(VOVworld) – การประชุมผู้นำความมั่นคงด้านนิวเคลียร์ครั้งที่ 4 ได้เปิดขึ้นในวันที่ 31 มีนาคม ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐ การประชุมมีขึ้นเป็นเวลา 2 วันโดยมีผู้นำจาก 50 ประเทศเข้าร่วมเพื่อหารือเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยให้แก่วัตถุนิวเคลียร์ตามสถานที่นิวเคลียร์เกือบ1 พันแห่งในโลก แต่ปัญหาที่ร้อนแรงที่สุดของการประชุมในปีนี้คือปัญหานิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลีในสภาวการณ์ที่สถานการณ์ในภูมิภาคกำลังทวีความตึงเครียดมากขึ้น
ผู้นำของสหรัฐ สาธารณรัฐเกาหลีและญี่ปุ่นพบปะไตรภาคีนอกรอบการประชุม (Reuters)
|
การประชุมสุดยอดความมั่นคงด้านนิวเคลียร์ได้มีขึ้นทุกๆ 2 ปีโดยมีการเข้าร่วมของบรรดาผู้นำในโลก เพื่อผลักดันความพยายามของโลกเพื่อรักษาความมั่นคงด้านวัตถุนิวเคลียร์และยับยั้งการโจมตีด้วยนิวเคลียร์ แต่นี่ก็คือฟอรั่มที่สะท้อนให้เห็นความขัดแย้งระหว่างประเทศมหาอำนาจเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขวัตถุนิวเคลียร์นอกจากการต่อต้านการก่อการร้าย
ทวีความตึงเครียดก่อนการประชุม
ก่อนที่การประชุมจะมีขึ้น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีได้เรียกร้องให้ยกเลิกการประชุมผู้นำความมั่นคงด้านนิวเคลียร์ พร้อมทั้งประกาศว่า จะยืนหยัดพัฒนานิวเคลียร์ถ้าหากสหรัฐไม่ยุตินโยบายเป็นศัตรูต่อทางการเปียงยาง ตามแถลงการณ์อย่างเป็นทางการของเปียงยางที่รายงานโดยสำนักข่าวกลางของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีหรือเคซีเอ็นเอ การประชุมครั้งนี้เพื่อแสวงหามาตรการยับยั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีเพิ่มความสามารถในการป้องปรามด้านนิวเคลียร์เพื่อเป้าหมายป้องกันตนเองและสหรัฐไม่ควรเสียเวลาต่อการจัดการหารือที่ไร้ประโยชน์เพื่อต่อต้านสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีหากควรแสวงหามาตรการที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น เช่นการยุตินโยบายเป็นศัตรูต่อเปียงยาง ก็ตามที่เคซีเอ็นเอรายงาน สหรัฐและสาธารณรัฐเกาหลีจะใช้การประชุมผู้นำครั้งนี้เพื่อเป็นเครื่องมือเพื่อมุ่งเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรต่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ตลอดจนหาโอกาสตำหนิสิทธิการเข้าถึงอาวุธนิวเคลียร์ที่ชอบด้วยกฎหมายของประเทศนี้
เพื่อพิสูจน์ให้แก่แถลงการณ์ที่แข็งกร้าวของตน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีได้ทดลองยิงขีปนาวุธพิสัยใกล้ระยะไกลประมาณ 200 กิโลเมตรจากเขตตากอากาศ Wosan ไปสู่ทะเลทางทิศตะวันออกของประเทศนี้ พร้อมทั้งได้ประกาศว่า พร้อมที่จะเดินหน้าโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์เพื่อขัดขวางภัยคุกคามจากสหรัฐและพันธมิตร
สถานการณ์บนคาบสมุทรเกาหลีทวีความตึงเครียดมากขึ้นหลังจากเปียงยางทดลองยิงหัวรบนิวเคลียร์เมื่อวันที่ 6 มกราคมและทดลองยิงขีปนาวุธพิสัยไกลเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ตอบโต้อย่างแข็งกร้าวผ่านการออกมติคว่ำบาตรที่เข้มแข็งที่สุดที่ไม่เคยมีมาก่อนต่อสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ส่วนสหรัฐและสาธารณรัฐเกาหลีก็ได้เพิ่มมาตรการคว่ำบาตรต่างๆโดยเมื่อวันที่ 29 มีนาคม ก่อนการประชุมผู้นำความมั่นคงด้านนิวเคลียร์ สหรัฐ สาธารณรัฐเกาหลีและญี่ปุ่นได้พบปะหารือเกี่ยวกับนโยบายต่อเปียงยาง ส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงไตรภาคีในภูมิภาคและโลก ความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณรัฐเกาหลีกับญี่ปุ่นมีความเย็นชามานานแล้วเนื่องจากปัญหาด้านประวัติศาสตร์ แต่ในสภาวการณ์ภัยคุกคามจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีนับวันเพิ่มมากขึ้นเมื่อประเทศนี้ทดลองยิงขีปนาวุธและหัวรบนิวเคลียร์ครั้งที่ 4 ได้ทำให้ทั้งสองประเทศนี้ต้องจับมือเพื่อร่วมกันแสวงหามาตรการขยายความร่วมมือด้านการทหารซึ่งก็เป็นความคาดหวังของสหรัฐมานานแล้วที่อยากส่งเสริมให้พันธมิตรที่ใกล้ชิดทั้งสองประเทศในเอเชียนี้ร่วมกันเจรจา แก้ไขปัญหาความขัดแย้งเพื่อกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นมากขึ้นเพื่อสร้างพลังสามฝ่ายที่มั่นคงเพื่อรับมือกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ตลอดจนเสริมสร้างยุทธศาสตร์เคลื่อนแกนหมุนเอเชียแปซิฟิก
นาย คิมจองอึน ผู้นำของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (KCNA)
|
แสวงหาความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ต่อปัญหาที่ร้อนระอุของโลก
ความตึงเครียดด้านการทหารกำลังทวีอย่างรวดเร็วบนคาบสมุทรเกาหลีในหลายสัปดาห์มานี้เมื่อนาย คิมจองอึน ผู้นำของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีมีท่าทีทางทหารในลักษณะยั่วยุโดยหลังจากทดลองยิงหัวรบนิวเคลียร์และขีปนาวุธพิสัยไกลเมื่อเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เปียงยางได้ทดลองยิงขีปนาวุธพิสัยใกล้และพิสัยกลางอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งมีคำข่มขู่ที่รุนแรงที่สุดทุกวันเกี่ยวกับการที่จะทดลองหัวรบนิวเคลียร์และขีปนาวุธลูกใหม่เพื่อสร้างภัยคุกคามต่อคู่แข่ง ตลอดจนการเดินหน้าโจมตีทั้งสหรัฐและสาธารณรัฐเกาหลี ท่าทีดังกล่าวของเปียงยางได้เผชิญกับการตอบโต้ที่แข็งกร้าวจากประเทศเพื่อนบ้านสาธารณรัฐเกาหลีและพันธมิตรสหรัฐโดยทางการโซลและวอชิงตันได้ปฏิบัติมาตรการคว่ำบาตรที่แข็งขันที่สุดที่ไม่เคยมีมาก่อนใส่เปียงยาง พร้อมทั้งทำการซ้อมรบครั้งใหญ่เพื่อเป็นการป้องปรามเปียงยาง
ทุกการเคลื่อนไหวที่รุนแรงมากขึ้นดังกล่าวได้ทำให้ประชาคมโลกมีความวิตกกังวลเป็นอย่างมากเกี่ยวกับความเป็นไปได้สูงที่ทุกสิ่งทุกอย่างอาจจะไม่อยู่ในการควบคุมของทุกฝ่าย ในสภาวการณ์ดังกล่าว โครงการนิวเคลียร์และขีปนาวุธของเปียงยางจึงเป็นหัวข้อที่ร้อนแรงในการประชุมผู้นำความมั่นคงด้านนิวเคลียร์ครั้งนี้ภายใต้อำนวยการของสหรัฐ ประชามติมีความหวังว่า ถึงแม้ยังไม่สามารถทำให้สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีกลับเข้าร่วมการเจรจาแต่ทุกฝ่ายอาจจะบรรลุความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับวิธีการแก้ไขปัญหาความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลี.