ทีพีพีเปิดโอกาสแห่งการพัฒนาให้แก่เศรษฐกิจเวียดนาม

Nhat Quynh - Hong Van - VOV
Chia sẻ
(VOVworld) – หลังการเจรจาเป็นเวลา 5 ปี 12 ประเทศสมาชิกของความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นเอเชีย - แปซิฟิกหรือทีพีพีได้บรรลุข้อตกลงการค้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดฉบับหนึ่งของโลกอย่างเป็นทางการ ข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์นี้ถือเป็นตัวอย่างของรูปแบบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะช่วยเปิดอนาคตแห่งการขยายตัวอย่างเข้มแข็งให้แก่ 12 ประเทศสมาชิก รวมทั้งเวียดนาม

(VOVworld) – หลังการเจรจาเป็นเวลา 5 ปี 12 ประเทศสมาชิกของความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นเอเชีย - แปซิฟิกหรือทีพีพีได้บรรลุข้อตกลงการค้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดฉบับหนึ่งของโลกอย่างเป็นทางการ ข้อตกลงครั้งประวัติศาสตร์นี้ถือเป็นตัวอย่างของรูปแบบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะช่วยเปิดอนาคตแห่งการขยายตัวอย่างเข้มแข็งให้แก่ 12 ประเทศสมาชิก รวมทั้งเวียดนาม

