ผลจากคำสั่งคว่ำบาตรของสหประชาชาติต่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี

Hong Van - VOV5
Chia sẻ
(VOVworld) – การที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ประกาศมติคว่ำบาตรฉบับใหม่ต่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีถือเป็นท่าทีที่แข็งกร้าวที่สุดต่อเปียงยาง นักการเมืองและนักวิเคราะห์หลายประเทศได้แสดงความคิดเห็นว่า ขอบเขตและด้านที่ถูกคว่ำบาตรนั้นสามารถกดดันให้เปียงยางลดการเคลื่อนไหวที่สร้างความตึงเครียดในภูมิภาคและกลับมานั่งเจรจา 6 ฝ่าย แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ก็ทำได้ไม่ง่าย

(VOVworld) – การที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ประกาศมติคว่ำบาตรฉบับใหม่ต่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีถือเป็นท่าทีที่แข็งกร้าวที่สุดต่อเปียงยาง นักการเมืองและนักวิเคราะห์หลายประเทศได้แสดงความคิดเห็นว่า ขอบเขตและด้านที่ถูกคว่ำบาตรนั้นสามารถกดดันให้เปียงยางลดการเคลื่อนไหวที่สร้างความตึงเครียดในภูมิภาคและกลับมานั่งเจรจา 6 ฝ่าย แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ก็ทำได้ไม่ง่าย
ผลจากคำสั่งคว่ำบาตรของสหประชาชาติต่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี - ảnh 1
การประชุมของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (PhotoReuters)
มติ 2321 ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ความยาว 17 หน้า ที่เกี่ยวข้องถึงการทดลองนิวเคลียร์ครั้งที่ 5 เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งก็เป็นการทดลองนิวเคลียร์ครั้งใหญ่ที่สุดของเปียงยาง ได้รับการอนุมัติด้วยเสียงสนับสนุนอย่างท่วมท้นและเป็นมติคว่ำบาตรเปียงยางฉบับที่ 6 ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

เน้นคว่ำบาตรด้านที่มีรายได้สูงเป็นเงินตราต่างประเทศ

มติ 2321 มุ่งคว่ำบาตรเศรษฐกิจของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ดังนั้น 15 ประเทศสมาชิกของคณะมนตรีฯจึงได้ตัดสินใจคว่ำบาตรหน่วยงานถ่านหิน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่นำรายได้เข้าประเทศมากเป็นอันดับหนึ่งเพื่อยับยั้งไม่ให้เปียงยางส่งออกถ่านหินที่คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือ 7.5 ล้านตันต่อปี ทำให้ปริมาณการส่งออกถ่านหินของเปียงยางลดลงกว่าร้อยละ 60ต่อปีเนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมส่งออกที่มรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศมากที่สุดของเปียงยาง

นอกจากนี้ มติฯยังเพิ่มรายการแร่ธาตุอื่นๆ เช่น ทองแดง นิกเกิล เงินและสังกะสีเข้าในรายชื่อสินค้าที่ห้ามส่งออกจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี เพิ่มความเข้มงวดในการเดินเรือและการเงินของเปียงยาง คาดว่า คำสั่งคว่ำบาตรใหม่นี้จะทำให้เปียงยางสูญเสียรายได้ประมาณ 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี

ควบคู่กับปัญหาเศรษฐกิจ มติฉบับใหม่ยังคว่ำบาตรต่อเจ้าหน้าที่และองค์กรต่างๆของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีที่ถูกสงสัยว่า เกี่ยวข้องกับโครงการนิวเคลียร์ของประเทศนี้ โดยห้ามไม่ให้เดินทางออกนอกประเทศและถูกอายัดทรัพย์สิน ตลอดจนห้ามให้การอุปถัมภ์กิจกรรมทางการค้ากับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีและเรียกร้องให้เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบสินค้าของเปียงยาง

สหประชาชาติยังเรียกร้องให้ทุกประเทศสมาชิกลดจำนวนเจ้าหน้าที่ทางการทูต จำกัดจำนวนบัญชีธนาคารของเจ้าหน้าที่ทางการทูตของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีที่ประจำการในประเทศตน พร้อมทั้งยังเตือนว่า อาจระงับสมาชิกภาพของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีถ้าหากยังคงละเมิดคำสั่งคว่ำบาตรอย่างต่อเนื่อง

เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำสหประชาชาติ ซาแมนธา พาวเวอร์ เผยว่า สหรัฐตั้งความหวังในผลสำเร็จของมติฉบับใหม่นี้เพราะเป็นมติคว่ำบาตรที่เข้มงวดที่สุดต่อเปียงยาง ส่วนนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อาเบะ ได้ประเมินว่า มติ 2321 สะท้อนเป้าหมายของประชาคมระหว่างประเทศในการปฏิบัติมาตรการที่แข็งกร้าวมากขึ้นและในระดับที่ยิ่งใหญ่มากขึ้นเมื่อเทียบกับมติฉบับก่อนๆ

ผลจากคำสั่งคว่ำบาตรของสหประชาชาติต่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี - ảnh 2
สถานที่ทดลองนิวเคลียร์ของเปียงยาง (Photo EPA)
มติของสหประชาชาติมุ่งสู่การปลอดนิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลี

สหประชาชาติเริ่มประกาศคำสั่งคว่ำบาตรสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีเมื่อปี 2006 แต่นับตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน เปียงยางยังคงปฏิบัติโครงการนิวเคลียร์ต่อไปโดยไม่สนใจต่อคำสั่งคว่ำบาตรทั้งระดับพหุภาคีหรือเพียงฝ่ายเดียว โดยเปียงยางได้เพิ่มการทดลองขีปนาวุธข้ามทวีปและอาวุธนิวเคลียร์ โดยเฉพาะในเวลาที่ผ่านมา ตามข้อมูลสถิติ ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2016 เปียงยางได้ทดลองนิวเคลียร์ 2 ครั้งและทำการปล่อยขีปนาวุธีที่ใช้เทคโนโลยีขีปนาวุธข้ามทวีป 25 ครั้ง รวมทั้งการปล่อยดาวเทียม การปล่อยขีปนาวุธข้ามทวีปจากเรือดำน้ำและขีปนาวุธพิสัยกลาง นายบันคีมูน เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติได้ย้ำว่า จำนวนการปล่อยขีปนาวุธของเปียงยางในปีนี้มากเป็นประวัติการและเป็นภัยคุกคามอย่างมากต่อความมั่นคงของภูมิภาคและกลไกการห้ามเผยแพร่อาวุธนิวเคลียร์ในทั่วโลก ทั้งนี้ทำให้นายบันคีมูนต้องเรียกร้องให้ทุกประเทศปฏิบัติมติ 2321 อย่างจริงจัง เพราะนี่คือมาตรการหลักเพื่อรับมือกับความท้าทายด้านความมั่นคงบนคาบสมุทรเกาหลีและภูมิภาคอื่นๆ

หลังการหารือเป็นเวลา 3 เดือน ในที่สุด คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติก็ได้อนุมัติมติ 2321 ที่คว่ำบาตรอย่างเข้มงวดที่สุดต่อเปียงยาง แต่ยังเปิดโอกาสให้เปียงยางกลับนั่งมาเจรจาและปฏิบัติคำมั่นเกี่ยวกับการปลอดนิวเคลียร์ผ่านปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมที่ประชาคมระหว่างประเทศสามารถตรวจสอบได้.

คำติชม