ฟอรั่มเศรษฐกิจโลก 2023 ร่วมมือเพื่อฟันฝ่าวิกฤต

Ba Thi- VOV5
Chia sẻ

(VOVWORLD) -เมื่อวันที่ 16 มกราคม ณ เมืองดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ได้มีการจัดการประชุมฟอรั่มเศรษฐกิจโลกหรือ WEF ครั้งที่ 53 ภายใต้หัวข้อ “Cooperation in a Fragmented World” หรือ “ความร่วมมือในโลกที่แตกแยก” โดยที่ประชุมมีภาระหน้าที่คือส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและผลักดันมาตรการเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจโลกฟันฝ่าอุปสรรคและความท้าทายในปัจจุบัน

ฟอรั่มเศรษฐกิจโลก 2023 ร่วมมือเพื่อฟันฝ่าวิกฤต - ảnh 1ศาสตราจารย์  Klaus Schwab ผู้ก่อตั้งและประธานฝ่ายผู้บริหาร WEF (Photo: AP)

การประชุม WEF ครั้งที่ 53 มีขึ้นในระหว่างวันที่ 16-17 มกราคม โดยมีการเข้าร่วมของนักการเมือง ผู้กำหนดนโยบายและผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและเศรษฐกิจระหว่างประเทศประมาณ 2,700 คน ซึ่งเป็นกิจกรรมระดับโลกที่น่าสนใจที่สุดในระยะปัจจุบันเมื่อโลกกำลังต้องเผชิญกับอุปสรรคและความท้าทายนานัปการ โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ

สภาวการณ์ที่เต็มไปด้วยความท้าทายต่อเศรษฐกิจโลก

การประชุม WEF ครั้งที่ 53 มีขึ้นในสภาวการณ์ที่โลกกำลังต้องเผชิญกับความท้าทายและวิกฤตต่างๆ   ซึ่งเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่หลังจากที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด –19 ก็ต้องเผชิญกับความไร้เสถียรภาพอื่นๆ โดยเฉพาะการปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครน ซึ่งทำให้อุปสรรคต่อเศรษฐกิจโลกหนักหน่วงเพิ่มมากขึ้น ทำให้การขยายตัวช้าลง อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อด้านต่างๆในระดับโลก โดยเฉพาะพลังงาน อาหาร ห่วงโซ่อุปทาน การผลิตและการเดินทาง เป็นต้น ซึ่งวิกฤตต่างๆทำให้สถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์เกิดความแตกแยกอย่างลึกซึ้ง  ในการกล่าวปราศรัยเปิดการประชุม ศาสตราจารย์  Klaus Schwab ผู้ก่อตั้งและประธานฝ่ายผู้บริหาร WEF ได้ชี้ชัดว่า กองกำลังการเมือง เศรษฐกิจและสังคมที่หลากหลายกำลังสร้างความแตกแยกที่นับวันเพิ่มมากขึ้นทั้งในระดับประเทศและโลก”

บรรดาผู้เชี่ยวชาญและสถาบันการเงิน-เศรษฐกิจระหว่างประเทศได้เผยว่า สถานการณ์นี้กำลังสร้างความท้าทายต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลก เมื่อวันที่ 15 มกราคม ก่อนการเปิดการประชุม WEF ครั้งที่  53 หนึ่งวัน  กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ได้ประกาศรายงานที่ระบุว่า สถานการณ์ความแตกแยกอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจโลกภายหลังหลายทศวรรษที่ผลักดันการผสมผสานอาจทำให้ผลผลิตทางเศรษฐกิจโลกลดลงถึง 7% และอาจสูงถึง 8-12% ในบางประเทศ   และแม้มีกการควบคุมให้การแบ่งแยกอยู่ในระดับที่จำกัดก็สามารถทำให้จีดีพีโลกลดลง 0.2%  

ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 1 มกราคม นาง Kristalina Georgieva  ผู้อำนวยการใหญ่  IMF ให้ข้อสังเกตว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2023 จะต้องเผชิญกับอุปสรรคนานัปการเมื่อพลังขับเคลื่อนหลักของการขยายตัวเศรษฐกิจโลกอ่อนแอลง  ซึ่งเศรษฐกิจใหญ่ เช่น สหรัฐ ยุโรปและจีนกำลังชะลอตัว  ซึ่งผลที่ตามมาคือหนึ่งใน 3 เศรษฐกิจโลกได้รับการพยากรณ์ว่า จะตกเข้าสู่ภาวะถดถอย ส่วนเศรษฐกิจสมาชิกครึ่งหนึ่งของสหภาพยุโรปหรืออียูกำลังตกเข้าสู่ภาวะถดถอย

ผลักดันความร่วมมือเพื่อฟันฝ่าวิกฤต

บรรดาผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศเห็นว่า การที่ WEF เลือกหัวข้อ หรือ “ความร่วมมือในโลกที่แตกแยก” ให้แก่การประชุมครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ที่เต็มไปได้วยความท้าทายของเศรษฐกิจโลก แต่อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าสนใจกว่าก็คือ หัวข้อนี้ส่งสารที่ชัดเจนว่า มีเพียงความร่วมมือและการผลักดันความร่วมมือเท่านั้นที่อาจช่วยให้เศรษฐกิจโลกและแต่ละเศรษฐกิจสมาชิกฟันฝ่าอุปสรรคและความท้าทายในปัจจุบัน

ในสถานการณ์ที่เป็นจริง ระเบียบวาระการประชุมปีนี้เน้นถึงมาตรการต่างๆและความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนเพื่อแก้ไขความท้าทายที่เร่งด่วนของโลก โดยที่ประชุมเน้นหารือเกี่ยวกับหัวข้อหลัก เช่น วิกฤตพลังงานและอาหารในสภาวการณ์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำ ปัญหาหนี้สาธารณะและภัยคุกคามเกี่ยวกับการถดถอยเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงแขนงอาชีพและการพัฒนาอุตสาหกรรมในยุคเทคโนโลยีใหม่ การขาดแคลนแรงงานฝีมือดี ความไม่เท่าเทียมทางรายได้และตลาดแรงงานสตรี การปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครนและความผันผวนทางภูมิรัฐศาสตร์ ปัญหาการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการฟื้นฟู ก็เป็นหัวข้อที่ได้รับการหยิบยกขึ้นมาหารือในการประชุมนี้

สิ่งที่น่าสนใจคือในการประชุมต่างๆและกิจกรรมนอกรอบการประชุม บรรดาผู้นำโลกได้ส่งเสริมความร่วมมือกันเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องด้านพลังงาน สภาพอากาศและธรรมชาติ การลงทุน การค้าและโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีที่ทันสมัยและการฟื้นฟูของหน่วยงาน งานทำ ทักษะความสามารถและสุขภาพ ความร่วมมือด้านภูมิรัฐศาสตร์ในโลกที่มีหลายขั้ว ศาสตราจารย์  Klaus Schwab เผยว่า เพื่อแก้ไขต้นเหตุของการลดความไว้วางใจในโลก   ต้องผลักดันความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับสถานประกอบการ อำนวยความสะดวกให้แก่การฟื้นฟูอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน  อีกทั้ง ต้องตระหนักว่า การพัฒนาเศรษฐกิจต้องมีความคล่องตัวและยั่งยืนมากขึ้นและไม่ปล่อยให้ใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง.


คำติชม