อียิปต์ภายหลัง๑ ปีภายใต้การบริหารประเทศของประธานาธิบดี โมฮัมเหม็ด มอร์ซี

Hong Van – VOV5
Chia sẻ

( VOVworld )- วันที่ ๓๐ มิถุนายน จะครบ ๑ ปีการบริหารประเทศของนายโมฮัมเหม็ด มอร์ซี ประธานาธิบดีอียิปต์  แต่สถานการณ์ในปัจจุบันขัดกับคำแถลงของนายมอร์ซีในวันปฏิญาณตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีที่ว่า จะสร้างสรรค์ประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ให้แก่ประเทศ โดยนายมอร์ซีกำลังเผชิญกับแรงกดดันให้ลาออกจากตำแหน่งจากบรรดาผู้ที่เคยสนับสนุนเขาและยืนยันต้องให้ความเคารพผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีก่อนหน้านี้ ๑ ปี


( VOVworld )- วันที่ ๓๐ มิถุนายน จะครบ ๑ ปีการบริหารประเทศของนายโมฮัมเหม็ด มอร์ซี ประธานาธิบดีอียิปต์  แต่สถานการณ์ในปัจจุบันขัดกับคำแถลงของนายมอร์ซีในวันปฏิญาณตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีที่ว่า จะสร้างสรรค์ประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ให้แก่ประเทศ โดยนายมอร์ซีกำลังเผชิญกับแรงกดดันให้ลาออกจากตำแหน่งจากบรรดาผู้ที่เคยสนับสนุนเขาและยืนยันต้องให้ความเคารพผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีก่อนหน้านี้ ๑ ปี

อียิปต์ภายหลัง๑ ปีภายใต้การบริหารประเทศของประธานาธิบดี โมฮัมเหม็ด มอร์ซี - ảnh 1
การชุมนุมเรียกร้องในนายโมฮัมเหม็ด มอร์ซีลาออกจากตำแหน่ง
 ( Tienphong online )

ก่อนหน้านี้ ๑ ปีเมื่อเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี นายโมฮัมเหม็ด มอร์ซี ยังไม่เคยคาดคิดเลยว่า ตำแหน่งประธานาธิบดีของตนจะคลอนแคลนอย่างรุนแรงเมื่อเขาบริหารประเทศได้ ๑ ปีในเทอม ๔ ปีของตนเท่านั้น  จากผลการบริหารประเทศใน ๑ ปีที่ผ่านมาไม่ว่าจะในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมนั้นทำให้ชาวอียิปต์ไม่พอใจต่อนายมอร์ซีเพราะใน ๑ ปีที่ผ่านมา ประเทศอียิปต์ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย หากสถานการณ์ยังคงเลวร้ายลงยิ่งขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดว่า เศรษฐกิจยังคงประสบวิกฤตอย่างรุนแรง ราคาสินค้าถิบตัวสูงขึ้นเท่าตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว  ซึ่งตามข้อมูลที่กระทรวงการคลังอียิปต์ประกาศเมื่อวันที่ ๒๐ เดือนนี้ปรากฎว่า ใน ๑๑ เดือนที่ผ่านมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี ๒๐๑๒ถึงเดือน พฤษภาคม ๒๐๑๓ การขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นประมาณ ๓ หมื่นล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็นร้อยละ ๑๑.๘ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีและเพิ่มขึ้นอีก ๑ หมื่นล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา  หนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๕.๕ อยู่ที่กว่า ๓ หมื่น ๘ พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนตัวเลขคนว่างงานได้เพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วงอยู่ที่ร้อยละ ๑๓

ในด้านการเมือง นาย โมฮัมเหม็ด มอร์ซี ได้มีพฤติกรรมรวบอำนาจทุกอย่างอยู่ในกำมือของตน ซึ่งล่าสุดได้ลงนามในกฤษฏีกาแต่งตั้งบรรดาผู้ที่ใกล้ชิดให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด โดยขบวนการภราดรภาพมุสลิมควบคุมจังหวัด ๑๐ แห่งจากทั้งหมด ๒๕ แห่ง รวมทั้งจังหวัดที่เป็นฐานเสียงของฝ่ายต่อต้าน

ทั้งนี้ทำให้กระแสความไม่พอใจของชาวอียิปต์ต่อประธานาธิบดีมอร์ซีนับวันทวีความรุนแรงมากขึ้นซึ่งส่งผลให้เสียงสนับสนุนนายมอร์ซีพลอยลดลงตามไปด้วย  จากผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่จัดทำโดยสถาบันวิจัยซอคไบหรือแซซอาร์เอสที่ประกาศเมื่อวันที่ ๑๗ เดือนนี้ปรากฎว่า ประธานาธิบดีมอร์ซีได้รับการสนับสนุนจากประชาชนร้อยละ ๒๘ เท่านั้นเมื่อเทียบกับร้อยละ ๕๗ ก่อนหน้านี้ ๑ ปี  แต่สิ่งที่น่าวิตกคือ ความไม่พอใจของชาวอียิปต์ได้กลายเป็นการเดินขบวนประท้วง ซึ่งตามข้อมูลจากศูนย์พัฒนาระหว่างประเทศหรือไอดีซีปรากฎว่า ภายหลัง ๑ ปีมที่บริหารประเทศของนายโมฮัมเหม็ด มอร์ซี ได้เกิดการเดินขบวนประท้วงมากเป็นประวัติการณ์คือกว่า ๙, ๔๐๐ ครั้ง ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น ๗ เท่าเมื่อเทียบกับสมัยของอดีตประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัคที่ถูกโค่นล้มเมื่อต้นปี ๒๐๑๑  และตามความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์สถานการณ์นั้น สถานการณ์ยังคงล่อแหลมมากขึ้นและรุนแรงมากขึ้นในวันที่ ๓๐ เดือนนี้เพราะฝ่ายต่อต้านได้รณรงค์จัดการเดินขบวนประท้วงทั่วประเทศเพื่อเรียกร้องให้นายมอร์ซีลาออกจากตำแหน่งและจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีก่อนกำหนด ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่นายมอร์ซีต้องลาออกจากตำแหน่งเพราะกลุ่มลุกขึ้นสู้ตามารอดสามารถรวบรวมรายชื่อได้ ๑๕ ล้านรายชื่อที่เรียกร้องให้ปลดนายมอร์ซีออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า ๒ ล้านรายชื่อของผู้ที่เทคะแนนให้กับนายมอร์ซีในการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบ ๒

ประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซีได้พยายามคลี่คลายสถานการณ์ที่ตึงเครียดดังกล่าวโดยเมื่อวันที่ ๒๖ เดือนนี้ เขาได้กล่าวปราศรัยทางโทรทัศน์โดยรับปากจะทำการปฏิรูปและเรียกร้องให้มีการจัดการสนทนาประชาชาติ อีกทั้งเตือนว่า ความแตกแยกทางการเมืองที่รุนแรงในขณะนี้อาจจะเป็นภัยคุกคามต่อประชาธิไตย ทำให้ประเทศเป็นอัมพาต และเกิดความไม่สงบ  แต่ถึงอย่างไรก็ดี บทปราศรัยดังกล่าวยังไม่สามารถลดอุณหภูมิแห่งความแตกแยกที่ฝังลึกในประเทศแถบแอฟริการเหนือนี้ได้ ซึ่งเห็นได้ชัดคือ ต่อจากนั้น ๑ วัน ฝ่ายต่อต้านและกองกำลังปฏิวัติอียิปต์ได้ประกาศแผนการระยะเปลี่ยนผ่านหากประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซีลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งประกอบด้วยการยกเลิศสภาชูราหรือวุฒิสภาอียิปต์ซึ่งเป็นองค์การที่อยู่ภายใต้กำมือของฝ่ายมุสลิมที่ควบคุมและดูแลด้านนิตินัยนับตั้งแต่รัฐสภาอียิปต์ถูกยุบเมื่อเดือนมิถุนายนปี ๒๐๑๒  ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันและร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เลือกนายกฯคนใหม่ที่อิสระเพื่อบริหารรัฐบาลเทคนิกและการเมือง โดยรัฐบาลชุดใหม่จะมีหน้าที่ดำเนินแผนพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วนเพื่อกอบกู้เศรษฐกิจของประเทศและปฏิบัตินโยบายทางสังคมอย่างยุติธรรม

เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ภายหลังบริหารประเทศมา ๑ ปี รัฐบาลอียิปต์ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มอร์ซีไม่ประสบความสำเร็จแต่อย่างใดแถมยังประสบกับความท้าทายที่ต้องพยายามอยู่รอดและต้องแก้ไขปัญหาต่างๆ แต่การตอบโจทย์ปัญหาทุกอย่างดังกล่าวดูเหมือนจะยังอยู่ไกลเอื้อม ./.


คำติชม