อาเซียน-จีน : เมื่อไม่มีความไว้ใจกัน

Anh Huyen/VOV5
Chia sẻ
(VOVworld)- การที่จีนติดตั้งแท่นขุดเจาะไหหยาง๙๘๑อย่างผิดกฎหมายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของเวียดนามก่อนการประชุมสุดยอดอาเซียน๒๔และการสนทนาความมั่นคงเอเชียหรือแชงกรีลาก็เป็นเรื่องที่ทำให้ประชามติโลกแปลกใจ เพราะสำหรับอาเซียนในขณะที่ความพยายามทางการทูตระหว่างสองฝ่ายกำลังมีการพัฒนาที่ดีเพื่อมุ่งสู่การลงนามระเบียบการปฏิบัติต่อกันในทะเลตะวันออกหรือซีโอซีนั้น ปฏิบัติการนี้ของจีนถือเป็นการทำผิดคำมั่นที่ให้ไว้กับทั้งกลุ่มอาเซียน ส่งผลให้ความไว้วางใจของประเทศต่างๆในภูมิภาคต่อประเทศจีนลดลง

(VOVworld)- การที่จีนติดตั้งแท่นขุดเจาะไหหยาง๙๘๑อย่างผิดกฎหมายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของเวียดนามก่อนการประชุมสุดยอดอาเซียน๒๔และการสนทนาความมั่นคงเอเชียหรือแชงกรีลาก็เป็นเรื่องที่ทำให้ประชามติโลกแปลกใจ เพราะสำหรับอาเซียนในขณะที่ความพยายามทางการทูตระหว่างสองฝ่ายกำลังมีการพัฒนาที่ดีเพื่อมุ่งสู่การลงนามระเบียบการปฏิบัติต่อกันในทะเลตะวันออกหรือซีโอซีนั้น ปฏิบัติการนี้ของจีนถือเป็นการทำผิดคำมั่นที่ให้ไว้กับทั้งกลุ่มอาเซียน ส่งผลให้ความไว้วางใจของประเทศต่างๆในภูมิภาคต่อประเทศจีนลดลง

อาเซียน-จีน : เมื่อไม่มีความไว้ใจกัน - ảnh 1

ภายหลังที่จีนติดตั้งแท่นขุดเจาะไหหยาง๙๘๑อย่างผิดกฎหมายในเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของเวียดนามไม่กี่วัน บรรดารัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนก็ได้ออกแถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับสถานการณ์ในทะเลตะวันออกเนื่องจากมีความกังวลต่อปฏิบัติการแต่เพียงฝ่ายเดียวที่อันตรายของจีน ซึ่งนับเป็นท่าทีพิเศษของอาเซียนที่ไม่เคยเกิดขึ้นในกระบวนการปฏิบัติและเป็นการแสดงจุดยืนของอาเซียนในฐานะเป็นประชาคมที่มีเอกภาพ ถึงแม้แต่ละฝ่ายจะมีผลประโยชน์ที่แตกต่างกันบวกกับอิทธิพลที่เข้มแข็งของจีนในภูมิภาคนี้แต่แถลงการณ์ดังกล่าวถือเป็นการยืนยันอีกครั้งเกี่ยวกับความเป็นเอกภาพของอาเซียนที่เคยถูกประชามติสงสัยว่าอาเซียนกำลังแตกแยกในปัญหาที่ซับซ้อนนี้หรือไม่

คำพูดและการปฏิบัติที่โลเลของจีน

หวนกลับไปช่วงปลายปี๒๐๑๓ ในการประชุมระดับสูงอาเซียนและการประชุมระหว่างอาเซียนกับหุ้นส่วนต่างๆ ผู้นำของจีนก็ได้มีบทปราศรัยที่ประชามติถือว่าน่าประทับใจที่ยืนยันว่าจีนและอาเซียนจะ “ร่วมชะตากรรมและร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน” ทั้งสองฝ่ายต้อง “สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจพัฒนาความสัมพันธ์เพื่อนบ้านที่ดีและธำรงความสามัคคี” นอกจากนั้นในพิธีรำลึกครบรอบ10ปีความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์อาเซียน-จีน ประเทศต่างๆในกลุ่มก็รู้สึกยินดีเมื่อนายกฯจีนหลีเคอเฉียงได้เสนอให้นำความสัมพันธ์อาเซียน-จีนก้าวจาก “ทศวรรษทอง” ไปสู่ “ทศวรรษเพชร” ด้วยการลงนามสนธิสัญญา๓ดีคือ “เพื่อนบ้านที่ดี มิตรภาพที่ดีและความร่วมมือที่ดี” พร้อมทั้งได้เสนอข้อคิดริเริ่มในการสร้างสรรค์ “เส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่๒๑”เพื่อพัฒนาการค้าและขยายอิทธิพลด้านอารยธรรมของจีนมิใช่เพื่อขยายอาณาเขต  ก่อนหน้านั้นการที่เมื่อเดือนพฤษภาคมปี๒๐๑๓ในการเดินทางเยือนต่างประเทศครั้งแรกในฐานะรัฐมนตรีต่างประเทศจีน นายหวางอิ้ก็ได้เลือกเดินทางเยือนประเทศอาเซียนก็ช่วยสร้างความหวังว่าจีนจะให้ความสนใจเป็นอันดับแรกต่อการพัฒนาการทูตกับเพื่อนบ้านและถืออาเซียนเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์สำคัญ

ส่วนทางฝ่ายอาเซียนนั้น เพื่อตอบรับเจตนาดีจากจีน อาเซียนก็ได้พยายามเสริมสร้างความสัมพันธ์กับหุ้นส่วนเพื่อนบ้านและมีความไว้ใจต่อข้อเสนอของปักกิ่งเกี่ยวกับอนาคตของภูมิภาค โดยไม่เพียงแต่ชื่นชมข้อเสนอสนธิสัญญา๓ดีและเห็นพ้องกับการสร้างสรรค์หุ้นส่วนร่วมมือด้านการเดินเรืออาเซียน-จีนเท่านั้น แต่อาเซียนยังเสนอมาตรการต่างๆเพื่อสร้างสรรค์ความไว้วางใจ ใช้โอกาสต่างๆให้เป็นประโยชน์ในกระบวนการมุ่งกระชับความร่วมมือให้แน่นแฟ้นและกว้างลึกยิ่งขึ้นในทศวรรษที่สองแห่งความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์อาเซียน-จีน  อาเซียนก็เห็นพ้องกับการปฏิบัติแถลงการณ์ดีโอซีอย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ เร่งกระบวนการทาบทามการร่างซีโอซี ตลอดจนยังตั้งความหวังว่า “ความฝันของจีน”ก็อาจจะกลายเป็น “ความฝันของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ด้วยการที่จีนจะเปลี่ยนแปลงแนวทางการแก้ไขข้อพิพาททางทะเลกับบางประเทศในภูมิภาค

ดังนั้นการที่จีนได้แสดง “มิตรภาพ” กับอาเซียนด้วยการตั้งแท่นขุดเจาะขนาดใหญ่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปของเวียดนาม จงใจใช้เรือพุ่งชนและใช้ปืนฉีดน้ำแรงดันสูงใส่เรือของกองกำลังบังคับใช้กฎหมายและเรือประมงของเวียดนามจนอับปางกลางทะเลพร้อมกับการที่สื่อของจีนที่รายงานว่า “เวียดนามจะได้รับบทเรียนที่สาสมถ้ามีท่าทีตอบโต้”นั้นได้ทำให้ทั้งอาเซียนและประชามติโลกต้องตกตะลึง โดยการกระทำนั้นได้คุกคามสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคอย่างร้ายแรง ขัดกับกฎหมายสากลและคำมั่นของปักกิ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติดีโอซีอย่างสมบูรณ์ พร้อมทั้งเป็นการปฏิเสธคำมั่นที่จีนให้ไว้กับอาเซียนว่าจะร่วมกันสร้างสรรค์ภูมิภาคที่สันติภาพและเจริญรุ่งเรือง

โดดเดี่ยวในความฝัน การผงาดขึ้นอย่างสันติ

อันที่จริง จากปฏิบัติการทางทะเลที่มีลักษณะยั่วยุและข่มขู่ต่อเวียดนาม จีนก็แพ้ในการปลอบใจประชามติโลกและประเทศเพื่อนบ้านว่าตนกำลังผงาดขึ้นอย่างสันติ บวกกับการเมินเฉยต่อข้อเรียกร้องที่ชอบธรรมของฟิลิปีนส์และหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติต่อศาลโลกในกรณีที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทเหนือหมู่เกาะปะการังสการ์โบโรห์ในทะเลตะวันออก ประชามติกำลังตั้งคำถามว่า จีนจะกลายเป็นประเทศมหาอำนาจได้อย่างไรเมื่อไม่ให้ความเคารพกฎหมายสากลในการสร้างระเบียบการควบคุมทั้งภูมิภาค และการที่จีนทำลายภาพลักษณ์และชื่อเสียงของประเทศด้วยการกระทำที่เดินสวนกับคำมั่นของผู้นำประเทศนั้นใช่ว่าจะเป็นประโยชน์ในระยะยาว

สำหรับทุกประเทศ บรรยากาศที่สันติภาพและเสถียรภาพเพื่อการพัฒนาคือเงื่อนไขที่ขาดไม่ได้ แต่ในเมื่อบรรยากาศแห่งสันติภาพนั้นถูกทำลาย ความไว้วางใจกันก็ไม่มีอีกต่อไป จีนก็จะถูกโดดเดี่ยวบนเส้นทางพัฒนาเป็นประเทศมหาอำนาจตามแนวทางที่เรียกว่า “การผงาดขึ้นอย่างสันติ”./.

คำติชม