การเยือนรัสเซียของประธานาธิบดีอาร์เจนตินามีวัตถุประสงค์มากกว่าการขยายความร่วมมือด้านการค้า

Anh Huyen - VOV5
Chia sẻ
(VOVworld) – วันที่ 22 เมษายน  นางคริสตินา เฟอร์นันเดซ เดอ เคิร์ชเนอร์ ประธานาธิบดีอาร์เจนตินาได้เริ่มการเยือนสหพันธรัฐรัสเซียโดยไม่เพียงแต่เป็นการเยือนซึ่งกันและกันหลังการเยือนอาร์เจนตินาของประธานาธิบดีรัสเซียวลาดีเมียร์ปูตินเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2014 เท่านั้น หากยังเป็นการเยือนที่มีนัยยะแอบแฝงอีกด้วย สำหรับรัสเซีย นี่คือโอกาสเพื่อใช้ประเทศอาร์เจนตินาดำเนินยุทธศาสตร์ยืนยันสถานะประเทศมหาอำนาจในเขตลาตินอเมริกา ส่วนสำหรับอาร์เจนตินา การสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับรัสเซียจะช่วยให้ประเทศนี้เสริมสร้างพลังอันแข็งแกร่งในการป้องกันในปัญหามู่เกาะมัลบีนัสที่กำลังพิพาทกับอังกฤษ
(VOVworld) – วันที่ 22 เมษายน  นางคริสตินา เฟอร์นันเดซ เดอ เคิร์ชเนอร์ ประธานาธิบดีอาร์เจนตินาได้เริ่มการเยือนสหพันธรัฐรัสเซียโดยไม่เพียงแต่เป็นการเยือนซึ่งกันและกันหลังการเยือนอาร์เจนตินาของประธานาธิบดีรัสเซียวลาดีเมียร์ปูตินเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2014 เท่านั้น หากยังเป็นการเยือนที่มีนัยยะแอบแฝงอีกด้วย สำหรับรัสเซีย นี่คือโอกาสเพื่อใช้ประเทศอาร์เจนตินาดำเนินยุทธศาสตร์ยืนยันสถานะประเทศมหาอำนาจในเขตลาตินอเมริกา ส่วนสำหรับอาร์เจนตินา การสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับรัสเซียจะช่วยให้ประเทศนี้เสริมสร้างพลังอันแข็งแกร่งในการป้องกันในปัญหามู่เกาะมัลบีนัสที่กำลังพิพาทกับอังกฤษ
การเยือนรัสเซียของประธานาธิบดีอาร์เจนตินามีวัตถุประสงค์มากกว่าการขยายความร่วมมือด้านการค้า - ảnh 1
นางคริสตินา เฟอร์นันเดซ เดอ เคิร์ชเนอร์ ประธานาธิบดีอาร์เจนตินา (AFP)

ในกรอบการเยือนเป็นเวลา 2 วัน นางคริสตินา เฟอร์นันเดซ เดอ เคิร์ชเนอร์และนาย วลาดีเมียร์ ปูตินจะหารือปัญหาต่างๆ มาตรการปฏิบัติความร่วมมือในด้านที่ถือเป็นจุดแข็งของแต่ละฝ่าย โดยเฉพาะพลังงานนิวเคลียร์ แต่ผู้สังเกตการณ์เผยว่า ความร่วมมือด้านกลาโหมจะเป็นประเด็นหลักในการพบปะครั้งนี้
ขยายความร่วมมือทางทหารและกลาโหม
ข่าวล่าสุดจากกระทรวงกลาโหมรัสเซียระบุว่า รัสเซียและอาร์เจนตินาได้เห็นพ้องกันเกี่ยวกับแผนการยกระดับความร่วมมือทางทหารในสภาวการณ์ที่สถานการณ์โลกกำลังมีความผันผวนเป็นอย่างมาก ซึ่งข้อตกลงนี้ได้รับการอนุมัติจากการประชุมระหว่างเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมทั้งสองประเทศนอกกรอบการประชุมความมั่นคงระหว่างประเทศครั้งที่ 4 ณ กรุงมอสโคว์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ก่อนหน้านั้น เมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2014 นายวลาดีเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียได้มีการพบปะกับนาง คริสตินา เฟอร์นันเดซ เดอ เคิร์ชเนอร์ ประธานาธิบดีอาร์เจนตินาและได้หารือถึงปัญหาต่างๆ โดยย้ำถึงความร่วมมือทางทหารและกลาโหม ซึ่งถือเป็นความร่วมมือสำคัญในระยะใหม่และรัสเซียได้ให้คำมั่นว่า พร้อมที่ขยายความร่วมมือและฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ทหารให้แก่บรรดาประเทศลาตินอเมริกาและอาร์เจนตินาเป็นประเทศหุ้นส่วนสำคัญของรัสเซีย สิ่งที่น่าสนใจคือ ในการเยือนครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันเกี่ยวกับแผนการที่รัสเซียจะขายเครื่องบินรบรุ่น Su -24 รวม 12 ลำให้แก่อาร์เจนตินา ส่วนอาร์เจนตินาจะขายข้าวสาลี ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์และสินค้าการเกษตรต่างๆให้แก่รัสเซีย ดังนั้นในการเยือนครั้งนี้ นอกจากเป้าหมายการขยายความสัมพันธ์ทวิภาคีด้านการค้า แล้วรัสเซียและอาร์เจนตินาจะลงนามสัญญาการซื้ออุปกรณ์ทหารและการยกระดับเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ในด้านความมั่นคงกลาโหมอย่างเป็นทางการ
การเยือนรัสเซียของประธานาธิบดีอาร์เจนตินามีวัตถุประสงค์มากกว่าการขยายความร่วมมือด้านการค้า - ảnh 2
นาย วลาดีเมียร์ ปูตินและนางคริสตินา เฟอร์นันเดซ เดอ เคิร์ชเนอร์ (­AFP)

