ความสัมพันธ์เวียดนาม - ญี่ปุ่น: เส้นทางแห่งการพัฒนาใหม่

Vân + Hoa
Chia sẻ
(VOVWORLD) - ตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุก นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ซูงะ โยชิฮิเดะ จะเดินทางมาเยือนเวียดนามในเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งเป็นครั้งที่สองติดต่อกันที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของญี่ปุ่นได้เลือกเวียดนามเป็นประเทศแรกเพื่อมาเยือนหลังจากขึ้นดำรงตำแหน่ง  อันเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ดีความ ความไว้วางใจทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศ รวมทั้งนโยบายด้านการต่างประเทศที่เสมอต้นเสมอปลายของญี่ปุ่นในการให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์กับเวียดนามและภูมิภาคอาเซียน นี่ก็เป็นพื้นฐานใหม่ในการสร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่เส้นทางแห่งร่วมมือเพื่อการพัฒนาใหม่ระหว่างสองประเทศ
ความสัมพันธ์เวียดนาม - ญี่ปุ่น: เส้นทางแห่งการพัฒนาใหม่ - ảnh 1(vinanet.vn

การเยือนเวียดนามครั้งนี้มีขึ้นในสภาวการณ์ที่ความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่กว้างลึกเวียดนาม – ญี่ปุ่นกำลังพัฒนาอย่างดีงาม โดยญี่ปุ่นยังคงเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจชั้นนำของเวียดนาม เป็นประเทศที่สนับสนุนเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาหรือ ODA รายใหญ่ที่สุดและเป็นนักลงทุนรายใหญ่อันดับ 2 ในเวียดนาม

นโยบายที่เสมอต้นเสมอปลายและมีเสถียรภาพ

การเลือกเวียดนามเป็นประเทศแรกเพื่อมาเยือนหลังจากขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นของนาย ซูกะโยชิฮิเดะ เป็นสิ่งที่สอดคล้องกับคำประกาศของเขาเกี่ยวกับการสานต่อนโยบายทางเศรษฐกิจและการต่างประเทศของอดีตนายกรัฐมนตรี  อาเบะ ชินโซ อีกทั้งแสดงให้เห็นถึงความยั่งยืนและความเสมอต้นเสมอปลายในนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่นที่มีต่อเวียดนามบนพื้นฐานความสัมพันธ์หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่กว้างลึกระหว่างสองประเทศเพื่อสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองที่ถูกระบุในแถลงการณ์ร่วมระหว่างทั้งสองประเทศเมื่อปี 2014

เมื่อหวนมองความสัมพันธ์ทวิภาคี โดยเฉพาะหลังจากมีการฟื้นฟูการช่วยเหลือแก่เวียดนามตั้งแต่ปี 1992 จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลญี่ปุ่นยังคงแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญต่อบทบาทและสถานะของเวียดนามทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ญี่ปุ่นเป็นประเทศ G7 ประเทศแรกที่ต้อนรับเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามมาเยือนเมื่อปี1995 เป็นประเทศ G7 ประเทศแรกที่สถาปนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์กับเวียดนามเมื่อปี 2009 และได้เป็นประเทศ G7 ประเทศแรกที่เชิญผู้นำระดับสูงของเวียดนามเข้าร่วมการประชุมสุดยอด G7 ขยายวงค์ที่ญี่ปุ่นเมื่อปี 2016

ญี่ปุ่นยังสนับสนุนเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาหรือโอดีเอแก่เวียดนามแต่เนิ่นๆคือตั้งแต่ปี 1992 และได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจนถึงขณะนี้ วงเงินนี้คิดเป็นมากกว่า 1ใน 3 ของยอดเงินโอดีเอของประเทศต่างๆที่สงวนให้แก่เวียดนามและเวียดนามได้ใช้แหล่งเงินช่วยเหลือที่ล้ำค่านี้อย่างมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติโครงการแก้ปัญหาความยากจนและพัฒนาเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งมีหลายโครงการได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของสัมพันธไมตรีและความร่วมมือระหว่างสองประเทศ เช่น สนามบินนานาชาติโหน่ยบ่าย สนามบินนานาชาติเตินเซินเญิตและสะพานเหญิดเติน

