนการเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดจะต้องปฏิบัติให้เร็วขึ้นอีก 6 เท่า ปัญหาสำคัญอีกประเด็นคือการทำให้ประเทศที่เปราะบางที่สุดมีความพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ดีขึ้น ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐและสหภาพยุโรปจะต้องตั้งเป้าหมายคาร์บอนเป็นกลางภายใน 5 ปี คือตั้งแต่ปี 2050-2045 ส่วนจีนต้องปฏิบัติภายใน 10 ปี คือจนถึงปี 2050 เพื่อธำรงเป้าหมายให้อยู่ในกรอบของข้อตกลงปารีสและจำกัดภาวะโลกร้อนไม่ให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับช่วงก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม

แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ยังคงมีความเห็นที่แตกต่างกันโดยแบ่งเป็นกลุ่มที่เรียกร้องให้ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อน กับกลุ่มที่ยังคงต้องการใช้พลังงานจากถ่านหิน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ นอกจากนี้ ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ก็เป็นอีกอุปสรรคสำคัญต่อการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศอีกด้วย ดังนั้น ผลงานที่ได้บรรลุในการประชุมสุดยอดเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศและพลังงาน ณ ประเทศสเปนจะมีส่วนร่วมต่อการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านการเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ เร่งดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันภาวะโลกร้อน.

คำติชม