ประธานโฮจิมินห์กับกระบวนการเลือกเส้นทางเพื่อก้าวไปสู่สังคมนิยมของเวียดนาม

Lai Hoa- Thu Hoa
Chia sẻ
(VOVWORLD) - เมื่อ110 ปีก่อนซึ่งตรงกับวันที่ 5 มิถุนายนปี 1911 จากท่าเรือหญ่าโหร่งของนครโฮจิมินห์ ชายหนุ่ม เหงียนเติ๊ตแถ่ง ซึ่งก็คือประธานโฮจิมินห์ได้เดินทางออกจากประเทศเวียดนามด้วยเรือ Admiral Latouche-Tréville อันเป็นการเริ่มต้นของการเดินทาง 30 ปีเพื่อหาทางกู้ชาติ ซึ่งการเลือกเส้นทางปลดปล่อยประชาชาติและปลดปล่อยประเทศเพื่อพัฒนาไปสู่สังคมนิยมในระยะการปฏิวัติต่างๆ โดยเฉพาะในตลอด 35 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงใหม่ได้แสดงให้เห็นว่า แนวทางของท่านยังคงเป็น "เข็มทิศนำทาง" เพื่อให้เวียดนามพัฒนาจนถึงปัจจุบัน
ประธานโฮจิมินห์กับกระบวนการเลือกเส้นทางเพื่อก้าวไปสู่สังคมนิยมของเวียดนาม - ảnh 1เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนปี 1911 จากท่าเรือหญ่าโหร่งของนครโฮจิมินห์ ชายหนุ่ม เหงียนเติ๊ตแถ่ง ซึ่งก็คือประธานโฮจิมินห์ได้เดินทางออกจากประเทศเวียดนามด้วยเรือ Admiral Latouche-Tréville อันเป็นการเริ่มต้นของการเดินทาง 30 ปีเพื่อหาทางกู้ชาติ  (vietnamplus)

จากการเห็นว่าประเทศถูกรุกราน ประชาชนถูกกดขี่ขูดรีดอย่างโหดร้ายจากนักล่าอาณานิคม และกลุ่มศักดินาที่คอยรับใช้นักล่าเมืองขึ้นและความทุกข์ยากของแรงงาน ประธานโฮจิมินห์ได้มีความมุ่งมั่นอันแรงกล้าที่จะหาวิธีปลดปล่อยประเทศชาติ มีวิสัยทัศน์ที่เป็นอิสระและมีความคิดสร้างสรรค์มากกว่าคนรุ่นก่อน ท่านจึงดำริที่จะออกเดินทางไปต่างประเทศเพื่อศึกษาหาทาง ช่วงชิงเอกราช  เสรีภาพและนำความสุขมาสู่ประชาชาติและประชาชน รองศาสตราจารย์ ดร. ลี เวียด กวาง ผู้อำนวยการสถาบันโฮจิมินห์และบรรดาผู้นำพรรคได้แสดงความเห็นว่า การได้ศึกษาผลงานวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาประชาชาติและปัญหาอาณานิคมของเลนินในช่วงนั้นได้ทำให้ประธานโฮจิมินห์มีแนวคิดเกี่ยวกับการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพ ผลักดันการสร้างสรรค์เอกราชประชาชาติและสังคมนิยมในเวียดนาม

ก่อนที่ลุงโฮจะอ่านผลงานฉบับนี้ของเลนิน ท่านยังกังวลอยู่เพราะยังไม่สามารถกำหนดอย่างชัดเจนถึงเส้นทางที่ประชาชาติเวียดนามจะควรปฏิบัติ เมื่ออ่านแล้ว ท่านก็เข้าใจว่า นี่คือสิ่งที่ตนเองกำลังมองหามาเป็นเวลานาน ทำให้ท่านตระหนักได้ว่า เส้นทางที่ประเทศเวียดนามควรเดินตามคือเส้นทางแห่งการปลดปล่อยประชาชาติควบคู่กับการปลดปล่อยชนชั้นและปลดปล่อยมนุษย์ เพื่อสร้างสรรค์เอกราชประชาชาติและสังคมนิยม

ปี 1941  ประธานโฮจิมินห์ได้ตัดสินใจยุติการเดินทาง 30 ปีในต่างประเทศเพื่อหาทางกู้ชาติเพื่อปฏิบัติภารกิจในการเป็นผู้นำทาง ปลุกเร้ามวลชนให้รวมพลังและสามัคคีกันเพื่อต่อสู้ช่วงชิงเอกราชของประชาชาติ เมื่อโอกาสมาถึง ท่านได้ชี้นำการปฏิวัติเดือนสิงหาคมจนประสบความสำเร็จ ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้ช่วยเปลี่ยนอนาคตของประชาชาติและของชาวเวียดนาม ในช่วงเริ่มต้นหลังได้รับเอกราช ประธานโฮจิมินห์ได้ย้ำถึงทัศนะที่เสมอต้นเสมอปลายคือ รัฐบาลต้องดูแลชีวิตของประชาชน ท่านย้ำว่า ต้องปฏิบัติหน้าที่ 4 อย่างทันที นั่นคือการทำให้ประชาชนมีข้าวกิน มีเสื้อผ้าใส่ มีที่อยู่อาศัยและได้เรียนหนังสือ รองศาสตราจารย์ ดร. จูดึ๊กติ๊ง อดีตผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์โฮจิมินห์ได้แสดงความเห็นว่า

"ลุงโฮอธิบายให้เข้าใจง่ายว่านับตั้งแต่ยึดคืนอำนาจควบคุมทางการเมื่อปี 1945-1946 ถ้าไม่มีประชาชน รัฐบาลก็ไม่มีกำลัง ถ้าไม่มีรัฐบาลประชาชนก็ไม่มีผู้นำทาง ดังนั้นพวกเราต้องพึ่งพาประชาชน ลุงโฮสอนเจ้าหน้าที่ว่า ตั้งแต่การกำหนดนโยบายและในกระบวนการชี้นำการปฏิบัติต้องยึดแนวทางว่า "สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน เราต้องทำให้ดีที่สุด สิ่งที่สร้างความเสียหายต่อประชาชนเราต้องพยายามหลีกเลี่ยง" เพราะ การที่ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อผู้นำก็เนื่องมาจากพวกเขารู้ว่าจะได้รับประโยชน์อย่างไร

ประธานโฮจิมินห์กับกระบวนการเลือกเส้นทางเพื่อก้าวไปสู่สังคมนิยมของเวียดนาม - ảnh 2 ตั้งแต่วันที่ 25- 30 ธันวาคมปี 1920  เหงียน อ๊ายก๊วก (ชื่อประธานาธิบดีโฮจิมินห์ ในช่วงเคลื่อนไหวการปฏิวัติในฝรั่งเศส) ได้เข้าร่วมการประชุมใหญ่ครั้งที่ 18 ของพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศสในเมือง Tours ในฐานะผู้แทนอินโด-จีน  เหงียนอ๊ายก๊วก สนับสนุนวิทยานิพนธ์ของเลนินเกี่ยวกับปัญหาประชาชาติและอาณานิคม สนับสนุนการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศสและกลายเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศสและเป็นนักคอมมิวนิสต์คนแรกของประเทศเวียดนาม

เมื่อภาคเหนือเข้าสู่ยุคแห่งการสร้างสรรค์สังคมนิยม กลายเป็นแนวหลังที่ยิ่งใหญ่ของแนวหน้าภาคใต้ในการทำสงครามต่อต้านสหรัฐอเมริกาเพื่อกู้ชาติ ประธานโฮจิมินห์ได้ยืนยันว่า การดูแลชีวิตและความสุขของประชาชนเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของระบอบสังคมนิยมที่พรรคและรัฐเวียดนามกำลังมุ่งปฏิบัติ ตามความเห็นของท่าน ลัทธิสังคมนิยมเน้นถึงการปรับปรุงชีวิตทั้งด้านวัตถุและจิตใจของประชาชนให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยก่อนอื่นคือแรงงาน ศาสตราจารย์ ดร. แหมก กวาง ทั้ง อาจารย์อาวุโสจากสถาบันประวัติศาสตร์ของพรรคสังกัดสถาบันรัฐศาสตร์แห่งชาติโฮจิมินห์ได้วิเคราะห์ว่า

"แนวคิดสังคมนิยมของประธานโฮจิมินห์คือสังคมที่ไม่มีการกดขี่ขูดรีด สังคมนิยมทำให้ทุกคนมีชีวิตที่อิ่มหนำผาสุกและมีอิสระ ซึ่งหมายความว่า ประชาชนมีชีวิตทางวัตถุและชีวิตที่สมบูรณ์และหลากหลาย สังคมนิยมคือสังคมที่ประชาชนเป็นเจ้าของ”

จากการปฏิบัติตามความปรารถนาของท่าน หลักนโยบายสร้างสรรค์ประเทศในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่สังคมนิยมปี 1991 ของพรรคได้ยืนยันว่า ทั้งพรรคและประชาชนเดินหน้ายึดมั่นธงแห่งเอกราชและลัทธิสังคมนิยมอย่างมั่นคง หลักนโยบายสร้างสรรค์ประเทศในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่สังคมนิยมฉบับเพิ่มเติมและพัฒนาเมื่อปี 2011 เป็นธงแห่งอุดมการณ์และทฤษฎี เป็นเข็มทิศนำทางของพรรค นำทั้งประเทศให้เดินหน้าต่อไปอย่างมั่นคงและผลักดันภารกิจการเปลี่ยนแปลงใหม่เพื่อเป้าหมาย "ประชาชนมั่งคั่ง ประเทศเจริญเข้มแข็ง มีประชาธิปไตย มีความยุติธรรมและอารยธรรม" รองศาสตราจารย์ ดร. บุ่ย ดิ่งห์ ฟอง จากสถาบันรัฐศาสตร์แห่งชาติโฮจิมินห์ได้แสดงความเห็นว่า เส้นทางที่พรรคเลือกเฟ้นต้องทำให้ประชาชนทุกคนมีชีวิตที่ร่ำรวยและสวยงามมากขึ้น

การสร้างสรรค์สังคมนิยม เป็นภารกิจองประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน นี่เปนผลงานที่ยิ่งใหญ่ ถึงแม้ยังมีปัญหาที่ยั่งคั่งค้างอยู่และบางทีเราไม่สามารถบรรลุสิ่งที่วางไว้ได้ เพราะพวกเรากำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมนิยม ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างสิ่งเก่ากับสิ่งใหม่ ระหว่างสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดี ช่วงเปลี่ยนผ่านนี้เป็นการต่อสู้ที่ยาวนานและลำบากแต่ในที่สุด พวกเราต้องมุ่งสู่ความก้าวหน้าเพื่อเอาชนะความชั่วร้ายและความล้าหลัง"

เส้นทางพัฒนาตามแนวทางสังคมนิยมเป็นทางเลือกที่ถูกต้องของประธานโฮจิมินห์และพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการพัฒนาของประวัติศาสตร์ โดยเป้าหมายและการเลือกเฟ้นของประธานโฮจิมินห์ก็เป็นความคาดหวังของประชาชนทุกคน เพราะเส้นทางไหนที่ทำให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีมีความมั่งคั่งมากขึ้น ก็ย่อมจะช่วยให้สังคมพัฒนาเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง.

คำติชม