พิธีบวงสรวงบรรพกษัตริย์หุ่ง – เอกลักษณ์วัฒนธรรมที่ทำนุบำรุงจิตใจของคนเวียดนาม

Le Phuong - Viet Cuong - VOV
Chia sẻ
(VOVworld) – วันสักการะบุชาบรรพกษัตริย์หุ่งเป็นวันงานแห่งชาติเวียดนาม ซึ่งอยู่ในใจของคนเวียดนามอยู่เสมอ แม้จะพำนักที่ไหนแต่เมื่อถึงวันที่ 10 เดือนสามตามจันทรคตี ชาวเวียดนามทุกคนต่างมุ่งใจสู่ผืนดินแห่งรากเหง้าที่บริเวณเขตอนุสรณ์สถานประวัติศาสตร์วิหารหุ่งที่ตำบลอีเกือง อำเภอเลิมทาว จังหวัดฟู้เถาะ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคีชนทั้งชาติของเวียดนาม

(VOVworld) – วันสักการะบุชาบรรพกษัตริย์หุ่งเป็นวันงานแห่งชาติเวียดนาม ซึ่งอยู่ในใจของคนเวียดนามอยู่เสมอ แม้จะพำนักที่ไหนแต่เมื่อถึงวันที่ 10 เดือนสามตามจันทรคตี ชาวเวียดนามทุกคนต่างมุ่งใจสู่ผืนดินแห่งรากเหง้าที่บริเวณเขตอนุสรณ์สถานประวัติศาสตร์วิหารหุ่งที่ตำบลอีเกือง อำเภอเลิมทาว จังหวัดฟู้เถาะ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคีชนทั้งชาติของเวียดนาม

พิธีบวงสรวงบรรพกษัตริย์หุ่ง – เอกลักษณ์วัฒนธรรมที่ทำนุบำรุงจิตใจของคนเวียดนาม  - ảnh 1
พิธีบวงสรวงบรรพกษัตริย์หุ่ง – เอกลักษณ์วัฒนธรรมที่ทำนุบำรุงจิตใจของคนเวียดนาม

งานสักการะบรรพกษัตริย์หุ่งและเทศกาลวิหารหุ่งเป็นกิจกรรมประจำปีที่จัดขึ้น ณ วิหารบรรพกษัตริย์หุ่งในจังหวัดฟู้เถาะเพื่อให้การศึกษาเกียรติประวัติแห่งความรักชาติคือดื่มน้ำต้องนึกถึงแหล่งที่มาของน้ำต่อคนเวียดนามทุกรุ่นให้สำนึกในบุญคุณต่อคุณูปการของบรรพกษัตริย์หุ่งในการสร้างชาติและการต่อต้านศัตรูผู้รุกรานเพื่อปกป้องชาติบ้านเมืองของบรรพบุรุษ ดังนั้น พิธีบวงสรวงบรรพกษัตริย์หุ่งจึงเป็นวันงานของทั้งประชาชาติเวียดนาม

