รายงานของ IMF ได้รับการเผยแพร่ในกรอบการประชุมฤดูใบไม้ร่วงของกองทุน IMF และกลุ่มธนาคารโลกหรือ WB ซึ่งกำลังมีขึ้นในระหว่างวันที่ 21-26 ตุลาคม ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐ นี่คือกิจกรรมที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีโดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและการเงินชั้นนำของโลกเข้าร่วมเพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาสำคัญๆ ของเศรษฐกิจโลก
การต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อเริ่มผ่อนคลายลง
ในการกล่าวปราศรัยเปิดสัปดาห์จัดการประชุมของ IMF และ WB นาง คริสตาลินา จอร์เจียวา ผู้อำนวยการ IMF ได้ย้ำว่า หนึ่งในจุดเด่นที่สดใสที่สุดต่อเศรษฐกิจโลกคือการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อในหลายประเทศ ซึ่งได้บรรลุผลงานในเชิงบวก ตามรายงานของ IMF เกี่ยวกับสหรัฐซึ่งเป็นเศรษฐกิจรายใหญ่ที่สุดในโลก อัตราเงินเฟ้อเมื่อเดือนกันยายนอยู่ที่ร้อยละ 2.4 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปี 2021 ส่วนในเขตยูโรโซน อัตราเงินเฟ้อเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาลดลงเหลือร้อยละ 1.8 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ธนาคารกลางยุโรปกำหนดไว้คือร้อยละ 2 ในขณะเดียวกัน ที่อังกฤษ อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายนก็ลดลงเหลือร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้านั้น นาย Pierre-Olivier Gourinchas หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ IMF แสดงความเห็นว่า
“การต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อดูเหมือนว่าได้รับชัยชนะแล้ว หลังจากอยู่ในระดับสูงสุดที่ร้อยละ 9.4 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2022 ปัจจุบัน เรากำลังมุ่งสู่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ร้อยละ 3.5 ในปลายปีหน้า ในหลายประเทศ อัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ธนาคารกลางได้กำหนดไว้ ขณะนี้ อัตราเงินเฟ้อกำลังลดลงในขณะที่เศรษฐกิจโลกยังคงเติบโตอย่างมั่นคง”
แต่อย่างไรก็ตาม จุดเด่นในการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อไม่ได้มาพร้อมกับศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจเหมือนที่ตั้งใจไว้ โดยในรายงาน IMF ยังคงคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีนี้อยู่ที่ร้อยละ 3.2 ตามที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา แต่มีการปรับลดการคาดการณ์การเติบโตในปีหน้าลงเหลือร้อยละ 3.2 เนื่องจากความอ่อนแอของเศรษฐกิจต่างๆในเขตยูโรโซนที่เติบโตเพียง 0.8% ในปีนี้และร้อยละ 1.2 ในปีหน้า ตลอดจนความไม่มั่นคงของเศรษฐกิจจีน คาดว่า การเติบโตในระยะกลางจะลดลงในระดับเฉลี่ยร้อยละ 3.1 ภายในเวลา 5 ปี ซึ่งต่ำกว่าแนวโน้มก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 นาง คริสตาลินา จอร์เจียวา ผู้อำนวยการ IMF ได้เผยว่า
“คาดว่า การเติบโตในระยะกลางจะยังคงไม่มีความสดใส แต่ก็จะไม่ต่ำเกินไปเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 ซึ่งการเติบโตนี้ไม่เพียงพอเพื่อขจัดความยากจนในโลกและการสร้างงานทำ ไม่สามารถนำรายได้จากภาษีไปชำระหนี้ก้อนใหญ่ในขณะที่ยังคงต้องใช้เงินสำหรับการลงทุนจำนวนมาก รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสีเขียว”
ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์และการหยุดชะงักทางการค้า
เมื่อกล่าวถึงความเสี่ยงต่อศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจโลก บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจของ IMF ได้ระบุถึงความเป็นไปได้ที่ราคาน้ำมันและราคาสินค้าอื่นๆ จะเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหันถ้าหากการปะทะในตะวันออกกลางและยูเครนบานปลายในวงกว้าง ตามความเห็นของนาง คริสตาลินา จอร์เจียวา ผู้อำนวยการ IMF คำเตือนที่ IMF เผยแพร่ตั้งแต่ปี 2019 เกี่ยวกับการหยุดชะงักทางการค้าทั่วโลกกำลังกลายเป็นความจริงและเลวร้ายมากขึ้น ทำให้การค้าไม่ได้เป็นพลังขับเคลื่อนแห่งการเติบโตของเศรษฐกิจโลกอีกต่อไป นาง เพชรยา โควา-บรูคส์ รองอธิบดีกรมวิจัยของ IMF แสดงความเห็นว่า
“ความเสี่ยงมากที่สุดที่นำไปสู่การลดลงของการเติบโตคือการทวีความรุนแรงของการปะทะทางภูมิรัฐศาสตร์ การเพิ่มใช้นโยบายคุ้มครองการค้า ตลาดแรงงานที่อ่อนแอลง หรือการกลับมาสู่ความไร้เสถียรภาพของตลาดการเงิน”
นอกจากความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ซึ่งเป็นภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกมาโดยตลอดนับตั้งแต่เกิดการปะทะในยูเครนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2022 และการปะทะในฉนวนกาซาเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว บรรดาผู้เชี่ยวชาญของ IMF ยังให้ข้อสังเกตถึงความเสี่ยงของการเพิ่มขึ้นสงครามการค้าเมื่อเศรษฐกิจใหญ่ ๆ ปรับเพิ่มภาษีนำเข้าและส่งออกอย่างเข้มแข็ง และมาตรการตอบโต้กัน IMF เตือนว่า ถ้าหากสหรัฐ เขตยูโรโซนและจีนเก็บภาษีต่อกันเพิ่มอีกร้อยละ 10 และสหรัฐปรับขึ้นภาษีต่อประเทศอื่นๆ ทั่วโลกร้อยละ 10 IMF อาจปรับลดการคาดการณ์การขยายตัว GDP ของโลกลงอีกร้อยละ 0.8ในปีหน้าและร้อยละ 1.3 ในปี 2026 คำเตือนนี้น่าสังเกตมากขึ้นในสภาวการณ์ที่ในเวลาที่ผ่านมา สหภาพยุโรปหรือ EU และจีนมีความตึงเครียดทางการค้าที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้าของจีนและได้เริ่มเก็บภาษีตอบโต้กัน รวมทั้งการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในเดือนพฤศจิกายนที่ถูกคาดการณ์ว่า จะส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจโลก เพราะผู้สมัครทั้ง 2 คนคือ นาง กมลา แฮร์ริส จากพรรคเดโมแครตและนาย โดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกันต่างประกาศว่า จะทำการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐ
แต่อย่างไรก็ตาม นาง คริสตาลินา จอร์เจียวา แสดงความเห็นว่า ทางการสหรัฐยึดมั่นปฏิบัตินโยบายที่เกาะติดสถานการณ์ที่เป็นจริงอยู่เสมอ ดังนั้น ไม่ว่าผู้ลงสมัครคนใดจะขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐก็จะไม่เพิกเฉยต่อสถานการณ์ของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน.