หน่วยงานการเกษตรของเวียดนามปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

Tung - Long - Van - VOV
Chia sẻ
(VOVworld) – ในฐานะเป็น 1 ในจำนวนประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เวียดนามกำลังเป็นฝ่ายรุกในการรับมือกับปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะในด้านการเกษตรผ่านการปฏิบัติโครงการและมาตรการแก้ไขที่เป็นรูปธรรม

(VOVworld) – ในฐานะเป็น 1 ในจำนวนประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เวียดนามกำลังเป็นฝ่ายรุกในการรับมือกับปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะในด้านการเกษตรผ่านการปฏิบัติโครงการและมาตรการแก้ไขที่เป็นรูปธรรม

หน่วยงานการเกษตรของเวียดนามปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ - ảnh 1
ประชุมชี้นำการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

การเกษตรเป็นหน่วยงานหลักของเศรษฐกิจเวียดนาม ซึ่งมีส่วนร่วมร้อยละ 18 ต่อจีดีพี มีแรงงานคิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของประเทศในรูปแบบการผลิตตามครอบครัว ถึงแม้ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อแต่ละท้องถิ่นจะไม่เหมือนกันแต่ก็ล้วนสร้างความเสียหายอย่างหนักต่อการผลิตเกษตร ป่าไม้และการประมงของเวียดนาม ดังนั้น การปรับตัวจึงถือเป็นมาตรการแก้ไขหลักในการรับมือปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะในด้านการเกษตร มาตรการนี้ได้รับการปฏิบัติในทุกระดับและในทุกด้านอย่างเป็นฝ่ายรุก
เป็นฝ่ายรุกปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอกาศในหลายด้าน
คาดว่า ในปลายศตวรรษที่ 21 ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้นอีก 1 เมตร ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่ธรรมชาติร้อยละ 80 ของจังหวัดเห่ายางและร้อยละ 77 ของจังหวัดเกียนยางจมอยู่ใต้น้ำ ส่วนจังหวัดท้ายบิ่งห์ นามดิ๋ง ซ๊อกจัง บากเลียวและก่าเมา จะมีพื้นที่เฉลี่ยร้อยละ 50 จมอยู่ใต้น้ำ ซึ่งในภาพรวมนั้น เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงจะมีพื้นที่ร้อยละ 16.8 จมอยู่ใต้น้ำ ส่วนเขตที่ราบลุมแม่น้ำโขงตัวเลขนี้คิดเป็นร้อยละ 40 นายเลก๊วกยวาง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนามเผยว่า หน่วยงานการเพาะปลูกต้องให้ความสนใจถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เน้นการลงทุนและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานในการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร การเปลี่ยนแปลงใหม่นโยบาย ขยายขอบเขตการผลิต เพิ่มผลผลิต คุณภาพและความปลอดภัยของผลไม้ที่ได้รับความนิยม นายโห่ซวนหุ้ง นายกสมาคมองค์การเกษตรเวียดนามกล่าวว่า “สิ่งที่สำคัญที่สุดในปัจจุบันคือ การพิจารณาโครงสร้างพันธุ์พืช เราต้องอยู่และปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาน้ำทะเลซึมในท้องถิ่นต่างๆเมื่อเร็วๆนี้เป็นผลจากปัญหาของสภาพภูมิอากาศแต่ก็มีสาเหตุจากมนุษย์เช่นกัน ดังนั้นเราต้องคาการณ์ให้เร็วขึ้นเพื่อสามารถปรับเปลี่ยนการผลิตเกษตรให้เหมาะสม หน่วยงานการเกษตรของเวียดนามมีจุดแข็งคือการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การปลูกพืชและผลไม้เฉพาะท้องถิ่น นอกจากนี้เราก็ต้องเน้นพัฒนาเศรษฐกิจด้านป่าไม้ด้วย”
ในระหว่างการปฏิบัติมาตรการรับมือและแก้ไขปัญหาภัยแล้งและน้ำทะเลซึมในระยะยาว หน่วยงานการเกษตรเวียดนามก็ต้องคำนึงถึงการวางแผนพัฒนาระบบชลประทานแบบบูรณาการในระดับเขตและภูมิภาคเพื่อสามารถควบคุมแหล่งน้ำ นายเหงียนวันเติม ผู้อำนวยการสำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทจังหวัดเกียนยางแสดงความคิดเห็นว่า “ในระยะยาว ต้องให้ความสนใจถึงแหล่งเงินทุนเพื่อก่อสร้างและปรับปรุงระบบชลประทานให้สอดคล้องกับลักษณะการผลิตของแต่ละเขต ส่วนการจัดสรรข้อมูลก็ต้องฉับไวเพื่อสนับสนุนการพยากรณ์และการเตือนภัยแหล่งน้ำในท้องถิ่นต่างๆที่ประสบปัญหาน้ำทะเลซึมอย่างรวดเร็ว”

หน่วยงานการเกษตรของเวียดนามปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ - ảnh 2
เพิ่มทักษะความสามารถของท้องถิ่นในการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

เพิ่มทักษะความสามารถของท้องถิ่นในการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
การปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้รับการปฏิบัติตามลักษณะของแต่ละท้องถิ่น อย่างเช่น จังหวัดแค้งหว่าได้เน้นในด้านโครงการพื้นฐานการผลิตเกษตร การทำนาเกลือและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ส่วนจังหวัดบิ่งดิ่งได้สร้างแผนการรับมือปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศด้วยการปรับปรุงโครงการและการวางแผนพัฒนาของหน่วยงานและท้องถิ่นโดยคำนึงถึงปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาน้ำทะเลหนุน ตลอดจนยกระดับความรู้และทักษะความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในเวียดนามและโลก แสวงหาแหล่งเงินทุนอุปถัมภ์ เร่งปฏิบัติโครงการต่างๆในด้านนี้ ส่วนนายเหงียนแค้งฮวาน ปลัดสำนักงานคณะกรรมการชี้นำการป้องกันและรับมือกับภัยธรรมชาติและการกู้ภัยจังหวัดเบ๊นแจเผยว่า ทางการจังหวัดเบ๊นแจผลักดันการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเพื่อให้ประชาชนตระหนักได้ดีเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่า ทรัพยากรน้ำและประหยัดน้ำ “การประหยัดน้ำจืดเพื่อใช้ดำรงชีวิตและผลิตมีความสำคัญเป็นอย่างมาก พวกเราเน้นประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักได้ดีมากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องนี้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเป็นฝ่ายรุกในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เช่น เป็นฝ่ายรุกในการสำรองน้ำจืดและรับมือกับผลร้ายจากภัยธรรมชาติ”
นอกจากนี้ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในด้านการเกษตร เวียดนามยังเป็นฝ่ายรุกในการขยายความร่วมมือกับสหประชาชาติปฏิบัติความคิดริเริ่มที่ระบุภาคการเกษตรในแผนการปรับตัวระดับประเทศ ที่จะมีขึ้นเป็นเวลา 3 ปีเพื่อช่วยให้เวียดนามพิจารณานโยบายการพัฒนาที่ยังไม่สอดคล้องเพื่อเสนอมาตรการแก้ไข
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อภาคการเกษตรของเวียดนามเป็นภัยคุกคามต่อเป้าหมายการแก้ปัญหาความยากจนและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ ดังนั้น การที่เวียดนามพยายามเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะในด้านการเกษตรจะช่วยลดผลกระทบที่เวียดนามจะได้รับจากปัญหานี้ให้เหลือน้อยที่สุด.

คำติชม