ประเทศไทยจะกลับไปสู่ภาวะไร้เสถียรภาพอีกหรือไม่

Anh Huyen-VOV5
Chia sẻ
(VOVworld) – เหตุระเบิดที่เกิดขึ้น 2 ครั้งในกรุงเพทฯ โดยเฉพาะเหตุระเบิดในครั้งที่ 1 ได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก นี่ถือเป็นเหตุระเบิดที่รุนแรงที่สุดในประเทศไทยใน 2 ปีมานี้ ส่วนการสืบหาตัวผู้ก่อเหตุก็ยังคงดำเนินไปอย่างเร่งด่วน แต่ประชามติได้ตั้งคำถามว่า เหตุระเบิดที่เกิดขึ้นล่าสุดนี้เกี่ยวข้องถึงการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ ผ่านมาหรือไม่
(VOVworld) – เหตุระเบิดที่เกิดขึ้น 2 ครั้งในกรุงเพทฯ โดยเฉพาะเหตุระเบิดในครั้งที่ 1 ได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก นี่ถือเป็นเหตุระเบิดที่รุนแรงที่สุดในประเทศไทยใน 2 ปีมานี้ ส่วนการสืบหาตัวผู้ก่อเหตุก็ยังคงดำเนินไปอย่างเร่งด่วน แต่ประชามติได้ตั้งคำถามว่า เหตุระเบิดที่เกิดขึ้นล่าสุดนี้เกี่ยวข้องถึงการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ผ่านมาหรือไม่

ประเทศไทยจะกลับไปสู่ภาวะไร้เสถียรภาพอีกหรือไม่ - ảnh 1
เหตุระเบิดที่ศาลพระพรหมเอราวัณบริเวณสี่แยกราชประสงค์ในกรุงเทพฯ (Reuters)

