รายงานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยโลกประจำปีของอียูมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเวียดนาม

กลุ่มนักข่าววีโอวี
Chia sẻ
(VOVWORLD) - เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม สหภาพยุโรป หรือ อียูได้ประกาศรายงานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยโลกประจำปี 2023 โดยถึงแม้ได้ระบุถึงผลสำเร็จและพัฒนาการของเวียดนามในการปกป้องสิทธิมนุษยชน แต่ก็ระบุถึงข้อสังเกตที่ขาดภาวะวิสัยที่อ้างอิงข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานการณ์ในเวียดนาม
รายงานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยโลกประจำปีของอียูมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเวียดนาม - ảnh 1เวียดนามให้ความสนใจและค้ำประกันสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและสิทธิเสรีภาพด้านสื่อมวลชนสำหรับประชาชนทุกคน

รายงานของอียูระบุว่า ขอบเขตของสังคมพลเรือนในเวียดนามนับวันลดลง โดยได้เรียกร้องให้เวียดนามปล่อยตัวผู้ที่ถูกควบคุมตัวในข้อกล่าวหาว่า ละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

ข้อสังเกตที่ขาดภาวะวิสัย

รองศ.ดร.หว่างหุ่งหาย รองหัวหน้าสถาบันสิทธิมนุษยชนได้เผยว่า ในเวียดนาม ไม่มีการจัดตั้งกลุ่มนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน โดยประชาชนทุกคนล้วนมีหน้าที่ส่งเสริมและค้ำประกันสิทธิมนุษยชนอย่างเข้มแข็ง ซึ่งก็เหมือนกับประเทศต่างๆในทั่วโลก เวียดนามมีระบบกฎหมายเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน ต่อต้านการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยมีการลงโทษการกระทำผิดอย่างเคร่งครัดตามกฎหมาย สนับสนุนการให้ความเคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชน ดังนั้น การที่มีคนบอกว่า เวียดนามปราบปรามนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องและไม่สอดคล้องกับกระบวนการค้ำประกันสิทธิมนุษยชนในเวียดนามในปัจจุบัน

เวียดนามให้ความสนใจและค้ำประกันสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและสิทธิเสรีภาพด้านสื่อมวลชนสำหรับประชาชนทุกคน แต่การปฏิบัติสิทธิเหล่านี้ต้องอยู่ภายใต้กรอบขอบเขตของกฎหมาย ซึ่งห้ามใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเพื่อทำลายเกียรติยศ ศักดิ์ศรีและชื่อเสียงของผู้อื่น โฆษกกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม ฝ่ามทูหั่ง ได้ย้ำว่า

การปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนคือนโยบายที่เสมอต้นเสมอปลายของเวียดนาม โดยเวียดนามถือมนุษย์เป็นศูนย์กลางและเป็นพลังขับเคลื่อนให้แก่กระบวนการเปลี่ยนแปลงใหม่และภารกิจการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม พยายามยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่และการได้รับประโยชน์จากสิทธิเสรีภาพในด้านต่างๆที่ถูกระบุในรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ซึ่งได้รับการค้ำประกันการปฏิบัติอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ โดยความพยายามและผลสำเร็จในการค้ำประกันสิทธิมนุษยชนของเวียดนามได้รับการชื่นชมจากประชาคมโลก”

ความจริงที่มีชีวิตชีวา

ในทางเป็นจริง การปฏิบัติสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรมในเวียดนามเป็นการปฏิบัติตามอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เวียดนามได้ลงนาม โดยจนถึงปัจจุบัน เวียดนามได้ให้สัตยาบันและเข้าร่วมอนุสัญญาพื้นฐาน 7 ฉบับจากทั้งหมด 9 ฉบับของสหประชาชาติเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและอนุสัญญา 25 ฉบับขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ซึ่งไม่น้อยกว่าประเทศอื่นๆในโลก แม้แต่สหรัฐเองก็เป็นประเทศเดียวในโลกที่ยังไม่ให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กปี 1989 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมปี 1966

ส่วนในการประชุมเกี่ยวกับรายงานแห่งชาติตามกลไกการตรวจสอบเป็นประจำหรือ UPR รอบที่ 4 ให้แก่สภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ณ เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นาย โด๊ะหุ่งเหวียด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามได้ยืนยันว่า จากการที่เคยติดในกลุ่มประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก เวียดนามก็ได้กลายเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วที่สุด โดยในช่วงปี 1989 -2023 จีดีพีเฉลี่ยต่อหัวประชากรของเวียดนามได้เพิ่มขึ้น 40 เท่า ส่วนในช่วงปี 1993 – 2023 มีประชากรกว่า 40 ล้านคนที่สามารถหลุดพ้นจากความยากจน การพัฒนากลไกสื่อสารมวลชน อินเตอร์เน็ตและโซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างรวดเร็วได้ช่วยขยายเสรีภาพด้านสื่อมวลชน เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล ซึ่งปัจจุบัน เวียดนามมีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตกว่า 78 ล้านคนและประชากรร้อยละ 99.8 สามารถเข้าถึงระบบ 4G

ทั้งนี้ ความพยายามค้ำประกันสิทธิมนุษยชนของเวียดนามได้รับการชื่นชมจากประชาคมโลก โดยในการเยือนเวียดนามเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นาย Pallab Sengupta  ประธานสภาสันติภาพโลกได้ให้ข้อสังเกตว่า

รัฐบาลเวียดนามรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อตอบสนองความต้องการและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น  ซึ่งเวียดนามกำลังทำในสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อค้ำประกันสิทธิมนุษยชน ผมชื่นชมความพยายามเหล่านี้ของเวียดนาม โดยแม้จะมีความท้าทายต่างๆ แต่สิ่งที่ชัดเจนก็คือ พรรคและรัฐเวียดนามกำลังพยายามแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ”

สิทธิมนุษยชนคือปัญหาของประเทศต่างๆทั่วโลก โดยแต่ละประเทศและประชาชาติมีเอกลักษณ์วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และบรรทัดฐานทางสังคมที่แตกต่างกัน การนำมาตรฐานของประเทศหนึ่งมาใช้กับประเทศอื่นเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมและเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของประเทศนั้นๆ ซึ่งขัดกับข้อกำหนดของสหประชาชาติ ซึ่งการที่อียูระบุถึงข้อสังเกตที่ขาดภาวะวิสัยโดยอ้างอิงข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานการณ์ในเวียดนามเป็นสิ่งที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง.

คำติชม