การประชุมสุดยอดครั้งแรกระหว่างประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูตินกับนาย โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐ (AP) |
ตามความเห็นของทั้งสองฝ่าย ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับสหรัฐได้ถดถอยมาเป็นเวลาหลายปี และขณะนี้ก็อยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ โดยช่องทางการติดต่อในการประสานงานทวิภาคีถูกระงับเกือบทั้งหมด ในสภาวการณ์ดังกล่าว การที่ทั้งสองฝ่ายพร้อมเจรจาเพื่อบรรลุเสถียรภาพเชิงยุทธศาสตร์เป็นหนึ่งในผลงานที่โดดเด่นที่สุดของการประชุมสุดยอดรัสเซีย-สหรัฐ ณ เมืองเจนีวา
การสร้างความสัมพันธ์ที่มั่นคงยิ่งขึ้น
ในฐานะเป็นสองประเทศมหาอำนาจในโลก รัสเซียและสหรัฐมีหลายหัวข้อที่จะหารือกันอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นการหารือทวิภาคีการเจรจาพหุภาคี ปัญหาการปะทะระดับภูมิภาคและความมั่นคงระหว่างประเทศ หนึ่งในสามประเด็นสำคัญที่ทั้งสองฝ่ายบรรลุความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ในการประชุมครั้งนี้คือความมุ่งมั่นในการรักษาเสถียรภาพเชิงยุทธศาสตร์ ฟื้นฟูการเจรจาอย่างครอบคลุมเกี่ยวกับเสถียรภาพเชิงยุทธศาสตร์และตกลงที่จะส่งเอกอัครราชทูตกลับไปปฏิบัติหน้าที่ ตลอดจนการฟื้นฟูการปรึกษาหารือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายอีกครั้ง
อาจกล่าวได้ว่า การบรรลุผลงานที่คาดไม่ถึงครั้งนี้เป็นเพราะทั้งสองประเทศได้แสดงความปรารถนาดีในการเจรจา โดยเฉพาะ นับตั้งแต่หลังการพูดคุยทางโทรศัพท์ระหว่างประธานาธิบดีทั้งสองประเทศเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาและการพบปะระหว่างผู้นำของกระทรวงและหน่วยงานต่างๆเพื่อเตรียมพร้อมให้แก่การประชุมสุดยอดที่ทั้งสองฝ่ายประเมินว่า "มีลักษณะสร้างสรรค์" การที่ทั้งสองฝ่ายพร้อมรับฟังความคิดเห็นของกันในปัญหาที่ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีซึ่งสามารถสร้างโอกาสในการหารือครั้งต่อไปเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น
ถึงแม้มอสโคว์และวอชิงตันยังไม่สามารถฟื้นฟูความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันได้ แต่ทั้งสองฝ่ายก็ตระหนักได้ดีถึงความจำเป็นในการมีความสัมพันธ์แบบร่วมมือกันเพื่อป้องกันไม่ให้ความตึงเครียดทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยฝ่ายรัสเซียได้ประกาศหลายครั้งถึงความพร้อมที่จะร่วมมือกับสหรัฐเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีบนหลักการแห่งความเสมอภาคและการให้ความเคารพผลประโยชน์ของแต่ละฝ่าย
นาย โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐ (AP) |
การกำหนดระเบียบโลก
ถึงแม้จะมีมุมมองที่แตกต่างกันและมักเผชิญหน้ากันเสมอ แต่จากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสถานการณ์โลก ทำให้ทั้งรัสเซียและสหรัฐต่างได้แสดงท่าทีที่แข็งกร้าวแต่ในขณะเดียวกันก็พร้อมแสดงความปรารถนาดีเพื่อรับมือความท้าทายที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่
ในขณะที่จีนนับวันกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของสหรัฐ ทางการของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ดูเหมือนว่าจะให้ความสำคัญกับความร่วมมือกับมอสโคว์ในด้านที่ทั้งสองฝ่ายต่างมีผลประโยชน์ร่วมกัน แม้นโยบายที่แข็งกร้าวต่อรัสเซียยังคงมีอยู่ แต่ส่วนใหญ่เป็นเพียงลักษณ์เชิงสัญลักษณ์เท่านั้น ผลงานที่ได้บรรลุที่แท้จริงในความร่วมมือทวิภาคี เช่น การขยายข้อตกลงควบคุมอาวุธ New START หรือการหารือทางโทรศัพท์ระหว่างผู้นำของทั้งสองประเทศตั้งแต่ช่วงแรกๆหลังจากที่นาย ไบเดน เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ตลอดจนการที่สหรัฐไม่คว่ำบาตรท่อส่งก๊าซ Nord Stream 2 จากรัสเซียไปยังยุโรป ต่างมุ่งสู่เป้าหมายที่วอชิงตันแสวงหา นั่นคือการสร้างความสัมพันธ์ที่มั่นคงและคาดเดาได้กับมอสโคว์ เหตุการณ์ที่ประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน ตัดสินใจพบปะกับประธานาธิบดีรัสเซีย ปูติน ในช่วงต้นวาระแสดงให้เห็นว่า เขามีมุมมองใหม่เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับรัสเซีย พร้อมที่จะรักษาเสถียรภาพของความสัมพันธ์นี้เพื่อแก้ไขความท้าทายที่ใหญ่กว่าที่มาจากจีน
ในขณะเดียวกัน รัสเซียก็หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับวอชิงตัน และมอสโคว์จะใช้ประโยชน์สูงสุดจากอำนาจที่มีอยู่ ใช้ประโยชน์จากการเผชิญหน้าระหว่างสองประเทศมหาอำนาจคือสหรัฐและจีนเพื่อได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และธำรงสถานะของรัสเซียในความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐ- จีน-รัสเซีย
นอกจากนี้ ตามความเห็นของบรรดาผู้เชี่ยวชาญ ประเทศในเอเชียส่วนใหญ่จะได้รับผลในเชิงบวกจากความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดน้อยลงระหว่างสหรัฐกับรัสเซีย ระเบียบพหุภาคีในภูมิภาคจะปลอดภัยมากขึ้นเมื่อทั้งรัสเซียและสหรัฐหันมาสนใจเอเชีย ความสัมพันธ์ที่ดีงามมากขึ้นระหว่างวอชิงตันกับมอสโคว์จะอำนวยความสะดวกให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รับมือกับทางการปักกิ่งที่นับวันก้าวร้าวมากขึ้น.