นาย โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 46 (AP) |
พิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 46ของนาย โจ ไบเดน มีขึ้นในวันที่ 20 มกราคม โดยไม่มีการเข้าร่วมของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเพราะตามธรรมเนียมประธานาธิบดีที่หมดวาระจะเข้าร่วมกิจกรรมนี้ ซึ่งนี่แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งและความแตกต่างด้านจุดยืนในการบริหารประเทศระหว่างนาย โจ ไบเดนกับนายโดนัลด์ ทรัมป์ โดยสิ่งที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆจากประชามติในปัจจุบันคือภารกิจแรกของประธานาธิบดีคนใหม่ โจ ไบเดนจะแตกต่างกับนโยบายในสมัยของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์อย่างไร
พลิกโฉมนโยบายต่างๆในสมัยของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์
ก่อนพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของนาย โจ ไบเดน เมื่อวันที่ 16 มกราคม นาย รอน เคลนว่าที่หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ประจำทำเนียบขาวของนายโจ ไบเดนได้เปิดเผยว่า หลังพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม นายโจ ไบเดน จะลงนามในคำสั่ง 10ฉบับ ซึ่งมีหลายคำสั่งที่เป้นการเปลี่ยนแปลงนโยบายในสมัยของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เช่น การกลับเข้าร่วมข้อตกลงปารีสเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและยกเลิกคำสั่งห้ามพลเมืองจากประเทศอิสลามเดินทางเข้าสหรัฐ
แหล่งข่าวต่างๆรายงานว่า นาย โจ ไบเดน จะประกาศร่างรัฐบัญญัติที่สนับสนุนกลุ่มผู้อพยพที่เป็น Dreamers หรือผู้เยาว์ต่างด้าวที่หวังจะได้สถานะพลเมืองสหรัฐ โดยวางขั้นตอนต่างๆเพื่อให้คนกลุ่มนี้ในอเมริกา รวม 11 ล้านคนมีโอกาสสถานะพลเมืองถาวร ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามคำมั่นที่ให้ไว้ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง โดยนโยบายนี้ขัดกับนโยบายกีดกันผู้อพยพต่างด้าวและเนรเทศผู้อพยพผิดกฎหมายของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ โดยนาย โจ ไบเดนได้เรียกนโยบายเกี่ยวกับผู้อพยพของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ว่า เป็นการทำลายคุณค่าของประเทศสหรัฐและยืนยันว่า จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว
สหรัฐเพิ่มความเข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยให้แก่พิธีสาบานเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ (AP) |
ส่วนเมื่อวันที่ 18 มกราคม นาง Jen Psaki ว่าที่เลขานุการฝ่ายสารนิเทศของนาย โจไบเดนได้เผยว่า นาย โจ ไบเดนจะไม่ผ่อนปรนคำสั่งห้ามพลเมืองจากประเทศที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างหนักเดินทางเข้าสหรัฐ อีกทั้งจะมีมาตรการตรวจสอบและควบคุมด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คำประกาศดังกล่าวมีขึ้นหลังจากทำเนียบขาวได้ยืนยันว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ลงนามยกเลิกคำสั่งห้ามพลเมืองจากอังกฤษ 26ประเทศในกลุ่มเชงเก้นและบราซิลเดินทางเข้าสหรัฐ ซึ่งจะมีผลในวันที่26 มกราคมนี้ ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนนโยบายต่างๆในสมัยของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์จะเน้นในเรื่องที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์เดินหน้าปฏิบัติและไม่ต้องผ่านการอนุมัติจากรัฐสภา
ความท้าทายต่างๆ
แต่อย่างไรก็ตาม การขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในสภาวการณ์ที่สถานการณ์ภายในประเทศและโลกมีความผันผวนอย่างซับซ้อน รวมทั้งมีปัญหาที่รุนแรงต่างๆ เช่น ปัญหาในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปี 2020 ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีนที่ต่ำสุดในรอบหลายทศวรรษที่ ทำให้นาย โจ ไบเดนต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย ส่วนบรรดานักวิเคราะห์ได้ให้ข้อสังเกตว่า การสมานความแตกแยกในสังคมสหรัฐหลังเกิดปัญหาต่างๆในเวลาที่ผ่านมาถือเป็นความท้าทายที่สำคัญที่สุดสำหรับนาย โจ ไบเดน โดยก่อนอื่น ต้องแสดงความเป็นผู้นำในพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งโดยที่ไม่มีการเข้าร่วมของประธานาธิบดีในวาระก่อนท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดหลังเกิดเหตุจลาจล ณ อาคารรัฐสภาเมื่อวันที่ 6 มกราคมและมีส.ส.ของพรรคริพับลิกันหลายคนที่แสดงความสงสัยว่า มีการโกงการเลือกตั้ง
ภาพเนชั่นแนล มอลล์ (AP) |
อีกประเด็นที่เป็นความท้าทายที่สำคัญต่อนาย โจ ไบเดนคือผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะถดถอย ส่วนในด้านการต่างประเทศ การแก้ไขปัญหาความตึงเครียดกับจีน การปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างสองฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก การเปลี่ยนแปลงวิธีการเข้าถึงปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่านและการปลอดนิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลีก็เป็นความท้าทายที่สำคัญเช่นกัน แต่ถึงกระนั้น นาย โจ ไบเดนยังคงมีเงื่อนไขที่สะดวกต่างๆในการบริหารประเทศโดยเฉพาะความได้เปรียบในการที่พรรคเดโมแครตครองเสียงข้างมากในสภาล่าง ส่วนในวุฒิสภาได้ 50 ที่นั่ง ซึ่งเท่ากับพรรคริพับลิกันในขณะที่นาง กามลา แฮร์ริส ว่าที่รองประธานาธิบดีจะดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา.