ประชาชนซื้อของที่ซูเปอร์มาร์เก็ตในเมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ (Photo: THX/TTXVN) |
อังกฤษยื่นเอกสารขอเข้าเป็นสมาชิกของ CPTPP ตั้งแต่ปี 2021 จนถึงเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว อังกฤษได้ลงนามสนธิสัญญาเกี่ยวกับการเข้าเป็นสมาชิกของ CPTPP และเมื่อวันที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา อังกฤษได้กลายเป็นสมาชิก CPTPP อย่างเป็นทางการ ซึ่งนี่เป็นข้อตกลงการค้าที่ใหญ่ที่สุดที่อังกฤษเข้าร่วมนับตั้งแต่ถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปหรืออียู
ชัยชนะของอังกฤษ
การที่อังกฤษเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการได้เพิ่มจำนวนประเทศสมาชิกของCPTPP ขึ้นเป็น 12 ประเทศ รวมประชากร 580 ล้านคน ซึ่งประกอบด้วย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เม็กซิโก เปรู ชิลี สิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย เวียดนามและ 3 ประเทศสมาชิกของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกหรือ G7 คือ แคนาดา ญี่ปุ่นและอังกฤษ จากการเป็นเศรษฐกิจรายใหญ่อันดับ 6 ของโลก การเข้าร่วมของอังกฤษจะช่วยเพิ่มอัตราจีดีพีของกลุ่มขึ้นเป็นร้อยละ15 ของจีดีพีโลก นำผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจมาให้แก่ประเทศสมาชิก นาย Jonathan Reynolds รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธุรกิจและการค้าอังกฤษได้เผยว่า การเข้าร่วมข้อตกลง CPTPP จะช่วยดึงดูดเม็ดเงินจำนวน 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐมาให้แก่เศรษฐกิจของอังกฤษเนื่องจากสถานประกอบการอังกฤษสามารถเข้าถึงตลาดที่มีประชากรกว่า 500 ล้านคน บรรดาสถานประกอบการอังกฤษสามารถเข้าถึงเศรษฐกิจที่ต่างๆมีอัตราการขยายตัวสูงที่สุดในโลก ซึ่งอังกฤษสามารถใช้ประโยชน์จากจุดแข็งต่างๆด้านเทคโนโลยีการเงิน การเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง การผลิตและมีความได้เปรียบในการแข่งขันเมื่อเทียบกับคู่แข่งต่างๆ
สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือ สำหรับสถานการณ์ภายในประเทศ การเข้าร่วมข้อตกลง CPTPP มีส่วนช่วยสนับสนุนจุดยืนของสองพรรคการเมืองใหญ่ของอังกฤษคือพรรคอนุรักษ์นิยมและพรรคแรงงาน ที่สนับสหนุนการถอนตัวออกจากอียู เพราะทำให้อังกฤษมีความสะดวกในการลงนามข้อตกลงการค้าเสรีหรือ FTA กับหุ้นส่วนต่างๆในโลก มีส่วนช่วยปฏิบัติยุทธศาสตร์ “สหราชอาณาจักรสู่โลก” หรือ Global Britain ที่เสนอหลัง Brexit ในช่วงหลัง Brexit อังกฤษได้ลงนามข้อตกลง FTA กับออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์และกำลังมุ่งสู่การลงนามข้อตกลง FTA กับอินเดียแต่ข้อตกลง CPTPP ยังเป็นข้อตกลงที่ใหญ่ที่สุดที่อังกฤษเข้าร่วม ซึ่งชัยชนะด้านการเมืองนี้มีส่วนช่วยชดเชยความเสียหายด้านเศรษฐกิจของ Brexit เพราะการถอนตัวออกจากอียูสร้างความเสียหายคิดเป็นร้อยละ 4 ของจีดีพี ส่วนการเข้าร่วมข้อตกลง CPTPP จะช่วยเพิ่มอัตราการขยายตัวของอังกฤษขึ้น 0.08% แต่อย่างไรก็ดี นาย Nikesh Mehta ข้าหลวงใหญ่ของอังกฤษ ณ สิงคโปร์ ได้ยืนยันว่า อังกฤษมีความเชื่อมั่นต่อข้อตกลง CPTPP ที่จะพัฒนาอย่างเข้มแข็งในอนาคต
“พวกเราเชื่อมั่นว่า การเข้าร่วมข้อตกลง CPTPP จะช่วยดึงดูดเงินจำนวน 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐมาให้แก่เศรษฐกิจของอังกฤษ ถ้าหากจำนวนสมาชิก CPTPP เพิ่มขึ้นและมีด้านความร่วมมือใหม่มากขึ้น ผมเชื่อมั่นว่า ข้อตกลงนี้จะมีบทบาทเป็นอย่างมากและจะมีโอกาสมากขึ้นให้แก่สถานประกอบการอังกฤษ”
สำหรับบรรดาประเทศสมาชิกอื่นของข้อตกลง CPTPP การรับอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจยุโรปเข้าเป็นสมาชิกจะช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงตลาดที่มีประชากร 70 ล้านคนที่มีกำลังซื้อสูงของอังกฤษ ผลักดันการดึงดูดการลงทุนจากสถานประกอบการใหญ่ของอังกฤษ นอกจากนี้ การที่ประเทศสมาชิกจี 7 เข้าร่วมข้อตกลง CPTPP ยังช่วยให้ข้อตกงลนี้ธำรงแรงดึงดูดหลังจากที่ชะงักงันเกี่ยวกับแนวทางและหลังจากที่เมื่อปี 2017 สหรัฐ ซึ่งเป็นสมาชิกที่ใหญ่ที่สุดถอนตัวออกจากข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ TPP ในอดีตหรือข้อตกลง CPTPP ในปัจจุบัน
ศักยภาพใหม่ให้แก่ข้อตกลง CPTPP
สำหรับบรรดาผู้เชี่ยวชาญ การที่อังกฤษเข้าร่วมข้อตกลง CPTPP ไม่เพียงแต่เป็นเหตุการณ์ที่น่าสนใจด้านเศรษฐกิจเท่านั้นหากยังมีความหมายทางภูมิศาสตร์การเมืองที่สำคัญ นาง Minako Morita-Jaeger ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าระหว่างประเทศสังกัดมหาวิทยาลัยซัสเซ็กซ์ของอังกฤษเผยว่า หลังจากที่สหรัฐถอนตัวออกจากข้อตกลง TPP หรือข้อตกลง CPTPP ในปัจจุบัน ข้อตกลง CPTPP ได้กลายเป็นข้อตกลงที่มีประเทศสมาชิกที่เป็นประเทศมหาอำนาจเข้าร่วมที่ต้องการธำรงระเบียบทางการค้าโลกที่เปิดกว้างบนพื้นฐานของกฎหมายและมาตรฐานที่สามารถแข่งขันอย่างยุติธรรมกับคู่แข่งเศรษกิจรายใหญ่ เช่น สหรัฐ จีนและอียู ดังนั้น นาง Minako Morita-Jaeger เผยว่า การที่อังกฤษเข้าร่วมข้อตกลงนี้นำผลประโยชน์ที่มากกว่าด้านเศรษฐกิจมาให้และอังกฤษอาจมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันให้แก่ข้อตกลง CPTPP ซึ่งอังกฤษจะเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ช่วยให้ข้อตกลง CPTPP ปกป้องคุณค่าของการค้าเสรีบนพื้นฐานของกฎหมาย ช่วยให้กลุ่มสร้างสถานะที่สมดุลมากขึ้นกับคู่แข่งด้านเศรษฐกิจ การเข้าร่วมของอังกฤษช่วยให้ข้อตกลง CPTPP ขยายบรรยากาศเศรษฐกิจไปยังนอกภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก สร้างพื้นฐานเพื่อให้ประเทศต่างๆขอเข้าเป็นสมาชิกเมื่อเห็นว่า ไม่ว่าอยู่ในที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ใด ประเทศต่างๆ ก็สามารถจเข้าเป็นสมาชิกของข้อตกลง CPTPP ได้ถ้าหากสามารถปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของข้อตกลง นาง Minako Morita-Jaeger เผยว่า
“ถ้าดูในมุมมองนโยบายการค้าระหว่างประเทศ ดิฉันเห็นว่า ข้อกำหนดของ CPTPP อาจกลายเป็นตัวอย่างให้แก่กฎหมายของลัทธิพหุภาคี การที่ CPTPP เพิ่มจำนวนสมาชิกจะสร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่การเพิ่มความร่วมมือพหุภาคีของ CPTPP และองค์การอื่นๆ เช่น องค์การค้าโลก อาจกล่าวได้ว่า การที่อังกฤษเข้าเป็นสมาชิกของข้อตกลง CPTPP จะสร้างพื้นฐานที่ดีให้แก่การรับสมาชิกใหม่ของกลุ่ม”
แต่อย่างไรก็ดี ความท้าทายในอนาคตต่อข้อตกลง CPTPP ยังมีความซับซ้อน จากการเป็นข้อตกลงที่มีประเทศสมาชิกที่มีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและระบบการเมืองที่แตกต่างกัน การที่ CPTPP สามารถธำรงคุณค่าและมาตรฐานในกระบวนการรับสมัครสมาชิกใหม่หรือไม่ ยังคงเป็นสิ่งที่สร้างความถกเถียง โดยเฉพาะในสภาวการณ์ที่มีหลายประเทศและดินแดนยื่นเอกสารขอเข้าเป็นสมาชิก นาง Wendy Cutler รองประธานสถาบันนโยบาย Asia Society ของอังกฤษเห็นว่า หนึ่งในสิ่งที่บรรดาประเทศสมาชิก CPTPP ต้องเห็นพ้องคือ การเลิกรอให้สหรัฐกลับเข้าร่วมข้อตกลง และต้องปรับปรุงข้อกำหนดของข้อตกลงให้สอดคล้องกับสถานการณ์การค้าโลกในปัจจุบัน ในการพบปะเมื่อปลายปีที่แล้ว ณ เมืองซานฟรานซิสโก นอกรอบการประชุมสุดยอดฟอรั่มเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกหรือเอเปก บรรดาสมาชิก CPTPP ได้หารือเกี่ยวกับการยกระดับข้อตกลงและนาง Wendy Cutler เห็นว่า ต้องปฏิบัติสิ่งนี้โดยเร็วในสภาวการณ์ที่การเมืองและเศรษฐกิจในทั่วโลกมีความผันผวน.