ประชาคมระหว่างประเทศเพิ่มแรงกดดันต่อตาลิบัน

Bá Thi
Chia sẻ
(VOVWORLD) - เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางการสหรัฐได้จัดการสนทนาโดยตรงครั้งแรกกับกลุ่มตาลิบัน ซึ่งกำลังกุมอำนาจการบริหารอัฟกานิสถานมาตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมปี 2021 การเจรจา ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ถือเป็นการเคลื่อนไหวใหม่และน่าสนใจที่สุดของประชาคมระหว่างประเทศในความพยายามธำรงแรงกดดันต่อกลุ่มตาลิบันเพื่อให้ปฏิบัติตามคำมั่นที่ให้ไว้ในการยกเลิกการใช้ความรุนแรง ผลักดันการไกล่เกลี่ยและปฏิบัติสิทธิมนุษยชน
ประชาคมระหว่างประเทศเพิ่มแรงกดดันต่อตาลิบัน - ảnh 1สถานที่เกิดเหตุระเบิดที่มัสยิดในจังหวัด Kunduz ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถานเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม (AFP)

การสนทนามีขึ้นเป็นเวลา 2 วันตั้งแต่วันที่ 9-10 ตุลาคมในสภาวการณ์ที่กลุ่มตาลิบันกำลังพยายามทำลายการถูกโดดเดี่ยวและแสวงหาการรับรองจากนานาชาติ ในขณะเดียวกัน ประชาคมระหว่างประเทศยังคงพยายามป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตด้านมนุษยธรรมที่ร้ายแรงในอัฟกานิสถานและเพิ่มแรงกดดันต่อกลุ่มตาลิบันอย่างต่อเนื่องเพื่อทำให้กลุ่มนี้ต้องปฏิบัติตามหลักสากล 

กลุ่มตาลิบันพยายามหาทางทำลายภาวะถูกโดดเดี่ยว

นอกจากการเจรจากับตัวแทนของทางการสหรัฐแล้ว กระบวนการเจรจาในกรุงโดฮาของกลุ่มตาลิบันยังรวมถึงการประชุมกับตัวแทนของสหภาพยุโรปหรืออียูในวันที่ 12 ตุลาคมด้วย  กระบวนการเจรจานี้มีขึ้นเพียงไม่กี่วันหลังจากที่ผู้นำกลุ่มตาลิบันทำการเจรจากับนาย ไซมอน แกส ผู้แทนระดับสูงของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ บอริส จอห์นสันในอัฟกานิสถานเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ก่อนหน้านั้น ผู้นำของกลุ่มตาลิบันยังได้เข้าร่วมการรับความช่วยเหลือจากกาตาร์ จีน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หรือUAE ปากีสถานและอุซเบกิสถาน ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ ฮามิด คาร์ไซ ในกรุงคาบูล นอกจากนี้ ผู้นำของกลุ่มตาลิบันยังได้เข้าร่วมการประชุมกับเจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติเกี่ยวกับการธำรงความช่วยเหลือให้แก่อัฟกานิสถานเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา

บรรดานักวิเคราะห์ระดับภูมิภาคและตะวันตกหลายคนมีความเห็นไปในทางเดียวกันว่า การที่ผู้นำกลุ่มตาลิบันติดต่อกับโลกภายนอกอย่างเข้มแข็งมีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายภาวะถูกโดดเดี่ยวและแสวงหาการรับรองจากนานาชาตินื่องจากนับตั้งแต่เข้าควบคุมกรุงคาบูลเมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมาและจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลในอัฟกานิสถานเมื่อวันที่ 6 กันยายน แต่จนถึงขณะนี้ กลุ่มตาลิบันยังไม่ได้รับการยอมรับจากประชาคมระหว่างประเทศ ในขณะเดียวกัน วิกฤตด้านอาหาร สาธารณสุขและการเงินในอัฟกานิสถานก็เลวร้ายมากขึ้นเรื่อยๆจนทำให้กลุ่มตาลิบันเข้าสู่สถานการณ์ที่ไม่มีทางเลือกนอกจากต้องเจรจาและขอความช่วยเหลือจากภายนอกเท่านั้น

