(VOVworld) – วันที่ 6 กันยายน นายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุกได้นำคณะผู้แทนเวียดนามเข้าร่วมการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 28-29 และการประชุมสุดยอดต่างๆที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาวในระหว่างวันที่ 6-8 กันยายน ในการประชุมครั้งนี้ เวียดนามได้เดินหน้าส่งเสริมบทบาท ความรับผิดชอบ เสริมสร้างและผลักดันความสามัคคี ความเป็นเอกภาพในอาเซียนและปฏิบัติวิสัยทัศน์อาเซียนปี 2025 อย่างเข้มแข็ง
นายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุก
|
การประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 28-29 และการประชุมสุดยอดต่างๆที่เกี่ยวข้องมีการเข้าร่วมของผู้นำจาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี สหรัฐ รัสเซีย อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และเลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ ภายใต้หัวข้อ “เปลี่ยนวิสัยทัศน์ให้เป็นความจริงเพื่อประชาคมอาเซียนที่คล่องตัว” การประชุมผู้นำครั้งนี้คือการประชุมผู้นำเพียงครั้งเดียวของปีนี้เพื่อให้บรรดาผู้นำอาเซียนและหุ้นส่วนต่างๆหารือหลังจากประชาคมอาเซียนได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 31 ธันวาคมปี 2015 ในการประชุม บรรดาผู้นำของประเทศต่างๆได้เน้นหารือเกี่ยวกับแนวทาง มาตรการผลักดันความเชื่อมโยงอาเซียน เสริมสร้างความสามัคคี ความเป็นเอกภาพและบทบาทเป็นศูนย์กลางของอาเซียน ผลักดันความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับหุ้นส่วน อีกทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาทั้งในระดับภูมิภาคและโลก
ความคืบหน้าในการปฏิบัติวิสัยทัศน์อาเซียน
การจัดตั้งประชาคมอาเซียนเมื่อวันที่ 31 ธันวาคมปี 2015 ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์และสร้างนิมิตหมายสำคัญในกระบวนการเชื่อมโยงภูมิภาค จนถึงขณะนี้ อาเซียนได้บรรลุความคืบหน้าในการปฏิบัติวิสัยทัศน์อาเซียน 2025 และแผนแบบบูรณาการบน 3 เสาหลักของประชาคม นาย เลหว่ายจุง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ยืนยันว่า“ผลสำเร็จที่โดดเด่นที่สุดของอาเซียนนับตั้งแต่ประชาคมอาเซียนได้รับการจัดตั้งคือการปฏิบัติแผนการที่วางไว้ เช่นในด้านสันติภาพและความมั่นคง ได้ปฏิบัติ 200-300 แผนปฏิบัติการในแผนการที่วางไว้ ในด้านเศรษฐกิจ อาเซียนได้ผลักดันการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะการเชื่อมโยงกับหุ้นส่วนภายนอกและการปฏิบัติข้อตกลงในกรอบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผลสำเร็จอีกประการหนึ่งก็คือ ประชาคมอาเซียนได้รับความสนใจและการสนับสนุนจากประชาคมโลก ปัจจุบัน โลกทราบถึงการก่อตั้งประชาคมอาเซียน ตลอดจนชื่อเสียงของอาเซียนบนเวทีโลก”
