(VNA) |
จากการปฏิบัติยุทธศาสตร์แห่งชาติเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศในช่วงปี 2011-2020 เวียดนามได้บรรลุความสำเร็จที่น่าประทับใจ ซึ่งมีส่วนร่วมลดช่องว่างทางเพศในทุกด้าน อำนวยความสะดวกเพื่อให้สตรีมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งต่อกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
พื้นฐานที่มั่นคง
ตามรายงานการพัฒนามนุษย์ประจำปี 2020 ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติหรือ UNDP ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของเวียดนามหรือ HDI อยู่ที่ 0.704 เพิ่มขึ้น 1 ระดับเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และอยู่อันดับที่ 117 จาก 189 ประเทศและดินแดน อีกทั้งเป็นครั้งแรกที่เวียดนามติดกลุ่มประเทศที่มีดัชนี HDI อยู่ในระดับสูง นอกจากนั้น ช่องว่างด้านรายได้ที่อยู่ที่ร้อยละ 19.1 และดัชนีสัมประสิทธิ์จินี (Gini) ที่อยู่ที่ 35.7 ยังเป็นตัวชี้วัดความไม่เท่าเทียมกันของเวียดนามว่าอยู่ในระดับต่ำที่สุดในบรรดาประเทศที่ได้รับการเปรียบเทียบเมื่อปี 2019 ซึ่งนี่เป็นความสำเร็จที่ไม่ใช่ทุกประเทศที่มีรายได้ระดับปานกลางจะสามารถบรรลุได้
ผลงานที่ได้บรรลุยังถูกระบุในแง่ของการลดช่องว่างทางเพศในด้านเศรษฐกิจ แรงงานและงานทำ การยกระดับสิทธิอำนาจทางเศรษฐกิจของสตรี การผลักดันการเข้าถึงแหล่งพลังด้านเศรษฐกิจและตลาดของสตรียากจนในพื้นที่ชนบทและสตรีชนกลุ่มน้อยและการเน้นพัฒนาสตรีที่มีศักยภาพสูง ผลการสำรวจสำมะโนประชากรและเคหะปี 2021ของทบวงสถิติได้แสดงให้เห็นว่า สตรีมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 47.3 ของกองกำลังแรงงานหลักของประเทศ มีสถานประกอบการกว่า 285,000 แห่งที่มีสตรีเป็นผู้บริหาร คิดเป็นร้อยละ 24 ของจำนวนสถานประกอบการทั่วประเทศ อัตราสตรีในช่วงอายุ 15-60 ปี ที่รู้หนังสือ บรรลุกว่าร้อยละ 97 อัตราสตรีที่เรียนจบระดับปริญญาตรีบรรลุกว่าร้อยละ 54 และปริญญาเอกบรรลุประมาณร้อยละ 31
ที่น่าสนใจคือ ในช่วงปี 2011-2020 เนื้อหาเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศได้รับการเพิ่มเติมและระบุในเอกสารกฎหมายสำคัญหลายฉบับของเวียดนาม เช่น รัฐธรรมนูญปี 2013 กฎหมายที่ดิน 2013 กฎหมายว่าด้วยการสมรสและครอบครัวฉบับแก้ไข 2014 กฎหมายเกี่ยวกับการประกาศใช้เอกสารทางกฎหมาย2015 ประมวลกฎหมายอาญา 2015 ประมวลกฎหมายแพ่งฉบับแก้ไข และประมวลกฎหมายแรงงาน 2019 นอกจากนี้ ยังมีนโยบายที่เป็นก้าวกระโดดต่างๆ เช่น ข้อกำหนดของกฎหมายการประกันสังคม 2014 โดยลูกจ้างที่เป็นผู้ชายที่จ่ายเงินประกันสังคมมีสิทธิได้รับค่าจ้างเต็มจำนวนและเบี้ยเลี้ยงเมื่อภรรยาคลอดบุตร หรือเพิ่มอายุเกษียรของสตรีตามประมวลกฎหมายแรงงาน2019 ฉบับแก้ไข ความสำเร็จนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นทางการเมืองที่เข้มแข็งของพรรคและรัฐเวียดนามเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศและความก้าวหน้าในงานด้านนิติบัญญัติในปัจจุบันและอนาคต