ในเกือบ 50 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต เวียดนามและญี่ปุ่นได้กลายเป็นสองประเทศที่มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและน่าไว้วางใจในกรอบหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่กว้างลึกเพื่อสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองในเอเชีย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม เหงียนก๊วกหยุง ประเมินว่า ความสัมพันธ์เวียดนาม - ญี่ปุ่นเป็นความสัมพันธ์พิเศษมาก ญี่ปุ่นให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์กับเวียดนามในความสัมพันธ์โดยรวม ในการพัฒนาของทุกด้านของเวียดนามต่างมีการเข้าร่วมของญี่ปุ่น การลงทุนของญี่ปุ่นในเวียดนามก็อยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับอัตราทั่วไปในอาเซียน ญี่ปุ่นยังเป็นหนึ่งในหุ้นส่วนชั้นนำที่ลงทุนในเวียดนาม รวมทั้งเงิน ODA

ความสัมพันธ์เวียดนาม - ญี่ปุ่น: เส้นทางแห่งการพัฒนาใหม่ - ảnh 2นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ซูงะ โยชิฮิเดะ (Nikkei Asia)

เป็นหุ้นส่วนที่สำคัญและน่าเชื่อถือต่อไป

ผลงานที่โดดเด่นของความสัมพันธ์ทวิภาคีในตลอดเกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาจะได้รับการทำนุบำรุงและพัฒนาต่อไปผ่านการเยือนเวียดนามครั้งนี้ของนายกรัฐมนตรี ซูงะ โยชิฮิเดะ เวียดนามจะเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าไว้วางใจของนักลงทุนญี่ปุ่นโดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆในศตวรรษ 21 เช่น เทคโนโลยีดิจิทัล โทรคมนาคมและพลังงานหมุนเวียน เวียดนามจะจัดสรรแหล่งบุคลากรจำนวนมากเพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการญี่ปุ่น โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าสู่ระยะฟื้นตัวอย่างรวดเร็วภายหลังวิกฤษโควิด-19 นาย Yamada Takio เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำเวียดนามได้เผยว่า “เวียดนามมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งในระยะฟื้นตัวเศรษฐกิจหลังวิกฤษโควิด-19 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเวียดนาม – ญี่ปุ่นจะพัฒนามากขึ้นในระยะต่อไป ผมคิดว่า การฉลองครบรอบ 50 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเวียดนาม - ญี่ปุ่นจะเป็นช่วงเวลาที่พิเศษมาก จากความสัมพันธ์ที่ดีงามตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ญี่ปุ่นและเวียดนามจะมุ่งสู่ความสัมพันธ์ใหม่ นั่นคือความสัมพันธ์ที่เสมอภาค มีมุมมองร่วมกันและให้ความเคารพซึ่งกันและกัน

ในสภาวการณ์ที่สถานการณ์ความมั่นคงในภูมิภาคที่ต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ การแลกเปลี่ยนข้อมูล การมีความเข้าใจร่วมและกำหนดแนวทางความร่วมมือเพื่อสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคจะเป็นเนื้อหาสำคัญของการพบปะระหว่างนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นกับบรรดาผู้นำเวียดนาม ตลอดจน การผลักดันเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน ความมั่นของผู้นำทั้งสองประเทศถือเป็นสัญญาณที่สำคัญเพื่อให้นักลงทุนและนักธุรกิจผลักดันการประกอบธุรกิจและลงทุนในเวียดนาม

จากผลงานที่ได้บรรลุ อาจกล่าวได้ว่า ความสัมพันธ์ร่วมมือเวียดนาม - ญี่ปุ่นกำลังอยู่ในระยะพัฒนาที่ดีที่สุด การที่นายกรัฐมนตรี ซูงะ โยซิฮิเดะ เลือกเวียดนามเป็นประเทศแรกเพื่อมาเยือนในกรอบการเยือนต่างประเทศครั้งแรกของตนแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นเกี่ยวกับศักยภาพความร่วมมือใหม่ระหว่างสองประเทศ ./.

คำติชม