สองฝ่ายต่างได้รับประโยชน์
แม้ความสัมพันธ์รัสเซีย – อาร์เจนตินาจะมีความราบรื่นมาตลอดโดยเฉพาะในด้านการค้าแต่ยังมีข้อจำกัดในระดับหนึ่ง โดยอาร์เจนตินาไม่ใช่ตลาดส่งออกหลักของรัสเซีย ส่วนรัสเซียก็ไม่ใช่ตลาดส่งออกหลักสำหรับสินค้าเกษตรที่เป็นจุดแข็งของอาร์เจนตินา ดังนั้น ทั้งสองฝ่ายจึงยังไม่สมารถใช้โอกาสที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่
แต่อย่างไรก็ตาม ในสภาวการณ์ที่ฝ่ายตะวันตกกำลังใช้มาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย จนทำให้รัสเซียต้องพยายามขยายตลาดอื่นๆ รวมถึงเขตลาตินอเมริกาก็ถือเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีที่สุดของรัสเซีย จากการขยายการค้าด้านการเกษตรกับบรรดาประเทศอเมริกาใต้ เช่น ประเทศอาร์เจนตินา รัสเซียจะสามารถแก้ไขผลเสียหายจากคำสั่งคว่ำบาตรของยุโรปและสหรัฐในปัญหายูเครนได้ นอกจากนี้ การเพิ่มความแข็งแกร่งด้านทหารให้แก่อาร์เจนตินา โดยเฉพาะการเพิ่มอำนาจการควบคุมน่านฟ้าเหนือหมู่เกาะมัลบีนัสก็เป็นเหมือนคำเตือนต่ออังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศที่ให้การสนับสนุนคำสั่งคว่ำบาตรรัสเซีย
ในขณะเดียวกัน ปัญหาหมู่เกาะมัลบีนัสถือเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อของอาร์เจนตินาในความสัมพันธ์กับอังกฤษ หมู่เกาะมัลบีนัสหรือฟอล์กแลนด์ที่อาร์เจนตินาได้ประกาศอธิปไตยนั้นกำลังอยู่ภายใต้การควบคุมของอังกฤษตั้งแต่ปี 1830 และเมื่อปี 1982 รัฐบาลอาร์เจนตินาได้เปิดสงครามยึดคืนหมู่เกาะดังกล่าวแต่ไม่ประสบชัยชนะเพราะถูกการโต้ตอบจากอังกฤษอย่างดุเดือด ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ก็ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างอังกฤษกับอาร์เจนตินาเรื่อยมาและเมื่อเร็วๆนี้ อาร์เจนตินาได้ประกาศเพิ่มงบประมาณทางทหารประจำปี 2015 ทำให้อังกฤษมีความกังวลเป็นอย่างมากเพราะปัจจุบัน อังกฤษมีทหารที่ประจำการในหมู่เกาะมัลบีนัสเพียง 1,500 นายเท่านั้น ถ้าหากกองทัพอาร์เจนตินามีเครื่องบินรบที่ทันสมัยของรัสเซีย อังกฤษจะเสียเปรียบกว่าอาร์เจนตินา ดังนั้นถ้าหากเกิดสงครามเหมือนเมื่อปี 1982 อังกฤษจะตอบโต้ไม่ทันเพราะอังกฤษอยู่ห่างไกลจากหมู่เกาะดังกล่าวมากกว่าอาร์เจนตินา ดังนั้นอังกฤษจึงประกาศแผนการเพิ่มงบประมาณรายจ่ายด้านความมั่นคงให้แก่หมู่เกาะแห่งนี้เช่นกันเพื่อรับมือกับความพยายามขยายความเข้มแข็งทางทหารของอาร์เจนตินา
ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างรัสเซียกับบรรดาประเทศอเมริกาใต้ทำให้ทั้งอังกฤษและสหรัฐมีความกังวล ส่วนการเยือนสหพันธรัฐรัสเซียครั้งนี้ของนางคริสตินา เฟอร์นันเดซ เดอ เคิร์ชเนอร์ ประธานาธิบดีอาร์เจนตินาที่เน้นถึงความร่วมมือกลาโหมจึงถือเป็นการกลับสู่ภูมิภาคนี้ของรัสเซีย ซึ่งถือเป็นความท้าทายใหม่ต่อสหรัฐและพันธมิตรฝ่ายตะวันตกและมีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดการแข่งขันอาวุธในภูมิภาคนี้ในเวลาอันใกล้ๆนี้./.

คำติชม