รากเหง้าแห่งความสามัคคีชนในชาติ
ยุคของบรรพกษัตริย์หุ่งเป็นยุคที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของเวียดนาม ซึ่งได้สร้างชาติ สร้างวัฒธรรมและเกียรติประวัติแห่งความรักชาติของคนเวียดนาม วันสักการะบรรพกษัตริย์หุ่งเป็นวันงานแห่งชาติเวียดนาม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคติประจำใจของคนเวียดนามคือ “ดื่มน้ำต้องนึกถึงแหล่งที่มาของน้ำ” “กินผลต้องนึกถึงผู้ปลูก” ในโลกนี้อาจไม่มีประเทศใดที่มีประชาชนมาจากรากเหง้าเดียวกันและมีวันบวงสรวงผู้ที่สร้างชาติเหมือนประชาชาติเวียดนาม จากตำนานเกี่ยวกับการที่เจ้าแม่เอิวเกอมีประสูติกาลเป็นไข่ร้อยฟอง แล้วออกมากลายเป็นลูก 100 คน 50คนลงทะเลตามบิดาคือพญามังกรหลากลองกวน และอีก 50 คนตามมารดา ซึ่งเป็นนางฟ้าเดินทางเข้าป่า ได้ปลูกฝังจิตสำนึกเกี่ยวกับความเป็นประชาชาติ เป็น “ด่งบ่าว” และความผูกพันธ์กันอย่างเหนียวแน่นของชาวเวียดนามโดยความหมายของคำว่า “ด่งบ่าว” คือการที่ออกมาจากไข่ร้อยฟองเดียวกัน เป็นจุดเริ่มต้นแห่งความรักใคร่และพลังอันเข้มแข็งของเวียดนาม นางแคธเทอร์ริน มูลเลอร์ มาริน หัวหน้าสำนักงานตัวแทนองค์การยูเนสโกประจำเวียดนามได้เผยว่า “ชาวเวียดนามเชื่อว่า พวกเขามาจากไข่ร้อยฟองอันศักดิ์สิทธิ์ของนางฟ้าเอิวเกอ ซึ่งมีรากเหง้าเดียวกัน ดังนั้นพิธีเส้นไหว้สักการะบูชาบรรพกษัตริย์หุ่งเป็นคำสอนเกี่ยวกับบทบาทสำคัญของความสามัคคีและความเป็นเอกฉันท์ พร้อมทั้งความสำคัญของการรับรองคุณค่าวัฒนธรรมที่หลากหลายในความเป็นเอกฉันท์เพราะมีรากเหง้าเดียวกัน ความสัมพันธ์ของคนในสายเลือดเดียวกันที่เกิดจากความรักระหว่างพญามังกรหลากลองกวนกับนางฟ้าเอิวเกอ ความเชื่อนี้จะผนึกชาวเวียดนามรุ่นแล้วรุ่นเล่าเข้าด้วยกันอย่างแน่นแฟ้นเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมอันหลากหลายของชาติ”
จากพื้นฐานแห่งประวิตศาสตร์นั้น โอวาทของประธานโฮจิมินห์ในโอกาสพูดคุยกับกองทัพเดินหน้าเมื่อวันที่ 19 กันยายนปี 1954 ที่วิหารหุ่งความว่า “บรรพกษัตริย์หุ่งมีคุณูปการในการสร้างชาติ เราทุกคนต้องร่วมกันปกป้องชาติให้ได้” ยังคงฝังลึกในหัวใจของคนเวียดนามรุ่นแล้วรุ่นเล่า
ถ้าหากมองในแง่สังคม คุณค่าของความเลื่อมใสศรัทธาในการบูชาบรรพกษัตริย์หุ่งได้แสดงให้เห็นถึงการรักษาความเชื่อมโยงของชุมชนและความสามัคคีชนในชาติ  เมื่อเดือนธันวาคมปี 2012 ยูเนสโกได้รับรองความเลื่อมใสศรัทธาในการบูชาบรรพกษัตริย์หุ่งเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมแห่งมนุษยชาติ โดยระบุอย่างชัดเจนว่า “ความเลื่อมใสศรัทธาในการบูชาบรรพกษัตริย์หุ่งได้แสดงให้เห็นถึงความเคารพต่อบรรพบุรุษและจากนั้นได้ยกระดับเป็นความภาคภูมิใจเกี่ยวกับประชาชาติและความเชื่อมโยงในชุมชนชาวเวียดนามทั้งประเทศ”
