เพิ่มการถกเถียงเกี่ยวกับปัญหา Brexit ในประเทศอังกฤษ

Hong Van - VOV5
Chia sẻ
(VOVWORLD) - Brexit คือกระบวนการที่ลำบากสำหรับทั้งอังกฤษและอียู โดยถึงขณะนี้ อีกเวลาไม่ถึง 2 เดือนก็จะถึงวันที่อังกฤษต้องถอนตัวจากอียูอย่างเป็นทางการแต่การถอนตัวนั้นจะมีหรือไม่มีข้อตกลงยังคงเป็นปัญหาที่มีการถกเถียงเป็นอย่างมากภายในประเทศอังกฤษ แม้กระทั่งในหลายวันมานี้จะมีความตึงเครียดมากขึ้นเมื่อนายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสัน พยายามเลื่อนเวลาประชุมรัฐสภาเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ส.ส.อังกฤษคัดค้านกระบวนการ Brexit
เพิ่มการถกเถียงเกี่ยวกับปัญหา Brexit ในประเทศอังกฤษ - ảnh 1 นายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสัน (Photo Reuters)

ในการหยั่งเสียงประชามติเมื่อเดือนมิถุนายนปี 2016 ชาวอังกฤษส่วนใหญ่ให้การสนับสนุนการถอนตัวจากอียูแต่จนถึงปัจจุบัน รัฐสภาและรัฐบาลอังกฤษยังคงถกเถียงเกี่ยวกับกระบวนการ Brexit ซึ่งปัญหานี้ส่งผลให้นาง เทเรซา เมย์ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษต้องลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากไม่สามารถโน้มน้าวให้ส.ส.อังกฤษเห็นพ้องข้อตกลง Brexit ที่ได้บรรลุกับอียูเมื่อปีที่แล้ว

ความเฉลียวฉลาดของนายกรัฐมนตรีอังกฤษคนใหม่

แม้เพิ่งขึ้นดำรงตำแหน่งเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา แต่ดูเหมือนว่า นาย บอริส จอห์นสันได้หมดความอดทนต่อปัญหา Brexit โดยขอพระบรมราชานุญาติจากพระราชินีนาถเอลิซาเบธให้ทรงเลื่อนเปิดประชุมสภาออกไปเป็นวันที่ 14 ตุลาคม หรือช้ากว่าเดิม 5 สัปดาห์ โดยอ้างเหตุผลว่า รัฐบาลต้องจัดทำโครงการร่างนิติบัญญัติใหม่และยืนยันว่า มีเวลาเพียงพอเพื่อให้ส.ส.หารือเกี่ยวกับ Brexit และปัญหาต่างๆ นาย บอริส ยังเตือนว่า ถ้าหากส.ส.อังกฤษพยายามหาทางยับยั้งหรือเลื่อนเวลาการถอนตัวจากอียูในวันที่ 31 ตุลาคม ก็จะส่งผลเสียในระยะยาวต่อพรรคการเมืองต่างๆในอังกฤษและความไว้วางใจของประชาชนต่อเวทีการเมือง แต่อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์เห็นว่า การเลื่อนเวลาเปิดประชุมสภาได้ส่งผลให้ฝ่ายที่คัดค้าน Brexit ที่ไม่มีข้อตกลงจะมีเวลาน้อยลงในการเตรียมความพร้อมเพื่อพูดคุยและอนุมัติ Brexit ทำให้พวกเขาต้องเลือกแผนสำรองคือจัดการลงคะแนนไม่ไว้วางใจต่อนายกรัฐมนตรี แต่เพื่อให้การลงคะแนนนั้นประสบความสำเร็จ ส.ส.ของพรรคออนุรักษ์นิยมต้องลงคะแนนไม่สนับสนุนพรรคของตน ซึ่งนี่คือเรื่องที่ยากที่จะเกิดขึ้น ส่วนนายกรัฐมนตรี บอริส ได้คาดการณ์เรื่องนี้ไว้ล่วงหน้าแล้วโดยเมื่อวันที่ 2 กันยายนได้ประกาศว่า จะเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 14 ตุลาคมถ้าหากในสัปดาห์นี้ ส.ส.ลงคะแนนอนุมัติร่างกฎหมายยับยั้ง Brexit ที่ไม่มีข้อตกลง พร้อมทั้งเผยว่า ถ้าหากส.ส.สนับสนุน ตนจะได้บรรลุข้อกำหนดใหม่ๆเกี่ยวกับ Brexit กับอียูในการประชุมสุดยอดของอียูในวันที่ 17 ตุลาคมนี้ โดยเฉพาะข้อกำหนดที่ส่งผลให้ข้อตกลง Brexit ที่นาง เทเรซา เมย์ เห็นพ้องกับอียูถูกสภาอังกฤษปฏิเสธ 3 ครั้ง

การคัดค้านที่นับวันเพิ่มมากขึ้น

มาตรการแข็งกร้าวของนายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสันได้ถูกฝ่ายค้านตำหนิคัดค้าน โดยเผยว่า นาย บอริส จอห์นสันกำลังเดินหน้ากระบวนการ Brexit ที่ไม่มีข้อตกลง โดยฝ่ายที่คัดค้าน Brexit ที่ไม่มีข้อตกลงได้ประกาศว่า แผนการเลื่อนประชุมรัฐสภาถือว่าผิดรัฐธรรมนูญและเป็นภัยคุกคามต่อประชาธิปไตยของประเทศ ซึ่งอาจทำให้อังกฤษถอนตัวจากอียูโดยไม่มีคำมั่นใดๆ รวมถึงความชัดเจนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษกับอียูในช่วงหลัง Brexit เช่น การทำธุรกรรมและสิทธิของพลเมืองอังกฤษในอียู เป็นต้น ซึ่งถ้าไม่มีความชัดเจนหลัง Brexit ก็จะทำให้อังกฤษได้รับผลกระทบอย่างหนักทั้งในด้านความสามัคคี ภาคการเกษตร หน่วยงานการผลิตและเศรษฐกิจที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย นอกจากนี้ ยังมีเอกสารที่รวบรวมลายชื่อกว่า 1.3 ล้านลายชื่อเพื่อเรียกร้องให้ศาลทำการพิจารณาฉุกเฉินถึง “ผลกระทบและความจำนงค์” ของแผนการขยายเวลาหยุดงานของรัฐสภาอังกฤษ โดยนาย Jeremy Corbyn หัวหน้าพรรคแรงงาน ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านและนาย Jo Swinson หัวหน้าพรรคเสรี ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธเพื่อทูลคัดค้านการเลื่อนเวลาดังกล่าว ในขณะเดียวกัน ชาวอังกฤษนับพันคนได้ชุมนุมประท้วงในนครต่างๆทั่วประเทศ เช่น กรุงลอนดอน Manchester และ Edinburgh เพื่อแสดงความไม่พอใจต่อการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสัน แม้นายกรัฐมนตรีอังกฤษ บอริส จอห์นสันมีความเชื่อมั่นและเผยว่า ทุกปัญหาที่เกี่ยวของถึง Brexit จะดำเนินไปอย่างราบรื่นแต่สิ่งที่ต้องให้ความสนใจคือ จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีท่าทีใดที่แสดงให้เห็นว่า บรรดาผู้นำอียูจะผ่อนปรน โดยเฉพาะปัญหาชายแดนในไอร์แลนด์เหนือและปัญหาการควบคุมเขตชายแดนระหว่างไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นสมาชิกของอียูกับไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษ การเลื่อนเวลาเปิดประชุมสภาของนายบอริส จอห์นสัน อาจเป็นเกมส์การเมืองใหม่ในการปฏิบัติกระบวนการ Brexit แต่ก็เป็นเกมส์ที่เต็มไปด้วยความเสี่ยง โดยบางคนประเมินว่า นาย บอริส จอห์นสัน เป็นแบบอย่างเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือด้านการเมืองผ่านองค์กรนิติบัญญัติที่อาจทำให้ประเทศตกเข้าสู่ภาวะแตกแยกมากขึ้นในสภาวะที่ประเทศกำลังประสบกับวิกฤตอย่างไม่เคยมีมาก่อนในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา.

คำติชม