ไม่ถึง 1 วันหลังจากเกิดเหตุระะเบิดที่ศาลพระพรหมเอราวัณบริเวณสี่แยกราชประสงค์ในกรุงเทพฯซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 22 คนและได้รับบาดเจ็บกว่า 120 คนเมื่อวันที่ 18 สิงหาคมก็ได้เกิดเหตุระเบิดที่ท่าเรือสาธรซึ่งเป็นจุดเชื่อมโยงการคมนาคมบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาและมีนักท่องเที่ยวใช้บริการเป็นจำนวนมาก
แม้นี่จะไม่ใช้ครั้งแรกที่เกิดเหตุระเบิดในประเทศไทย แต่ถ้าพิจารณาถึงลักษณะและความรุนแรงของเหตุระเบิดที่ผ่านมาแล้ว เหตุระเบิดครั้งนี้มีความแตกต่างออกไปโดยอย่างแรกคือการเลือกเวลาและสถานที่ก่อเหตุ ระะเบิดถูกประกอบโดยมืออาชีพและมีอำนาจการทำลายล้างสูง แถมเหตุระเบิดได้เกิดขึ้นในขณะที่เวทีการเมืองไทยกำลังมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่า เหตุลอบวางระเบิดหลายๆครั้งมีเป้าหมายทางการเมือง สร้างความหวาดกลัวให้แก่ประชาชนและสร้างความเสียหายให้แก่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของไทย
ความขัดแย้งระหว่างพรรคการเมืองต่างๆยังคงส่งผลกระทบต่อสถานการณ์การเมือง
นับตั้งแต่รัฐบาลทหารนำโดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเข้ามาบริหารประเทศกว่า 1 ปี สถานการณ์ความมั่นคงและการเมืองในไทยค่อนข้างมีเสถียรภาพ แต่เมื่อเร็วๆนี้ได้เกิดสัญญาณไร้เสถียรภาพที่น่าวิตกกังวล
ประการแรกคือเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เริ่มจัดทำตั้งแต่กลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา มีหลายส่วนที่สร้างความถกเถียงและรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กำลังผลักดันการอนุมัติโดยเร็ว โดยเฉพาะในส่วนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการให้รัฐบาลสามารถใช้มาตรการที่แข็งกร้าวกว่าในกรณีฉุกเฉินซึ่งถูกคัดค้านอย่างหนักจากฝ่ายตรงข้าม เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทยที่ลี้ภัยในต่างประเทศได้มีคำเรียกร้องให้ผู้ที่สนับสนุนตนคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ตามกำหนดการในเดือนกันยายนนี้ สภาปฏิรูปแห่งชาติจะลงคะแนนอนุมัติร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ซึ่งถ้าได้รับการอนุมัติก็จะทำประชาพิจารณ์ในเดือนมกราคมปี 2016 ซึ่งถ้าหากประชาชนกว่าร้อยละ 50 สนับสนุน รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็จะมีผลบังคับใช้
ที่ผ่านมา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรีไทยก็ได้ใช้มาตรการที่แข็งกร้าวเพื่อจับกุมฝ่ายตรงข้ามที่เข้าร่วมการชุมนุมประท้วงรัฐบาลและไม่กี่เดือนมานี้ สถานการณ์ก็มีความตึงเครียดมากขึ้นหลังจากที่รัฐบาลของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศว่า จะไม่มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2017 เพราะประชามติยังจำได้ว่า ตอนเข้ามาบริหารประเทศ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ให้คำมั่นว่า จะจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ดังนั้นคำประกาศที่จะชลอการเลือกตั้งออกไปจึงสร้างความไม่เห็นด้วยในหมู่ประชาชน โดยเฉพาะฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล
อีก 1 เหตุผลที่บรรดานักวิเคราะห์เห็นว่าอาจเป็นปัจจัยที่สร้างความไร้เสถียรภาพอย่างหนักในเมืองไทยในเวลาที่จะถึงคือการปรับคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เพราะภายในกองทัพและรัฐบาลชุดปัจจุบันก็มีความขัดแย้งกันไม่น้อย นอกจากนั้น เศรษฐกิจของไทยได้หดตัวลงอย่างรวดเร็ว ตามข้อมูลสถิติ เมื่อปี 2014 เศรษฐกิจไทยมีการขยายตัว 0.9% แต่ตัวเลขเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาได้ลดลงต่ำที่สุดในรอบกว่า 3 ปีซึ่งตามการเปิดเผยของนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา การปรับคณะรัฐมนตรีก็เพื่อฟื้นฟูการขยายตัวของเศรษฐกิจ
ประเทศไทยจะกลับไปสู่ภาวะไร้เสถียรภาพอีกหรือไม่ - ảnh 2
ตำรวจไทยกำลังสืบสวนเหตุระเบิด (Reuters)

มรสุมความรุนแรงครั้งใหม่?
ในหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้พยายามเป็นอย่างมากเพื่อแก้ปัญหาความไร้เสถียรภาพ แต่ความพยายามนี้ยังไม่เกิดผลตามที่หวังไว้ซึ่งเหตุระเบิดล่าสุดนี้คือตัวอย่างหนึ่ง ดังนั้นเหตุผลใดเล่าที่ทำให้ไทยยังไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ความไร้เสถียรภาพได้ซึ่งตามความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ หนึ่งในเหตุผลหลักคือระบบการเมืองของไทยยังคงอาศัยพรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ถึงแม้สถาบันพระมหากษัตริย์จะมีบทบาทสำคัญในการเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยแต่กลับไม่มีบทบาทในการบริหารประเทศเพราะตามรัฐธรรมนูญไทย อำนาจในการบริหารประเทศเป็นของรัฐบาล ในขณะที่รัฐบาลชุดปัจจุบันกำลังพยายามเดินหน้าอนุมัติรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และปรับคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดความไม่พอใจในหมู่ประชาชน
ปัจจุบัน ทางการไทยยังคงหาสาเหตุของการก่อเหตุระเบิดที่ผ่านๆมาและรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ประยุทธ์  จันทร์โอชา  จะมีมาตรการที่แข็งกร้าวมากขึ้นซึ่งไทยอาจจะตกเข้าสู่สถานการณ์ความไร้เสถียรภาพครั้งใหม่ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า.

คำติชม