อาเซียนพยายามผลักดันความเสมอภาคทางเพศในยุคดิจิทัล

Anh Huyen - VOV5
Chia sẻ
(VOVWORLD) - ในกรอบการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 36 จะมีการจัดการประชุมพิเศษครั้งแรกของผู้นำอาเซียนเกี่ยวกับการเพิ่มสิทธิและอำนาจให้แก่สตรีในยุคดิจิทัล ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มของเวียดนามสะท้อนคำมั่นของผู้นำอาเซียนเกี่ยวกับการผลักดันความเสมอภาคทางเพศและยกระดับบทบาทของสตรีในกระบวนการสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียน พร้อมทั้งเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งที่สะท้อนความพยายามของเวียดนามในการค้ำประกันสิทธิของสตรี
อาเซียนพยายามผลักดันความเสมอภาคทางเพศในยุคดิจิทัล - ảnh 1(Photo: baoquocte.vn

ในวันที่ 26 มิถุนายน ณ กรุงฮานอย นายกรัฐมนตรีเวียดนาม เหงียนซวนฟุ๊กจะเป็นประธานการประชุมพิเศษนี้โดยมีนาง เหงียนถิกิมเงิน ประธานสภาแห่งชาติเวียดนาม นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ จาซินดา อาร์เดิร์น เลขาธิการอาเซียน Lim Jock Hoi เลขาธิการฝ่ายบริหารของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิกหรือ UNESCAP Armida Salsiah Alisjahbana เข้าร่วม

ความคิดริเริ่มครั้งแรกในกรอบอาเซียน

ปี 2020 มีความหมายเป็นอย่างมากต่อความพยายามผลักดันความเสมอภาคทางเพศและเพิ่มสิทธิให้แก่สตรีในขอบเขตภูมิภาคและโลก ในอาเซียน การปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงต้องมีวิธีการเข้าถึงใหม่เกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศในยุคดิจิทัล ในเวลาที่ผ่านมา คำมั่นต่างๆและความสนใจของอาเซียนเกี่ยวกับสวัสดิการสังคม สตรีและความเสมอภาคทางเพศนับวันได้รับการผลักดันแต่ในกลุ่มอาเซียนปัจจุบัน ยังมีหลายนโยบายที่ยังประสบอุปสรรคต่างๆ ซึ่งทำให้สตรียากที่จะเข้าถึงบริการสวัสดิการ ถูกผลักให้เป็นแรงงานนอกระบบและได้รับเงินเดือนต่ำกว่าผู้ชาย

ในสภาวการณ์ดังกล่าว ในฐานะประธานอาเซียน 2020 และประธานคณะกรรมการร่วมรัฐบาลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของอาเซียน เวียดนามได้เสนอจัดการประชุมครั้งนี้เพื่อเพิ่มการหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลในด้านนี้เพื่อค้ำประกันสิทธิให้แก่สตรี นาย เหงียนก๊วกหยุง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามเผยว่า “นับเป็นครั้งแรกที่ผู้นำอาเซียนหารือเกี่ยวกับสตรีและการมอบสิทธิให้แก่สตรีอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีความหมายสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะว่า นี่จะเป็นโอกาสให้ผู้นำอาเซียนรับฟังข้อเสนอต่างๆและเสนอความคิดริเริ่มที่เป็นรูปธรรม ผมคิดว่า เพื่อเพิ่มสิทธิให้แก่สตรี ก่อนอื่นต้องปรับปรุงเอกสารทางนิตินัยให้มีความสมบูรณ์ พร้อมทั้งต้องมีการเข้าร่วมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ภายในอาเซียนเพื่อสร้างสรรค์ให้เป็นวัฒนธรรมการปฏิบัติต่อสตรีในกลุ่มอาเซียน นี่คือความหมายของการประชุมพิเศษที่เวียดนามมุ่งปฏิบัติ”

ผลักดันความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศ

ปี 2020 โลกจะจัดกิจกรรมรำลึกครบรอบ 25 ปีการปฏิบัติแถลงการณ์และหลักการปฏิบัติปักกิ่งและ 5 ปีการปฏิบัติเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่เวียดนาม ปี 2020 ก็เป็นปีสุดท้ายในการปฏิบัติยุทธศาสตร์แห่งชาติเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศครั้งแรกและรัฐบาลจะเตรียมยุทธศาสตร์ความเสมอภาคทางเพศระยะปี 2021-2030

ในตลอด 25 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลเวียดนามได้ตั้งใจปฏิบัติเป้าหมายต่างๆของหลักการปฏิบัติปักกิ่งและคำมั่นระหว่างประเทศต่างๆเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศในกระบวนการจัดทำและเสริมสร้างระบบกฎหมายและนโยบายของประเทศ พร้อมทั้งมีความพยายามเป็นอย่างมากเพื่อลดข้อกำหนดต่างๆที่มีลักษณะเลือกปฏิบัติต่อสตรี พยายามเพิ่มบทบาทและสถานะให้แก่สตรีในสังคม โดยอัตราผู้แทนสภาแห่งชาติที่เป็นสตรีบรรลุร้อยละ 27.1 สูงกว่าอัตราเฉลี่ยของภูมิภาคและโลก ปัจจุบันนี้ เวียดนามมีเจ้าของสถานประกอบการที่เป็นสตรีถึงร้อยละ 31.3 และอัตราการสร้างงานทำใหม่ให้แก่แรงงานสตรีเวียดนามในตลอด 5 ปีที่ผ่านมาคิดเป็นกว่าร้อยละ 48 นาง ดิงถิเตวี๊ยดหญุง รองหัวหน้าคณะกรรมการสนับสนุนสตรีพัฒนาเศรษฐกิจสังกัดสหพันธ์สตรีเวียดนามยืนยันว่า “ในแนวโน้มของการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 เวียดนามได้จัดทำโครงการสนับสนุนสตรีเวียดนามให้มีบทบาทสำคัญ ซึ่งไม่เพียงแต่มีส่วนร่วมสร้างงานทำให้แก่แรงงานเท่านั้น หากยังมีส่วนร่วมต่อความยั่งยืนของเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ให้สังคมมีความโปร่งใสและปฏิบัติเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนถึงปี 2030 ของสหประชาชาติ”

ท่ามกลางบรรยากาศการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 เศรษฐกิจที่ครอบคลุมและมีมนุษยธรรม สตรีจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้น ควบคู่กับความพยายามเพื่อเสริมสร้างระบบกฎหมายภายในประเทศให้มีความสมบูรณ์เพื่อค้ำประกันและผลักดันสิทธิของมนุษย์ โดยเฉพาะสิทธิของสตรี เวียดนามยังให้ความสำคัญในการขยายความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านนี้ โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียน ดังนั้น การจัดทำวิธีการเข้าถึงอย่างรอบด้าน ทั่วไป สร้างสรรค์และยั่งยืนเกี่ยวกับสตรีบนพื้นฐานของการกำหนดความต้องการทั่วไปของภูมิภาค จุดแข็งและส่วนร่วมของแต่ละประเทศคือเรื่องที่จำเป็นในสภาวการณ์ปัจจุบันของอาเซียน การประชุมพิเศษนี้จะช่วยเพิ่มความรู้ให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับบทบาท ความหมายและการเข้าร่วมของสตรีในยุคดิจิทัล./.

คำติชม