พิธีบวงสรวงบรรพกษัตริย์หุ่ง – เอกลักษณ์วัฒนธรรมที่ทำนุบำรุงจิตใจของคนเวียดนาม  - ảnh 2
จุดธูปเพื่อแสดงความเคารพต่อบรรพกษัตริย์หุ่ง 
การเชื่อมโยงคนเวียดนามตั้งแต่จิตใจถึงการปฏิบัติ
วิหารหุ่งถือเป็นจุดชุมนุมของคนเวียดนามจากทั่วสารทิศในวันที่ 10 เดือน 3 ตามจันทรคติ ซึ่งเป็นโบราณสถานที่มีคุณค่าพิเศษของชาวเวียดนามและเป็นสัญลักษณ์ของบรรพบุรุษเวียดนามที่มีเกียรติประวัติอันรุ่งโรจน์ในการสร้างสรรค์และพิทักษ์รักษาปิตุภูมินับพันปี ในวันบวงสรวงบรรพกษัตริย์หุ่ง ชาวเวียดนามจากทั่วสารทิศและชมรมชาวเวียดนามที่อาศัยในต่างประเทศต่างเข้าร่วมกิจกรรมวัฒนธรรมเพื่อแสดงความเคารพต่อบรรพกษัตริย์หุ่งผู้ที่สร้างชาติและบรรพบุรุษที่ได้สร้างสรรค์และปกป้องประเทศ โดยวิหารหุ่งที่ภูเหงียะหลิง จังหวัดฟู้เถาะและวิหารบรรพกษัตริย์หุ่งในท้องถิ่นต่างๆทั่วประเทศและในต่างประเทศได้กลายเป็นที่พึ่งอันมั่นคงทางจิตวิญญาณ เป็นศูนย์รวมความศรัทธาและความเชื่อมั่นของชาวเวียดนามทุกคน ดังนั้นถ้าหากเป็นคนเวียดนาม ทุกคนต่างมีความปรารถนาที่จะได้เดินทางถึงผืนแผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์ฟู้เถาะเพื่อจุดธูปสักการะบรรพกษัตริย์หุ่ง นางเกี่ยวแอง มาจากจังหวัดกว๋างบิ่งเผยว่า นี่เป็นครั้งแรกที่เธอได้มาเยือนผืนแผ่นดินของบรรพบุรุษ ซึ่งมีความรู้สึกเหมือนลูกหลานกลับไปเยือนบ้านเกิด “คนเวียดนามต้องหาโอกาสกลับผืนแผ่นดินของบรรพบุรุษ จุดธูปเพื่อแสดงความเคารพต่อบรรพกษัตริย์หุ่ง ดิฉันก็เหมือนทุกคนที่มาที่นี่ที่มีความยินดีและตื้นตันใจมากเมื่อได้ยืนอยู่ ณ ที่นี่”
ส่วนคุณเหงียนต๊วนแอง อาศัยที่ถนนมายฮั๊กเด๊ กรุงฮานอยเผยว่า “เราเป็นคนเวียดนามจึงต้องสำนึกถึงบุญคุณของผู้ที่สร้างชาติ แต่ละคนแสดงความเคารพแตกต่างกัน ส่วนผมเอง เมื่อถึงวันบูชาบรรพกษัตริย์หุ่งก็จะนำสิ่งของไปถวายบรรพบุรุษ ซึ่งที่ขาดไม่ได้ในวันนั้นคือขนมแบ๊งใหญ่ แบ๊งจึงหรือข้าวต้มมัดใหญ่และผลไม้ การเส้นไหว้นี้ได้กลายเป็นประเพณีของครอบครัวผมแล้ว”
คนเวียดนามมีคำที่มีความว่า “แม้คนเวียดนามจะไปทำมาหากินไกลแค่ไหนก็ยังคงจดจำและมาร่วมพิธีบวงสรวงบรรพกษัตริย์หุ่งในวันที่ 10 เดือน 3 ตามจันทรคติ” ถือเป็นสิ่งเตือนใจคนเวียดนามให้กลับมาเข้าร่วมพิธีสักการะบรรพกษัตริย์หุ่งด้วยความเคารพและการมุ่งใจสู่รากเหง้าของประชาชาติ ได้กลายเป็นความรักอันศักดิ์สิทธิ์และฝังลึกในใจของผู้ที่เป็นลูกหลานพญามังกรและนางฟ้ามาตราบเท่าทุกวันนี้./.

คำติชม