ปัญหาทะเลตะวันออกในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียน

นักข่าวสถานีวิทยุเวียดนามประจำประเทศไทย
Chia sẻ

(VOVWORLD) -ในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการหรือ ADMM Retreat และการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียนขยายวงหรือ ADMM+ ครั้งที่ 6 ที่จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 16 -19 พฤศจิกายน ณ กรุงเทพฯ  หนึ่งในปัญหาที่ได้รับความสนใจจากบรรดาผู้แทนที่เข้าร่วมการประชุมคือปัญหาทะเลตะวันออก  โดยบรรดาผู้แทนต่างยืนยันว่า การรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในทะเลตะวันออกมีความหมายสำคัญต่อสันติภาพในภูมิภาค

ปัญหาทะเลตะวันออกในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียน - ảnh 1การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียน 

ภายใต้หัวข้อ “ความมั่นคงที่ยั่งยืน” การประชุม ADMM Retreat และ ADMM+ ครั้งที่ 6 ได้เน้นหารือเกี่ยวกับความคิดด้านความมั่นคงที่ยั่งยืนเพื่อผลักดันการรักษาความมั่นคงด้านกลาโหม ส่งเสริมความไว้วางใจและความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างอาเซียนกับหุ้นส่วนสนทนาในทุกด้าน โดยเน้นถึงความร่วมมือใน 7 ด้าน ได้แก่ การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการช่วยเหลือกู้ภัย ความมั่นคงในการเดินเรือ เสนารักษ์ การต่อต้านการก่อการร้าย การรักษาสันติภาพ กิจกรรมเพื่อมนุษยธรรมและความมั่นคงทางอินเตอร์เน็ต

ความมั่นคงที่ยั่งยืนจะไม่สามารถปฏิบัติได้ถ้าหากความมั่นคงในทะเลตะวันออกไม่ได้รับการรักษา

  ในการประชุม ADMM Retreat เมื่อเช้าวันที่ 17 พฤศจิกายน บรรดารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียนได้หารือเกี่ยวกับความท้าทายด้านความมั่นคงทางทะเล รวมทั้ง ปัญหาทะเลตะวันออก พร้อมทั้ง ย้ำถึงความสำคัญในการรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในทะเลตะวันออกต่อความมั่นคงในภูมิภาคและโลก พร้อมทั้ง ยืนยันว่า อาเซียนต้องส่งเสริมความสามัคคี ธำรงบทบาทการเป็นศูนย์กลางและการเป็นผู้นำในกลไกความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อรับมือกับความท้าทายที่เพิ่งเกิดใหม่

พลเอก โงซวนหลีก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเวียดนามได้ยืนยันว่า กฎหมายสากลอาจไม่สมบูรณ์เนื่องจากสถานการณ์โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแต่นี่คือเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆเพื่อธำรงสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคและโลก การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายสากล การชี้แจงหรือการปฏิบัติตามกฎหมายสากลเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวจะสร้างความระแวงสงสัยระหว่างกัน ซึ่งอาจทำให้เกิดการปะทะและการเผชิญหน้า “ความตึงเครียดในทะเลตะวันออกในเวลาที่ผ่านมาเกิดจากการกระทำแต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่ให้ความเคารพสิทธิที่ชอบด้วยกฎหมายของประเทศอื่น ไม่สอดคล้องกับกฎหมายและธรรมเนียมปฏิบัติสากล โดยเฉพาะอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 จนนำไปสู่ความเสี่ยงที่สร้างภัยคุกคามต่อสันติภาพ เสถียรภาพในภูมิภาคและดึงดูดความสนใจจากประเทศนอกภูมิภาค ประเทศใหญ่ยืนหยัดเป้าหมายของตนและถ้าหากไม่สามารถบรรลุเสียงพูดเดียวกัน ประเทศต่างๆในภูมิภาคจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาของตนด้วยตัวเองได้ เพื่อให้ทะเลตะวันออกกลายเป็นเขตทะเลที่สันติภาพ เสถียรภาพและพัฒนาอย่างยั่งยืน การให้ความเคารพกฎหมายสากลถือเป็นเงื่อนไขชี้ขาดอันดับแรกและประเทศต่างๆต้องมีคำมั่นอย่างจริงจังและมีความรับผิดชอบในทุกปฏิบัติการ

  ในการพบปะอย่างไม่เป็นทางการกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจีน บรรดารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียนได้แสดงความวิตกกังวลต่อปัญหาเสรีภาพในการเดินเรือในทะเลตะวันออก พร้อมทั้ง รับรองความคืบหน้าในการเจรจาเกี่ยวกับร่างระเบียบปฏิบัติต่อกันในทะเลตะวันออกหรือ COC ส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจีนได้ให้คำมั่นที่จะร่วมมือกับอาเซียนในการแก้ไขปัญหาการพิพาททางทะเล

  เสียงพูดจากหุ้นส่วนของอาเซียน

  ในการกล่าวปราศรัยในการประชุมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียนกับสหรัฐอย่างไม่เป็นทางการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ Mark Esper ได้แสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงในมหาสมุทรอินเดีย-แปซิฟิก พร้อมทั้งยืนยันถึงคำมั่นของสหรัฐเกี่ยวกับการสร้างสรรค์มหาสมุทรอินเดีย-แปซิฟิกที่เสรีภาพและเปิดเผยบนพื้นฐานของการให้ความเคารพเอกราช อธิปไตยของประเทศต่างๆและกฎหมายสากล

  สหรัฐมีนโยบายส่งเสริมเสรีภาพในการเดินเรือ การบินและกิจกรรมการใช้ประโยชน์จากทะเลและอากาศอย่างชอบด้วยกฎหมาย โดยเฉพาะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐได้ตำหนิอย่างรุนแรงคำเรียกร้องอธิปไตยที่ไร้หลักฐานของจีนในทะเลตะวันออก “คำเรียกร้องอธิปไตยของจีนในทะเลตะวันออกยิ่งทำให้แผนที่เส้นประ 9เส้นเป็นคำเรียกร้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไร้หลักฐานและขัดกับคำวินิจฉัยของศาลอนุญาโตตุลาการเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2016 สร้างความไร้เสถียรภาพและความเสี่ยงที่อาจนำไปสู่การปะทะ”

  ฝ่ายสหรัฐได้ประเมินว่า อาเซียนมีจุดยืนร่วมกันเกี่ยวกับทะเลตะวันออก พร้อมทั้ง แสดงความเชื่อมั่นว่า แถลงการณ์ของอาเซียนจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามัคคี ซึ่งการรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในทะเลตะวันออกมีความหมายสำคัญในการค้ำประกันความมั่นคงอย่างยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน นอกจากการที่มีจุดยืนร่วมกัยเกี่ยวกับปัญหาทะเลตะวันออก บรรดาประเทศอาเซียนต้องส่งเสริมการเชื่อมโยงภายในกลุ่ม สร้างความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์เพื่อรับมือกับผลกระทบจากภายนอกเพื่อรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคและโลก.

คำติชม