ด้วยความพยายามของทั้งระบบการเมือง ภายหลัง 10 ปีของการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ความเสมอภาคทางเพศ เวียดนามได้บรรลุผลงานที่น่าประทับใจ ซึ่งมีส่วนร่วมลดช่องว่างทางเพศในทุกด้าน อำนวยความสะดวกเพื่อให้สตรีและเด็กหญิงมีส่วนร่วมต่อกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเฉพาะ ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติสมัยที่ 15และสภาประชาชนทุกระดับวาระปี 2021-2026 โดยอัตราผู้แทนสภาแห่งชาติสตรีบรรลุร้อยละ 30.26 และสตรีเกือบร้อยละ 30 เป็นสมาชิกสภาประชาชนทุกระดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พรรคและรัฐกำลังพยายามปฏิบัติความเสมอภาคทางเพศและให้อำนาจให้แก่สตรีเวียดนาม
เดินหน้าลดช่องว่างทางเพศ
เพื่อลดช่องว่างทางเพศ เมื่อวันที่ 3 มีนาคมปี 2021 รัฐบาลเวียดนามได้ออกยุทธศาสตร์ระดับชาติว่าด้วยความเสมอภาคทางเพศในช่วงปี 2021-2030 อำนวยความสะดวกเพื่อให้สตรีและผู้ชายเข้าร่วมและได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกันในทุกด้านของชีวิตสังคม มีส่วนร่วมต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เป้าหมาย 6 ประการของยุทธศาสตร์นี้ระบุทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ แรงงาน ชีวิตครอบครัว และการป้องกันและการแก้ไขการใช้ความรุนแรงบนพื้นฐานทางเพศ ในด้านสาธารณสุข การศึกษาและฝึกอบรม การสื่อสารและประชาสัมพันธ์เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายต่างๆ เช่น จนถึงปี 2025 สำนักงานบริหารภาครัฐและทางการปกครองท้องถิ่นทุกระดับมีผู้บริหารที่เป็นสตรีร้อยละ 60 และภายในปี 2030 จะบรรลุร้อยละ 75 อัตราแรงงานสตรีที่มีเงินเดือนบรรลุร้อยละ 50 ภายในปี 2025 และร้อยละ 60 ภายในปี 2030 และประชาชนที่มีความรู้ขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศ บรรลุร้อยละ 60 ภายในปี 2025 และร้อยละ 80 ภายในปี 2030
เวียดนามยังได้ประกาศใช้แผนการปฏิบัติยุทธศาสตร์แห่งชาติเกี่ยกับความเสมอภาคทางเพศ รวมทั้งการผลักดันการนำและการชี้นำของพรรคสาขาทุกระดับ ความรับผิดชอบในการบริหารของทางการปกครองทุกระดับในการยกระดับจิตสำนึก การปฏิบัติและปรับปรุงกลไกความเสมอภาคทางเพศให้มีความสมบูรณ์ ปรับปรุงระบบนโยบาย กฎหมายที่ค้ำประกันหลักการของความเสมอภาคทางเพศในด้านที่เกี่ยวข้อง สอดแทรกเนื้อหาความเสมอภาคทางเพศในการจัดทำนโยบาย กฎหมาย โครงการ ยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ควบคู่กันนั้นคือการจัดทำและปฏิบัติโครงการเพื่อผลักดันการปฏิบัติความเสมอภาคทางเพศ การป้องกันและรับมือการใช้ความรุนแรงทางเพศ ผลักดันงานด้านการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มความตระหนักของประชาชนทุกชนชั้นเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศ เสริมสร้างความสามารถของสำนักงานบริหารภาครัฐเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศในทุกระดับ
ความสนใจของพรรคและรัฐ การจัดทำและการประกาศใช้กรอบทางนิตินัยอย่างสมบูรณ์ ทั้งรัฐธรรมนูญ กฎหมายต่าง ๆ ไปจนถึงการสอดแทรกเป้าหมายความเสมอภาคทางเพศในกลไก นโยบายพัฒนากำลังอำนวยความสะดวกเพื่อให้สตรีเข้าร่วมการสร้างสรรค์ประเทศ พัฒนาตนเองและส่งเสริมเป้าหมายความเสมอภาคทางเพศในเวียดนาม.