ตูนีเซียกับความเสี่ยงที่จะเกิดกระบวนการปฏิวัติครั้งที่2

Anh Huyen/VOV5
Chia sẻ
(VOVworld)-ประเทศตูนีเซียซึ่งถูกมองว่าเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จที่สุดในกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยหลังขบวนการวสันต์แห่งอาหรับในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือกำลังต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่ไร้เสถียรภาพทางการเมืองและอาจจะตกเข้าสู่กระแสวิกฤตของภูมิภาค ....
(VOVworld)-ประเทศตูนีเซียซึ่งถูกมองว่าเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จที่สุดในกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยหลังขบวนการวสันต์แห่งอาหรับในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือกำลังต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่ไร้เสถียรภาพทางการเมืองและอาจจะตกเข้าสู่กระแสวิกฤตของภูมิภาค โดยต่อจากการปฏิวัติดอกมะลิเมื่อเดือนมีนาคมปี2011 ความขัดแย้งในรัฐบาลผสมและการคัดค้านจากฝ่ายค้านที่นับวันทวีความรุนแรงในปัจจุบันอาจจะนำไปสู่ความเสี่ยงที่จะเกิดกระบวนการปฏิวัติครั้งที่สองในประเทศนี้
ตูนีเซียกับความเสี่ยงที่จะเกิดกระบวนการปฏิวัติครั้งที่2 - ảnh 1
การปฏิวัติดอกมะลิเมื่อเดือนมีนาคมปี2011 

ในช่วงหลายวันมานี้ ชาวตูนีเซียหลายพันคนได้รวมตัวเดินขบวนประท้วงรัฐบาลซึ่งได้ทำให้ประชามตินึกภาพสถานการณ์ในตูนีเซียเหมือนเมื่อ2ปีก่อนหลังจากที่นายโมฮัมเหม็ด บูอาซีซี ได้จุดไฟเผาตัวเองเพื่อคัดค้านรัฐบาลที่ปราบปรามผู้ขายแผงลอยบนถนน ซึ่งเปลวไฟแห่งความโกรธแค้นนั้นได้ลุกลามไปทั่วประเทศอย่างรวดเร็วจนนำไปสู่การปฏิวัติดอกมะลิที่สร้างนิมิตหมายสำคัญแห่งประวัติศาสตร์โดยการโค่นล้มอำนาการปกครองเผด็จการของประธานาธิบดี เบนอาลี พร้อมทั้งได้กลายเป็นพลังขับเคลื่อนที่พัฒนาเป็นกระบวนการปฏิรูปวสันต์แห่งอาหรับในทั่วตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ
ถ้าเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคที่เคยผ่านเหตุการณ์ความผันผวนแห่งการปฏิรูปนั้น กระบวนการปรับเปลี่ยนทางการเมืองในตูนีเซียนั้นได้เป็นไปอย่างสงบ โดยภายหลังการโค่นล้มผู้นำเผด็จการไม่กี่เดือน ตูนีเซียได้จัดการเลือกตั้งอย่างมีประชาธิปไตยครั้งแรกซึ่งสร้างความหวังให้แก่ประชาชนในการที่จะนำพาประเทศเข้าสู่ศักราชใหม่ที่สดใส แต่บรรยากาศที่สงบสุขนั้นอยู่ได้ไม่นานเพราะความขัดแย้งภายในสังคมโดยเฉพาะระหว่างฝ่ายอิสลามที่กุมอำนาจกับกองกำลังที่ต่อต้านศาสนาอิสลามฝ่ายค้านที่ก็ยังคงยืดเยื้อ และนับตั้งแต่เกิดการลอบสังหารนักการเมืองที่มีหัวก้าวหน้า จอครี เบเลด เมื่อเดือนกุมภาพันธ์และตามด้วยการลอบสังหารสส.ที่ต่อต้านอิสลาม เอ็ม บราห์มี เมื่อเดือนกรกฎาคม ตูนีเซียได้ตกเข้าสู่สภาวการณ์แห่งความรุนแรง ซึ่งชาวตูนีเซียหลายคนได้โทษว่า พรรคอิสลามสายกลาง เอนนาห์ดา เป็นผู้อยู่เบื้องหลังสองเหตุการณ์ดังกล่าวและถึงแม้รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ลอตฟี เบนเจด์ดูได้ชี้ว่า นี่เป็นฝีมือของสมาชิกขบวนการมุสลิมซุนหนี่แต่ก็ไม่สามารถคลี่คลายความโกรธแค้นของฝ่ายค้านได้ แถมผู้ชุมนุมประท้วงยังเรียกร้องให้รัฐบาลอิสลามต้องลาออก
ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า เส้นทางการปฏิรูปในตูนีเซียอาจจะไม่ซับซ้อนเท่านี้ถ้าหากไม่มีความปั่นป่วนทางการเมืองในประเทศเพื่อนบ้านอียิปต์เพื่อโค่นล้มประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ดมอร์ซี ซึ่งสถานการณ์ในอียิปต์ถือเป็นแรงจูงใจให้กลุ่มชาวตูนีเซียที่กำลังชุมนุมกันนั้นขยายขบวนการคัดค้านให้รุนแรงมากขึ้น จนทำให้เกิดความวิตกว่าสถานการณ์ตูนีเซียจะซ้ำรอยอียิปต์โดยสาเหตุสำคัญของปัญหาคือแผนการพัฒนาตูนีเซียเป็นประเทศอิสลามของพรรคเอนนาห์ดา ซึ่งเป็นแกนนำในรัฐบาล นอกจากนั้นตูนีเซียยังต้องรับมือกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มอิสลามจีฮัดที่เกี่ยวพันธ์กับกลุ่มก่อการร้ายอัลกออีดะห์โดยได้มีการตั้งฐานทัพลึกเข้าไปในเขตป่าเขาที่ติดกับชายแดนแอลจีเรียและเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ได้มีทหารตูนีเซีย8นายเสียชีวิตในการต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายในเขตนี้ ซึ่งนับเป็นเหตุผลสำคัญเพื่อให้ฝ่ายค้านโทษรัฐบาลว่าประสบความล้มเหลวในการควบคุมกลุ่มอิสลามหัวรุนแรง บวกกับความผิดหวังของประชาชนต่อรัฐบาลที่นับวันเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากปัญหาคนว่างงานได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ18 ปัญหาคอรับชั่นที่นับวันขยายตัวส่วนเศรษฐกิจกลับชลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงการปฏิวัติดอกมะลิ
ปัจจุบัน ต่อแรงกดดันจากขบวนการประท้วง นายกฯตูนีเซียและผู้นำพรรคอิสลามสายกลางเอนนาห์ดาต้องออกมาแถลงยอมรับขอเสนอของฝ่ายค้านเพื่อมุ่งบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาลผสมหรือรัฐบาลกู้ชาติพร้อมทั้งเรียกร้องจัดการเลือกตั้งทั่วประเทศในวันที่17ธันวาคมนี้ แต่รัฐบาลก็ปัดปฏิเสธเรื่องการจัดการสนทนาที่มีเงื่อนไขให้รัฐบาลลาออก ซึ่งสิ่งนี้ได้สร้างความกังวลให้แก่ประชามติเกี่ยวกับสถานการณ์ที่อาจจะทวีความร้อนแรงมากขึ้นและความเสี่ยงที่จะเกิดขบวนการปฏิวัติครั้งที่สองในประเทศแอฟริกาเหนือนี้ถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามในขณะนี้./.

คำติชม