การประชุมสุดยอด SCO – แสวงหาความร่วมมือและผลประโยชน์ที่สมดุล

Huyen
Chia sẻ
(VOVWORLD) - การประชุมสุดยอดองค์การความร่วมมือเซียงไฮ้หรือ SCO มีขึ้นในระหว่างวันที่ 15-16 กันยายน ณ เมืองซามักร์แคนด์(Samarkand) ประเทศอุซเบกิสถาน โดยมีผู้นำ 15 ประเทศและผู้บริหารขององค์การระหว่างประเทศที่มีความร่วมมือกับ SCO เข้าร่วม ซึ่งในสภาวการณ์ที่สถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ทั้งในระดับภูมิภาคและโลกกำลังมีความผันผวนอย่างซับซ้อน แม้ทุกฝ่ายที่เข้าร่วมการประชุมได้มีเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ที่ไม่เหมือนกันแต่ก็ล้วนให้ความสำคัญต่อความร่วมมือขององค์กรระดับภูมิภาคนี้

การประชุมสุดยอด SCO – แสวงหาความร่วมมือและผลประโยชน์ที่สมดุล - ảnh 1การประชุมสุดยอดองค์การความร่วมมือเซียงไฮ้หรือ SCO มีขึ้นในระหว่างวันที่ 15-16 กันยายน ณ เมืองซามักร์แคนด์(Samarkand) ประเทศอุซเบกิสถาน (Reuters)

การประชุม SCO ครั้งนี้มีข้อใหม่ต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ประกอบด้วย การอภิปรายโดยตรงครั้งแรกของผู้นำประเทศสมาชิก SCO นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เมื่อปี 2020  นับเป็นครั้งแรกที่ประธานประเทศจีน สี จิ้น ผิง เดินทางไปต่างประเทศนับตั้งแต่ต้นปี 2020 และเป็นครั้งแรกที่ผู้นำของจีนและอินเดียพบปะกันนับตั้งแต่เกิดการปะทะในเขตชายแดนเมื่อปี 2020 โดยเฉพาะ การพบปะครั้งแรกระหว่างผู้นำรัสเซียกับจีนนับตั้งแต่รัสเซียเริ่มปฏิบัติยุทธนาการทางทหารในยูเครน ซึ่งถือเป็นกิจกรรมเด่นของการประชุม SCO และมีความสำคัญเป็นพิเศษเมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ระหว่างประเทศในปัจจุบัน 

รัสเซียและจีนยืนยันถึงความสัมพันธ์พันธมิตร

บรรดานักวิเคราะห์แสดงความเห็นว่า นี่เป็นโอกาสเพื่อให้จีนแสดงอิทธิพลของตน และรัสเซียยืนยันถึงนโยบายที่ให้ความสำคัญต่อเอเชียเมื่อมอสโคว์และปักกิ่งต่างก็มีความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับสหรัฐ ประธานาธิบดีรัสเซีย ปูติน ยืนยันว่า การเจรจาสร้างแรงผลักดันให้แก่ความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์รัสเซีย-จีนมากขึ้นทั้งในระดับทวิภาคีและในเวทีระหว่างประเทศ ส่วนประธานประเทศจีน สี จิ้น ผิง ยืนยันว่า ในฐานะประเทศมหาอำนาจ จีนพร้อมที่จะร่วมกับรัสเซียในการนำโลกที่กำลังเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เข้าสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและเข้มแข็ง

ในการประเมินเกี่ยวกับการพบปะครั้งนี้ บรรดาผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความเห็นว่า ผู้นำทั้งสองประเทศกำลังพยายามพิสูจน์หลายสิ่งหลายอย่าง การประชุมสุดยอดรัสเซีย-จีนมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในสภาวการณ์ที่มีความตึงเครียดกับฝ่ายตะวันตก จีนได้ยึดมั่นปฏิเสธการวิพากษ์วิจารณ์ต่อการที่รัสเซียโจมตียูเครนและคัดค้านการคว่ำบาตรของฝ่ายตะวันตกต่อรัสเซีย ในทางกลับกัน รัสเซียก็ให้การสนับสนุนจีนอย่างแข็งขันในสภาวการณ์ที่มีความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับสหรัฐภายหลังการเยือนไต้หวัน ประเทศจีนของประธานสภาล่างสหรัฐ Nancy Pelosi สำหรับรัสเซีย จีนได้เลือกวิธีการเข้าถึงที่สมดุลในวิกฤตยูเครน สำหรับนาย ปูติน การประชุมสุดยอด SCO เป็นโอกาสเพื่อแสดงให้เห็นว่า รัสเซียไม่สามารถถูกโดดเดี่ยวในเวทีระหว่างประเทศได้ในขณะที่ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนยังดำเนินอยู่ นอกจากนี้ รัสเซียยังตั้งหวังที่จะหาตลาดใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์ของรัสเซีย หรือแสวงหาซัพพลายเออร์รายใหม่ๆ ของสินค้าที่ไม่สามารถนำเข้าจากยุโรปได้อีกต่อไป สำหรับนาย สี จิ้น ผิง นี่เป็นโอกาสเพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ของเขาก่อนการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคครั้งที่ 20 ในเดือนตุลาคมนี้

ถึงแม้ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับจีนยังคงมีความขัดแย้งกันอยู่ แต่จิตสำนึกระหว่างสองฝ่ายก็มีความลึกซึ้งมากขึ้นเกี่ยวกับเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ร่วมกัน โดยเฉพาะในการสร้างกำแพงเพื่อต่อต้านอิทธิพลของสหรัฐในเอเชีย ดังนั้น การที่ประธานประเทศจีน สี จิ้น ผิงและประธานาธิบดีรัสเซีย ปูติน พบปะกันในครั้งนี้จึงเป็นโอกาสเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายแสดงให้โลกเห็นถึงความสัมพันธ์พันธมิตร

การประชุมสุดยอด SCO – แสวงหาความร่วมมือและผลประโยชน์ที่สมดุล - ảnh 2ประธานาธิบดีรัสเซีย ปูติน กับประธานประเทศจีน สี จิ้น ผิง

บทบาทที่มีศักยภาพของ SCO ในสภาวการณ์ใหม่

องค์การ SCO ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2001 โดยมีประเทศสมาชิกคืออินเดีย คาซัคสถาน จีน คีร์กีซสถาน รัสเซีย ทาจิกิสถาน ปากีสถาน อุซเบกิสถาน อัฟกานิสถาน เบลารุสและอิหร่าน ส่วนมองโกเลียเข้าร่วมในฐานะผู้สังเกตการณ์ ในขณะที่อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน กัมพูชา เนปาล ศรีลังกาและตุรกีเป็นประเทศหุ้นส่วน

ในสภาวการณ์ในปัจจุบัน องค์การ SCO ถูกมองว่า เป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจที่กำลังเกิดขึ้นใหม่  ซึ่งมีประชากรคิดเป็นร้อยละ 25 ของโลกและมีพื้นที่มากถึงร้อยละ 60 ของพื้นที่ทั้งหมดของเอเชียและยุโรป ดังนั้น องค์การ SCO จึงได้รับความสนใจจากหลายประเทศในการขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ เป็นผู้สังเกตการณ์หรือหุ้นส่วนสนทนา ในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ อิหร่านยังได้ลงนามบันทึกช่วยจำว่าด้วยการเข้าร่วมองค์การ SCOอย่างเป็นทางการ

ในการเข้าร่วมองค์การ SCO แต่ละประเทศสมาชิก ผู้สังเกตการณ์หรือประเทศหุ้นส่วนต่างก็มีเป้าหมายการแสวงหาผลประโยชน์ของตนเอง  ซึ่งการส่งเสริมความร่วมมือในองค์การ SCO สามารถช่วยให้จีนและรัสเซียแก้ไขอุปสรรคทางการเมือง เศรษฐกิจและความมั่นคงต่าง ๆ ในขณะเดียวกัน สำหรับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ของ SCO การเข้าร่วมของประเทศสมาชิกใหม่เป็นการขยายอิทธิพลไม่เพียงแต่ในด้านการค้าและเศรษฐกิจเท่านั้น หากยังรวมถึงการเมืองโลกอีกด้วย ทั้งนี้ องค์การ SCO นับวันสามารถส่งเสริมบทบาทของตนในการรักษาความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาค ผลักดันความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก และเพิ่มอิทธิพลอย่างต่อเนื่องบนเวทีระหว่างประเทศ.

คำติชม