ค้ำประกันให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆมีความเท่าเทียมกัน สามัคคี และเคารพกันเพื่อร่วมกันพัฒนา |
กลุ่มผู้ที่ไม่หวังดีได้มุ่งปฏิบัติแผนกุศโลบายระยะยาวในเขตที่ราบสูงเตยเงวียน นั่นคือประชาสัมพันธ์เพื่อชักชวนปลุกปั่นให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆขอแยกตัวตั้งเขตปกครองตนเองและจัดตั้งสิ่งที่เรียกว่า “รัฐเดกา” หรือ “รัฐเดกาของเขตที่ราบสูง” แยกเขตที่ราบสูงเตยเงวียนออกจากกลุ่มชาติพันธุ์และอธิปไตยของเวียดนาม ทำให้เขตนี้ไร้เสถียรภาพและเป็น “เขตปกครองตนเอง”เพื่อมุ่งสู่การจัดตั้ง “รัฐอิสระ”โดยได้ยุยงปลุกปั่น สร้างความขัดแย้งเพื่อสร้างเป็น “จุดร้อนต่างๆ” ซึ่งส่งผลกระทบในทางลบต่อความมั่นคง การเมือง กลุ่มมหาสามัคคีชนในชาติและใช้เป็นข้ออ้างเพื่อแทรกแซงกิจการภายในของเวียดนาม
ทุกกลุ่มชาติพันธุ์ในเวียดนามต่างเป็นพี่น้องกัน
แม้กลุ่มผู้ที่ไม่หวังดีได้ใช้ทุกวิถีทางเพื่อสร้างความแตกแยกในกลุ่มมหาสามัคคีชนในชาติ แต่ก็ไม่สามารถเปลี่ยนความจริงที่ว่า กลุ่มชาติพันธุ์ 54ชนเผ่าของเวียดนามเป็นพี่น้องครอบครัวเดียวกัน โดยในจดหมายที่ส่งถึงการประชุมใหญ่กลุ่มชาติพันธุ์ภาคใต้ ณ เมือง Pleiku จังหวัดยาลาย เมื่อวันที่ 19เมษายนปี 1946 ประธานโฮจิมินห์ได้เขียนว่า “ไม่ว่าจะเป็นชนเผ่ากิงห์ โถ เหมื่อง ม้าน ยาลาย เอเด เซดังและบานา เป็นต้นต่างมีรากเหง้าและสายเลือดเดียวกันและเป็นพี่น้องกัน” จากการต่อยอดแนวคิดโฮจิมนห์เกี่ยวกับมหาสามัคคีชนในชาติ พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามได้วางแนวทางที่เสมอต้นเสมอปลายคือส่งเสริมและสร้างกลุ่มมหาสามัคคีชนในชาติบนพื้นฐานของการค้ำประกันให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆมีความเท่าเทียมกัน สามัคคี เคารพและช่วยเหลือกันในการพัฒนา ส่วนในหลักนโยบายการสร้างสรรค์ประเทศในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่สังคมนิยมฉบับเพิ่มเติมปี 2011ระบุว่า “ต้องขยายและเสริมสร้างความสามัคคีของทั้งพรรค ประชาชนทุกคน กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆและความสามัคคีระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ปฏิบัตินโยบายแห่งความเสมอภาค สามัคคี ให้ความเคารพและช่วยเหลือกันระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อำนวยความสะดวกให้แก่กลุ่มชาติพันธุ์ในการพัฒนาพร้อมๆกับการพัฒนาของกลุ่มชาติพันธุ์เวียดนาม” ส่วนเอกสารของการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามสมัยที่ 13ก็ได้ยืนยันว่า “ต้องค้ำประกันให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆได้รับสิทธิเท่าเทียมกัน สามัคคี ให้ความเคารพและช่วยเหลือกันเพื่อพัฒนา มีกลไกส่งเสริมความพยายามและการพึ่งตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม การแก้ไขปัญหาความยากจนในหลายมิติอย่างยั่งยืน ดูแลและสร้างแถวขบวนเจ้าหน้าที่และผู้ที่ได้รับการนับถือในเขตชนกลุ่มน้อย ต่อต้านทุกแผนกุศโลบาย การกระทำที่สร้างความแตกแยกและทำลายกลุ่มมหาสามัคคีชนในชาติและมีการลงโทษผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัด”
ค้ำประกันให้ทุกกลุ่มชาติพันธุ์มีความเท่าเทียมกัน สามัคคี ให้ความเคารพและช่วยเหลือกันเพื่อพัฒนา