ปี 2016 ความสัมพันธ์ร่วมมือของอาเซียนกับประเทศคู่สนทนาได้รับการผลักดันและบรรลุผลงานที่เป็นรูปธรรมผ่านการปฏิบัติโครงการปฏิบัติงานในช่วงปี 2016-2020 อย่างมีประสิทธิภาพ จนถึงขณะนี้ มี 86 หุ้นส่วนที่ได้ส่งเอกอัครราชทูตมาประจำอาเซียนและ มีการจัดตั้งคณะกรรมการอาเซียน 50 คณะในประเทศต่างๆ ล่าสุด อาเซียนได้ยอมรับข้อเสนอเข้าร่วมสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือหรือทีเอซีของชิลี อิหร่าน อียิปต์และโมร็อกโก มอบระเบียบการเป็นหุ้นส่วนในด้านด้านต่างๆให้แก่สวิสเซอร์แลนด์ หุ้นส่วนพัฒนาให้แก่เยอรมนี และกำลังพิจารณาข้อเสนอต่างๆต่อไป การที่หลายหุ้นส่วนมีความประสงค์ที่จะขยาย และพัฒนาความร่วมมือกับอาเซียนให้ลึกซึ้งมากขึ้น และการที่ประเทศต่างๆนอกภูมิภาคแสดงความประสงค์ที่จะสถาปนาความสัมพันธ์กับอาเซียนได้แสดงให้เห็นว่า อาเซียนสามารถยืนยันถึงบทบาทและสถานะของตนบนเวทีโลก
นาย เลหว่ายจุง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
|
ผลักดันความสามัคคีในอาเซียน
ในกระบวนการจัดตั้งและพัฒนา อาเซียนมีข้อสะดวกหลายข้อเนื่องจากมีบรรยากาศที่สันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค แต่เมื่อเร็วๆนี้ อาเซียนก็ต้องเผชิญกับความท้าทายด้านความมั่นคงต่างๆ รวมทั้งความตึงเครียดในทะเลตะวันออก สำหรับการมีความวิตกกังวลว่า อาเซียนกำลังแตกแยกจากความท้าทายนี้ เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำสหรัฐ ฝ่ามกวางวิง ได้แสดงความเห็นว่า“สิ่งที่สำคัญที่สุดของอาเซียนคือธำรงบรรยากาศที่สันติภาพและเสถียรภาพ นอกจากนั้น อาเซียนได้สร้างกรอบและฟอรั่มที่สร้างความผูกพันกับหุ้นส่วนที่ใหญ่กว่า อาเซียนได้สร้างมาตรฐานในการปฏิบัติต่อกันในภูมิภาค ผมคิดว่า อาเซียนกำลังส่งเสริมทั้งสามด้านนี้เป็นอย่างดี ถ้าไม่มีอาเซียน ความร่วมมือระหว่างประเทศมหาอำนาจ ประเทศใหญ่กับประเทศเล็กจะไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของภูมิภาคนี้ อาจกล่าวได้ว่า บนเส้นทางพัฒนาของอาเซียน แม้บางครั้งจะเผชิญปัญหาต่างๆ แต่เมื่อมองทั้ง 3 ด้านใหญ่นั้น จะเห็นได้ชัดเจนว่า อาเซียนกำลังมีบทบาทสำคัญในภูมิภาค และแสดงให้เห็นถึงบทบาทการเป็นศูนย์กลางของตน”
เช่นเดียวกับความเห็นดังกล่าว นาย ฝ่ามกาวฟอง เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำมาเลเซียได้ยืนยันว่า“อาเซียนเป็นชายคาร่วมและทุกประเทศสมาชิกอาเซียนต้องมีส่วนร่วมต่อชายคานี้ ประชาคมอาเซียนเป็นของทุกประเทศสมาชิกอาเซียน ไม่ใช่เป็นของประเทศใดประเทศหนึ่ง ดังนั้น ประชาคมอาเซียนต้องมีความร่วมมือร่วม ได้รับการผลักดันเพื่อสร้างสรรค์ประชาคมนี้ และนี่คือผลประโยชน์ของทุกประเทศในภูมิภาค”
เวียดนามส่งเสริมบทบาทเป็นสมาชิกที่กระตือรือร้นและมีความรับผิดชอบ
สำหรับเวียดนามก็ได้มีพยายามมีส่วนร่วมต่อผลสำเร็จของอาเซียนอยู่เสมอ พร้อมที่จะรับทุกหน้าที่ สร้างภาพลักษณ์เป็นประเทศที่มีชื่อเสียง มีความคล่องตัวและมีความรับผิดชอบในประชาคมอาเซียน เพื่อปฏิบัติวิสัยทัศน์อาเซียน 2025 อย่างเป็นรูปธรรม เวียดนามกำลังส่งเสริมจิตใจแห่งความรับผิดชอบนี้มากขึ้น พยายามร่วมกับประเทศสมาชิกสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนที่เข้มแข็ง มีความสามัคคีและมีความเป็นเอกภาพ การเข้าร่วมการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมีส่วนร่วมผลักดันอาเซียนเข้าสู่ระยะเชื่อมโยงที่สูงขึ้นในฐานะใหม่ มีความมุ่งมั่นและมีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น.