เครื่องบิน Airbus ที่อียูผลิตจะถูกสหรัฐเก็บภาษีตามการตัดสินใจของ WTO (AFP) |
การเผชิญหน้าด้านการค้าครั้งนี้เกิดขึ้นในขณะที่สหรัฐกำลังทำสงครามการค้ากับจีน ซึ่งจะสร้างความไร้เสถียรภาพให้แก่เศรษฐกิจโลกมากขึ้นในขณะที่เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบจาก Brexit กรอบการเจรจาและการค้าพหุภาคี โดยเฉพาะของ WTO กำลังถูกทำลายลงทุกขณะ
ความมืดมนของสงครามภาษีมีโอกาสเกิดขึ้น
ในต้นเดือนนี้ องค์การการค้าโลกหรือ WTO ได้ตัดสินว่า ประเทศยุโรปได้อุดหนุนอย่างผิดกฎหมายให้แก่บริษัท Airbus ภายหลังกว่า 1 ทศวรรษที่สหรัฐฟ้องร้องยุโรปเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ชัยชนะของบริษัท Boeing เพราะกลับกัน อียูได้กล่าวหาสหรัฐว่า อุดหนุนอย่างผิดกฎหมายให้แก่บริษัท Boeing ในเวลาที่ผ่านมาเช่นกัน โดยในเวลาที่ผ่านมา บริษัท Boeing ต้องเผชิญกับวิกฤตครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ในรอบ 103 ปีหลังจากเกิดอุบัติเหตุของเครื่องบิน 737 Max 2 ครั้ง ทำให้ลูกค้าของ Boeing หลายรายได้หันไปซื้อเครื่องบินของ Airbus แทนและขณะนี้ ก็มีแนวโน้มว่า จะต้องจ่ายเงินมากขึ้นเนื่องจากปัญหาภาษี ถ้าหากองค์การการค้าโลกตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหานี้ในปี 2020 อียูก็สามารถเก็บภาษีต่อสินค้าที่นำเข้าจากสหรัฐเพื่อตอบโต้มาตรการอุดหนุนบริษัท Boeing ของวอชิงตัน
ดังนั้น การตัดสินใจล่าสุดของ WTO แม้จะเป็นประโยชน์ต่อบริษัท Boeing แต่ก็อาจทำให้เกิดผลกระทบที่ไม่สามารถคาดเดาได้ เพราะนี่คือการตอบโต้ที่สร้างความเสียหายหนักที่สุดเท่าที่ WTO เคยตัดสินใจ ซึ่งเพิ่มความวิตกกังวลให้แก่เศรษฐกิจโลกที่กำลังมีความวุ่นวายเนื่องจากสงครามการค้าและทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับอียูมีความซับซ้อนมากขึ้น เพราะหลังการตัดสินใจของ WTO ทางการของประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศว่า จะเก็บภาษีต่อสินค้าที่นำเข้าจากอียู รวมมูลค่า 7.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี โดยตามรายงานจากสำนักงานตัวแทนการค้าสหรัฐ มาตรการด้านภาษีจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม ซึ่งส่วนใหญ่เน้นเจาะจงไปยัง 4 ประเทศที่อุดหนุนบริษัท Airbus ประกอบด้วยฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมนีและสเปน ดังนั้น สินค้าการเกษตรและสินค้าอื่นๆ เช่น ไวน์ เสื้อกันหนาว เสื้อผ้าขนสัตว์ กาแฟและเครื่องจักรกลจะถูกเก็บภาษีร้อยละ 25 ในขณะเดียวกัน อียูได้ประกาศว่า จะมีการตอบโต้โดยบรัสเซลได้เตรียมรายชื่อรายการสินค้าส่งออกของสหรัฐ รวมมูลค่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อเก็บภาษี
ไม่มีฝ่ายใดที่ได้รับประโยชน์
อาจเห็นได้ว่า ความตึงเครียดด้านการค้าระหว่างอียูกับสหรัฐครั้งนี้ที่เป็นเรื่องที่ถูกคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ซึ่งมาจากนโยบาย "อเมริกาต้องมาก่อน (America First)"ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์เมื่อเข้ารับตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจบางคนแสดงความเห็นว่า ยากที่จะระบุว่าใครจะชนะ แต่แน่นอนว่า การพิพาทระหว่างสหรัฐกับอียูอาจสร้างความเสียหายที่รุนแรงมากขึ้นให้แก่ความสัมพันธ์ด้านการค้าระหว่างสองฝ่าย สำหรับสหรัฐ การเผชิญหน้าด้านการค้ากับอียูอาจทำให้บริษัทข้ามชาติของสหรัฐอ่อนแอ ลดช่องว่างขอบเขตตลาด ทำให้สหรัฐต้องขายทรัพย์สินในต่างประเทศและทำให้การแข่งขันระหว่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น ส่วนสำหรับอียู การที่สหรัฐเก็บภาษีต่อผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากอียูจะส่งผลกระทบต่อสินค้าส่งออกของอียูรวมมูลค่า 500 ล้าน-1 พันล้านยูโรต่อปี นอกจากนั้น การหารือเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าฉบับใหม่ระหว่างสหรัฐกับอียูอาจต้องยุติลง
นอกจากนั้น เศรษฐกิจโลกก็จะได้รับผลกระทบอย่างหนัก รายงานของWTO ที่ประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้วยังพยากรณ์ว่า การขยายตัวของการค้าโลกจะลดลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับการพยากรณ์เมื่อเดือนเมษายน เนื่องจากความพยายามจุดชนวนสงครามการค้าอย่างต่อเนื่องระหว่างเศรษฐกิจใหญ่ๆ องค์การร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจหรือโออีซีดียังเตือนว่า การพิพาทด้านการค้าที่ยืดเยื้อกำลังสร้างแรงกดดันต่อความเชื่อมั่นและกิจกรรมการลงทุนของสถานประกอบการ สร้างความไร้เสถียรภาพด้านนโยบาย เพิ่มความเสี่ยงให้แก่ตลาดการเงินและศักยภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
ความวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่ถดถอยนับวันกลายเป็นความจริงภายหลังกว่า 1 ปีที่ความตึงเครียดด้านการค้าสหรัฐ-จีนยังไม่คลี่คลายลง ปัจจุบัน สงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับยุโรปคือคำเตือนที่น่าเศร้าของเศรษฐกิจโลก.