ประชาคมระหว่างประเทศเพิ่มแรงกดดันต่อตาลิบัน - ảnh 2นาย Mullah Amir Khan Muttaqi รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอัฟกานิสถานเผยว่า จุดมุ่งหมายของคณะผู้แทนอัฟกานิสถานคือช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการปฏิบัติตามข้อตกลง (Karim Jaafar/AFP)

ธำรงแรงกดดันควบคู่กับการเจรจา

ในการเจรจากับกลุ่มตาลิบันเมื่อเร็วๆ นี้ สหรัฐและประเทศต่าง ลได้เน้นย้ำถึงข้อกำหนดทั่วไปคือกลุ่มตาลิบันต้องจัดตั้งรัฐบาลที่มีผู้แทนเข้าร่วมอย่างกว้างขวาง ส่งเสริมการปรองดองชาติและปฏิบัติสิทธิสำหรับสตรี โดยในแถลงการณ์อย่างเป็นทางการหลังการพบปะ ณ กรุงโดฮาเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐได้เผยว่า การเจรจาในกรุงโดฮาเน้นถึงความกังวลด้านความมั่นคงและการก่อการร้าย ความปลอดภัยของพลเมืองสหรัฐ พลเมืองของประเทศอื่นๆและประชาชนอัฟกานิสถาน ตลอดจนปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน  โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของสตรีและเด็กหในทุกด้านของสังคมอัฟกานิสถาน โดยเฉพาะแถลงการณ์ได้ยืนยันอีกครั้งถึงจุดยืนที่จะประเมินกลุ่มตาลิบันโดยอ้างอิงจากการกระทำ ไม่ใช่แค่คำพูด ก่อนการประชุม เจ้าหน้าที่สหรัฐยังยืนยันว่า กระบวนการเจรจาในกรุงโดฮาไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อรับรองกลุ่มตาลิบัน

แต่อย่างไรก็ตาม ในสภาวการณ์ที่อาจเกิดวิกฤตด้านมนุษยธรรมที่ร้ายแรงในอัฟกานิสถานพร้อมกับแรงกดดันต่อกลุ่มตาลิบัน ประชาคมระหว่างประเทศกำลังพยายามหาทางแก้ไขเพื่อป้องกันสถานการณ์ด้านมนุษยธรรมที่เลวร้ายลงในอัฟกานิสถาน โดยเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ผู้นำกลุ่มเศรษฐกิจที่พัฒนาและเพิ่งเกิดใหม่ชั้นนำของโลกหรือG20 ได้จัดการประชุมสุดยอดพิเศษในอัฟกานิสถานโดยมีระเบียบวาระการประชุมหลักคือหามาตรการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ฉุกเฉินให้แก่ประชากร 1 ใน 3 ของอัฟกานิสถาน คิดเป็นกว่า 11 ล้านคนที่กำลังอยู่ในภาวะอดอยากอย่างรุนแรง

การบรรเทาทุกข์ชาวอัฟกันหลายล้านคนที่กำลังเผชิญกับวิกฤติด้านอาหารเป็นหน้าที่เร่งด่วนและจำเป็น แต่อย่างไรก็ตาม มาตรการแก้ไขอย่างเด็ดขาดในระยะยาวสำหรับประเทศและประชาชนอัฟกานิสถานยังคงเป็นการสร้างสังคมที่มั่นคงและก้าวหน้า บนเจตนารมณ์ดังกล่าว ประชาคมระหว่างประเทศกำลังพยายามธำรงการเจรจากับกลุ่มตาลิบัน เร่งรัดให้กลุ่มนี้ยกเลิกการใช้ความรุนแรง ดำเนินการปรองดองและปฏิบัติสิทธิมนุษยชนอย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะสิทธิสตรีและเด็กในอัฟกานิสถาน.

คำติชม