ทีพีพีเปิดโอกาสแห่งการพัฒนาให้แก่เศรษฐกิจเวียดนาม - ảnh 1
นายหวูฮุยหว่าง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์
ทีพีพีคือข้อตกลงการค้าเสรีที่มี 12 ประเทศในแถบเอเชีย – แปซิฟิก ประกอบด้วยออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี มาเลเซีย เม็กซีโก นิวซีแลนด์ เปรู สหรัฐ สิงคโปร์ ญี่ปุ่นและเวียดนามเข้าร่วม ถ้าหากเปรียบเทียบกับข้อตกลงการค้าเสรีหรือเอฟทีเอ ทีพีพีมีความสมบูรณ์และลึกซึ้งมากกว่า เพราะว่าข้อตกลงเอฟทีเอส่วนใหญ่เน้นถึงการลดภาษีแต่ทีพีพีมุ่งสู่การจัดทำระเบียบการค้าตามมาตรฐานสูงและแก้ไขปัญหาต่างๆของเศรษฐกิจโลกในศตวรรษที่ 21 เพื่อผลักดันการขยายตัวและการสร้างงานทำในประเทศสมาชิก และทีพีพีไม่เพียงแต่ครอบคลุมด้านเศรษฐกิจเท่านั้น หากยังรวมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและลิขสิทธิ์ทางปัญญาอีกด้วย
สร้างแรงกระตุ้นให้เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพ
ถ้าหากมองในแง่มุมของขอบเขต ข้อตกลงทีพีพีอาจเป็นรองข้อตกลงขององค์การการค้าโลกหรือ WTO แต่นี่คือข้อตกลงที่มีเป้าหมายทำการลดภาษีมากกว่า WTO หลายเท่าและคำนึงถึงช่องว่างในการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก จากการมียอดจีดีพีร้อยละ 40 และมูลค่าการส่งออกและนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 30 ของโลก การเข้าร่วมทีพีพีจะเอื้อประโยชน์มากมายต่อเวียดนาม นายหวูฮุยหว่าง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์เวียดนามเผยว่า “ด้านที่เราจะได้ประโยชน์คือการส่งออก โดยเฉพาะสินค้าที่ถือเป็นจุดแข็งของเวียดนาม เช่น สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและสัตว์น้ำ ตามการพยากรณ์ขององค์กรและหน่วยงานทั้งภายในและต่างประเทศ เมื่อทีพีพีมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ การส่งออกของเวียดนามจะขยายตัวขึ้นถึงหลักสิบ ซึ่งช่วยรักษาอัตราการขยายตัวจีดีพีของเวียดนามให้มีความยั่งยืนและรวดเร็ว”
ผ่านทีพีพี จากการเปิดตลาดการบริการและการลงทุน เวียดนามจะมีโอกาสมากขึ้นเพื่อดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในโครงการและด้านที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง  ใช้วิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยและมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีตามคำมั่นของสมาชิกทีพีพีและผู้ประกอบการในประเทศสมาชิก
ทีพีพีมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการก็หมายความว่า ผู้ประกอบการประเทศสมาชิกทีพีพีจะขยายการลงทุนในเวียดนาม ถือเวียดนามเป็นจุดนัดพบหรือศูนย์การผลิตอุปกรณ์และอะไหล่เพื่อการบริโภคและป้อนให้แก่การผลิตในเวียดนามและส่งออกไปยังประเทศสมาชิกทีพีพีอื่นๆ
โดยเฉพาะเมื่อเข้าร่วมทีพีพี เวียดนามจะมีโอกาสสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนกับหลายประเทศและหลีกเลี่ยงการอาศัยบางหุ้นส่วนมากเกินไป
ในด้านสังคม ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากทีพีพีจะสร้างงานให้แก่แรงงานเวียดนาม โดยเฉพาะในเขตชนบทและหน่วยงานที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก เช่น สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า สินค้าการเกษตรและสัตว์น้ำ
ทีพีพีเปิดโอกาสแห่งการพัฒนาให้แก่เศรษฐกิจเวียดนาม - ảnh 2
(Photo Internet)
ความท้าทายไม่น้อย
ในสนามการค้าที่กว้างขวางและมีมาตรฐานสูงอย่างเช่นทีพีพี ความท้าทายแรกสำหรับเวียดนามคือ ต้องพยายามมากขึ้นเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อตอบสนองความต้องการของทีพีพีและลดช่องว่างในการพัฒนากับประเทศสมาชิกอื่นๆ
ความท้าทายที่สองคือด้านที่ประสบอุปสรรค เช่น การเลี้ยงสัตว์หรือการบริการ แต่อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ในตลอด 8 ปีที่ปฏิบัติคำมั่นต่างๆในกรอบ WTO เวียดนามอาจแก้ไขปัญหานี้ได้
ในด้านสังคม สำหรับสถานประกอบการที่อ่อนแอ สถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ถ้าหากไม่มีมาตรการแก้ไขที่เหมาะสม สถานประกอบการเหล่านี้จะประสบความยากลำบาก จนยากที่จะพัฒนาและคงอยู่ต่อไป ดังนั้นเพื่อแก้ไขผลกระทบดังกล่าว รัฐมนตรีหวูฮุยหว่างเผยว่า “สิ่งแรกที่ต้องทำคือเราต้องทำการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการขยายตัวต่อไป พวกเราจะจัดใหม่สาขาอาชีพตามแนวทางส่งเสริมสาขาอาชีพที่มีความได้เปรียบ ส่วนสาขาอาชีพที่อ่อนแอหรือล้าหลังจะมีมาตรการแก้ไขหรือพูดคุยกับประเทศสมาชิกทีพีพีเพื่อขอความช่วยเหลือจากพวกเขา สิ่งที่สองคือ ต้องปรับปรุงระเบียบนิตินัยให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะข้อกำหนดด้านการค้า การลงทุน เศรษฐกิจและสถานประกอบการ”
หลังจากที่เสร็จสิ้นการเจรจาทีพีพี แต่ละประเทศสมาชิกจะตรวจสอบด้านกฎหมายและคำศัพท์ของข้อตกลงวให้สอดคล้องกับกฎหมายของประเทศตนและจะยื่นเสนอให้รัฐสภาพิจารณาอนุมัติ
ทีพีพีถือเป็นตัวอย่างของข้อตกลงการค้าเสรีในศตวรรษที่ 21 ดังนั้น เมื่อเข้าร่วมข้อตกลงฉบับนี้ เวียดนามจะได้ประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ ซึ่งช่วยให้เวียดนามสามารถรักษาอัตราการขยายตัวจีดีพีอย่างยั่งยืน มีส่วนร่วมต่อการปฏิบัติเป้าหมายสวัสดิการสังคมที่เวียดนามได้วางไว้.

คำติชม