เขตที่ราบสูงเตยเงวียนมีสถานะเชิงยุทธศาสตร์ทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคม กลาโหม ความมั่นคงและการต่างประเทศ ดังนั้น การสร้างกลุ่มมหาสามัคคีชนในชาติและระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในเขตนี้จึงถือเป็นหน้าที่สำคัญของพรรคและรัฐเวียดนาม โดยได้มีการปฏิบัตินโยบายพัฒนาเศรษฐกิจสังคมเพื่อยกระดับชีวิตทั้งด้านวัตถุและจิตใจให้แก่ประชาชนชนกลุ่มน้อยในเขต เช่น จังหวัดยาลาย กอนตุมและดั๊กลั๊กได้เปิดการรณรงค์ “เปลี่ยนแปลงความคิดและวิธีการผลิตเพื่อช่วยให้ประชาชนชนกลุ่มน้อยหลุดพ้นจากความยากจนอย่างยั่งยืน” จังหวัดเลิมด่งได้ประกาศใช้มติเกี่ยวกับการพัฒนาเขตชนกลุ่มน้อยระดับจังหวัดระยะปี 2018 – 2025 วิสัยทัศน์ถึงปี 2030 ส่วนจังหวัดกอนตุมมีมติเกี่ยวกับการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าอาชีพพื้นเมืองของชนกลุ่มน้อยในท้องถิ่นจนถึงปี 2025วิสัยทัศน์ถึงปี 2030 ควบคู่กันนั้น จังหวัดต่างๆในเขตที่ราบสูงเตยเงวียนได้เน้นพัฒนาหมู่บ้านชนกลุ่มน้อยอย่างยั่งยืน ให้ความช่วยเหลือด้านการเงินให้แก่นักเรียนและนักศึกษาชนกลุ่มน้อย ช่วยเหลือประชาชนชนกลุ่มน้อยในการกู้เงินเพื่อทำการผลิตและประกอบธุรกิจ สร้างแถวขบวนเจ้าหน้าที่ชนกลุ่มน้อย ทางการปกครองท้องถิ่นให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและส่งเสริมคุณค่า กิจกรรมทางวัฒนธรรม ความเชื่อและศาสนาในเขตที่ราบสูงเตยเงวียน ผสานการสร้างสรรค์วัฒนธรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม การสร้างสรรค์ชนบทใหม่ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในหมู่บ้าน เขต กลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาต่างๆ
จากนโยบายด้านศาสนาและชาติพันธุ์ที่ถูกต้อง ทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในจังหวัดต่างๆของเขตที่ราบสูงเตยเงวียนอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนได้รับการยกระดับให้ดีขึ้น โดยในช่วงปี 2015 – 2020 อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจจังหวัดดั๊กลั๊กเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 9.13 ต่อปี อัตราครอบครัวที่ยากจนลดลงเฉลี่ยร้อยละ2.87 ต่อปี ส่วนที่จังหวัดกอนตุม อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 9.7 ต่อปี อัตราครอบครัวที่ยากจนลดลงเฉลี่ยร้อยละ4.05 ต่อปี ในขณะที่จังหวัดยาลายมีอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจเฉลี่ยอยู่7.93 ต่อปี อัตราครอบครัวที่ยากจนลดลงจากร้อยละ19.71 เมื่อปี 2015 มาอยู่ต่ำกว่าร้อยละ4.5ในปี2020 อัตราครอบครัวที่ยากจนในเขตชนกลุ่มน้อยลดลงจากร้อยละ40.1 มาอยู่ต่ำกว่าร้อยละ6.25 ที่จังหวัดดั๊กนง อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 8.02 ต่อปี อัตราครอบครัวที่ยากจนลดลงเป็นร้อยละ12.28 ในปี 2020 ส่วนที่จังหวัดเลิมด่ง อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 8.0 ต่อปีและอัตราครอบครัวที่ยากจนลดลงเป็นร้อยละ1.75 ซึ่งการปฏิบัตินโยบายด้านศาสนาและชาติพันธุ์ในเขตที่ราบสูงเตยเงวียนยังมีส่วนร่วมยกระดับความตระหนักเกี่ยวกับความสามัคคีของประชาชนจากนั้นมีส่วนร่วมต่อการทำลายแผนกุศโลบายที่สร้างความแตกแยกและยุยงปลุกปั่นของกลุ่มผู้ที่ไม่หวังดี
ทั้งนี้ แนวทางและนโยบายที่สำคัญด้านศาสนาและชาติพันธุ์ ผลสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและเสรีภาพด้านความเชื่อและการนับถือศาสนาในเขตที่ราบสูงเตยเงวียนได้สะท้อนความจริงที่มีชีวิตชีวาเพื่อปัดปฏิเสธคารมที่ไม่ถูกต้องและบิดเบือนของกลุ่มผู้ที่ไม่หวังดีในการใส่ร้ายพรรคและรัฐว่า “ไม่ดูแลเอาใจใส่ประชาชนชนกลุ่มน้อย” หรือ “เลือกปฏิบัติ” ต่อชนกลุ่มน้อยในเขตที่ราบสูงเตยเงวียน อีกทั้งแสดงให้เห็นว่า กลุ่มชาติพันธุ์ 54 ชนเผ่าเวียดนามเป็นพี่น้องกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขและฟันฝ่าอุปสรรคและความท้าทายต่างๆเพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ประเทศเวียดนามให้พัฒนาอย่างยั่งยืนมากขึ้น.