ปัญหาทะเลตะวันออกในระเบียบวาระการประชุมสำคัญต่างๆ

Thu Hoa-VOV5
Chia sẻ

(VOVworld) – สถานการณ์ในทะเลตะวันออกที่มีความผันผวนซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะปฏิบัติการที่เปลี่ยนแปลงสภาพเดิมของโครงสร้างเกาะหินและโขดหินต่างๆก็ยิ่งทำให้ประชามติโลกสนใจจับตาสถานการณ์มากขึ้นจนปัญหาทะเลตะวันออกได้กลายเป็นปัญหาที่ร้อนระอุในการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 25 และการประชุมต่างๆที่เกี่ยวข้องที่พม่า การประชุมผู้นำเอเปกครั้งที่ 22 ที่ประเทศจีนและการสัมมนาระหว่างประเทศเกี่ยวกับทะเลตะวันออกในเวียดนาม

(VOVworld) – สถานการณ์ในทะเลตะวันออกที่มีความผันผวนซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะปฏิบัติการที่เปลี่ยนแปลงสภาพเดิมของโครงสร้างเกาะหินและโขดหินต่างๆก็ยิ่งทำให้ประชามติโลกสนใจจับตาสถานการณ์มากขึ้นจนปัญหาทะเลตะวันออกได้กลายเป็นปัญหาที่ร้อนระอุในการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 25 และการประชุมต่างๆที่เกี่ยวข้องที่พม่า การประชุมผู้นำเอเปกครั้งที่ 22 ที่ประเทศจีนและการสัมมนาระหว่างประเทศเกี่ยวกับทะเลตะวันออกในเวียดนาม

ปัญหาทะเลตะวันออกในระเบียบวาระการประชุมสำคัญต่างๆ - ảnh 1
การสัมมนาระหว่างประเทศเกี่ยวกับทะเลตะวันออก

การสัมมนาระหว่างประเทศเกี่ยวกับทะเลตะวันออกภายใต้หัวข้อ “ทะเลตะวันออก ความร่วมมือเพื่อความมั่นคงและการพัฒนาในภูมิภาค” ที่มีขึ้นในระหว่างวันที่ 17-18 พฤศจิกายนที่นครดานัง ประเทศเวียดนามถือเป็นการสานต่อความพยายามเพื่อผลักดันการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นของบรรดานักวิชาการและที่ปรึกษาด้านนโยบายทั้งภายในและนอกภูมิภาคที่ให้ความสนใจปัญหาทะเลตะวันออก ก่อนหน้านั้น ปัญหาทะเลตะวันออกก็ได้กลายเป็นปัญหาที่ร้อนระอุในการประชุมผู้นำอาเซียนและท่าน เจืองเติ๊นซาง ประธานประเทศได้กล่าวถึงปัญหานี้ในการประชุมผู้นำเอเปกครั้งที่ 22
การธำรงเสถียรภาพในทะเลตะวันออกคือผลประโยชน์ร่วมของภูมิภาค

การธำรงสันติภาพและเสถียรภาพ การรักษาความมั่นคง ความปลอดภัย การเดินเรือและเดินอากาศอย่างเสรีในทะเลตะวันออกคือหนึ่งในเนื้อหาหลักที่ได้รับความสนใจและความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์จากบรรดาผู้นำทั้งในการประชุมผู้นำอาเซียน การประชุมสุดยอดอาเซียน+1กับประเทศคู่เจรจา เช่น จีน อินเดีย ญี่ปุ่น สหรัฐและสหประชาชาติ การประชุมสุดยอดอาเซียน+3และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ในการกล่าวปราศรัยต่อที่ประชุม ควบคู่กับการวิเคราะห์เกี่ยวกับความเสี่ยง การปะทะและความท้าทายด้านความมั่นคงใหม่ที่ขยายวงกว้างกำลังส่งผลกระทบไม่น้อยซึ่งสร้างความวิตกกังวลต่อสันติภาพ ความมั่นคง เสถียรภาพและการพัฒนาในทะเลตะวันออกและทะเลหัวตุ้ง ท่าน เหงียนเติ๊นหยุง นายกรัฐมนตรีได้ยืนยันว่าอาเซียนต้องเป็นฝ่ายรุกและมีความรับผิดชอบมากขึ้นในการธำรงสันติภาพ ความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาค พวกเราต้องเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้ความเคารพและปฏิบัติตามข้อกำหนดของแถลงการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อกันในทะเลตะวันออกหรือดีโอซีอย่างสมบูรณ์โดยเฉพาะในข้อที่ 5 ของแถลงการณ์นี้ที่ให้ใช้ความอดกลั้น ไม่ขยายหรือเพิ่มความตึงเครียด ไม่ทำให้สถานการณ์มีความซับซ้อนมากขึ้น ไม่ใช้หรือข่มขู่ใช้กำลัง แก้ไขการพิพาทผ่านมาตรการที่สันติและให้ความเคารพกฎหมายสากล รวมทั้งอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 พร้อมทั้งเจรจาอย่างจริงจังเพื่อบรรลุร่างระเบียบการปฏิบัติต่อกันในทะเลตะวันออกหรือซีโอซีที่มีผลบังคับใช้ทางนิตินัย”
ในกรอบการประชุมเอเปกครั้งที่ 22 ที่กรุงปักกิ่ง ท่าน เจืองเติ้นซาง ประธานประเทศได้กล่าวปราศรัยในการประชุมครบองค์ครั้งที่ 2 เกี่ยวกับการ “พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การปฏิรูปและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ” โดยย้ำว่า “ในสภาวะการณ์ที่ความท้าทายและความเสี่ยงเกี่ยวกับความไร้เสถียรภาพในปัจจุบันได้ส่งผลต่อบรรยากาศความมั่นคงและการพัฒนาในภูมิภาค ปัญหาหลักคือต้องผลักดันการสนทนาและทุกความพยายามที่สอดคล้องกับกฎหมายสากลและหลักการปฏิบัติต่อกันในภูมิภาคเพื่อธำรงสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย การเดินเรือและการเดินอากาศอย่างเสรีและร่วมมือกันพัฒนาเอเชียแปซิฟิก รวมทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทะเลตะวันออก”
เวียดนามแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค

วิธีการเข้าถึงปัญหาทะเลตะวันออกของเวียดนามในการประชุมนานาชาติต่างๆได้สะท้อนให้เห็นถึงจิตใจที่สร้างสรรค์และมีความรับผิดชอบต่อสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคงและการพัฒนาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกซึ่งสอดคล้องกับผลประโยชน์ของทุกประเทศทั้งภายในและนอกภูมิภาคจึงได้รับความเห็นพ้องและสนับสนุนจากบรรดาผู้นำอาเซียนและประเทศคู่เจรจาของอาเซียนซึ่งทัศนะในการแก้ไขปัญหาทะเลตะวันออกของเวียดนามไม่เพียงแต่ถูกระบุในแถลงการณ์ของประธานการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 25 อย่างเป็นรูปธรรมเท่านั้นหากบรรดาผู้นำของประเทศคู่เจรจาของอาเซียน เช่นประธานาธิบดีสหรัฐ บารัก โอบาม่า นายกรัฐมนตรีรัสเซีย แมดเวแดฟ นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย โทนี แอ็บบอตต์และนาย บันคีมูน เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติก็ได้เห็นพ้องและสนับสนุนอีกด้วย ท่าน ฝ่ามกวางวิง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศและหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนได้เผยว่าในกรอบการสนทนาอาเซียน-จีน ทุกประเทศสมาชิกอาเซียนและจีนได้ย้ำถึงหลักการต่างๆ เช่นการปฏิบัติตามกฎหมายสากล อนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 การปฏิบัติแถลงการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อกันในทะเลตะวันออกหรือดีโอซี การแก้ไขการพิพาทผ่านมาตรการที่สันติและมุ่งสู่การจัดทำร่างระเบียบการปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือซีโอซี ทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องเกี่ยวกับหลักการที่จะหารือเกี่ยวกับมาตรการสร้างความไว้วางใจ ไม่ทำให้สถานการณ์มีความซับซ้อนมากขึ้น รวมทั้งมีความเป็นไปได้ที่ทั้งสองฝ่ายจะจัดตั้งโทรศัพท์สายด่วน อีกทั้งเห็นพ้องผลักดันการประชุมทาบทามเกี่ยวกับการจัดทำซีโอซี”
ทั้งนี้ ปัญหาทะเลตะวันออกได้ถูกนำมาหารือในการประชุมนานาชาติทั้งระดับภูมิภาคและโลกโดยหลักการแก้ไขการพิพาทผ่านมาตรการที่สันติบนพื้นฐานการให้ความเคารพกฎหมายสากล โดยเฉพาะอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 ให้ความเคารพดีโอซีและซีโอซี ไม่มีปฏิบัติการที่ทำให้สถานการณ์มีความซับซ้อนยิ่งขึ้นก็ได้กลายเป็นเสียงพูดและคำเรียกร้องของประชาคมโลกต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องถึงการพิพาทในทะเลตะวันออกซึ่งสถานการณ์ในทะเลตะวันออกที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ประชาคมโลกก็ต้องพยายามมากขึ้นเพื่อจัดตั้งกลไกตรวจสอบการพิพาทและป้องกันการปะทะในทะเลตะวันออกอย่างมีประสิทธิภาพ./. 

คำติชม