การประชุม COP26: ความท้าทายและความหวัง

Bá Thi
Chia sẻ

(VOVWORLD) - การประชุมสุดยอดของสหประชาชาติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศปี 2021 หรือ COP26 ได้รับการจัดขึ้นหลังจากการเตรียมการอย่างรอบคอบ โดยมีผู้นำจากกว่า 120 ประเทศเข้าร่วม ซึ่งได้รับการคาดหวังว่า จะบรรลุก้าวเดินที่สำคัญในการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในโลก แต่อย่างไรก็ตาม ความท้าทายที่วางไว้ต่อบรรดาผู้นำที่เข้าร่วมการประชุมก็มีมากมายเช่นกันเมื่อโลกมีทางเลือกไม่มากเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่น่าวิตก



การประชุม COP26: ความท้าทายและความหวัง - ảnh 1การประชุม COP26 (AFP)

การประชุม COP26 มีขึ้นในสภาวการณ์ที่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกกำลังเลวร้ายมากขึ้น โดยในรายงานเปิดการประชุมระบุว่า ระดับน้ำทะเลเฉลี่ยได้เพิ่มขึ้น 2.3 เมตรในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาเนื่องจากการละลายของธารน้ำแข็งในขณะที่ปริมาณก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกได้ทลุสถิติใหม่อย่างต่อเนื่อง ก่อนการประชุม นาย อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติได้ยืนยันว่า สถานการณ์สภาพอากาศในปัจจุบันเป็น "ตั๋วเที่ยวเดียวไปสู่ภาวะภัยพิบัติ" ข้อเท็จจริงนี้ทำให้ การประชุม COP26 ได้รับการคาดหวังว่า จะกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและชี้ขาดเกี่ยวกับอนาคตในระยะยาวของโลกจากภัยคุกคามของสภาพอากาศและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่มนุษย์เป็นผู้ก่อขึ้น

สัญญาณในเชิงบวก

ก่อนเปิดการประชุม COP26 หนึ่งวัน การประชุมสุดยอดของกลุ่มประเทศพัฒนาและเศรษฐกิจเกิดใหม่ชั้นนำของโลกหรือจี20 ได้บรรลุข้อตกลงที่สำคัญในความพยายามควบคุมภาวะโลกร้อน โดยนับเป็นครั้งแรกที่ ผู้นำของกลุ่มจี20 บรรลุความเห็นพ้องเกี่ยวกับการสนับสนุนเป้าหมายในการปกป้องไม่ให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นมากกว่า 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมตามเจตนารมณ์ของข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศปี2015 ด้วยศักยภาพและอิทธิพลของตน คำมั่นของกลุ่มจี 20 ถือเป็นแรงจูงใจในเชิงบวกเพื่อให้ผู้นำของ COP26 มีการตัดสินใจ

แต่อย่างไรก็ตาม แรงผลักดันที่ถือว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รวมทั้ง COP26 คือการกลับมาของสหรัฐ โดยหลังจากขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำสหรัฐเมื่อเดือนมกราคมปี 2021 ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ได้ตัดสินใจกลับเข้าร่วมสนธิสัญญาระหว่างประเทศฉบับต่างๆอีกครั้ง รวมถึงข้อตกลงปารีสปี 2015 แล้วยังให้คำมั่นว่า จนถึงปี 2025 จะนำสหรัฐลดการปล่อยมลพิษประมาณร้อยละ 50-52 เมื่อเทียบกับสถิติของปี 2005  กลายเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งประธานาธิบดีสหรัฐยังคงย้ำถึงข้อความนี้ในสุนทรพจน์ในการประชุมอย่างเป็นทางการวันแรกของ COP26 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน

ในวันแรกของการประชุม COP26 ประเทศอินเดียซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่ปล่อยมลพิษมากที่สุดของโลกได้ให้คำมั่นที่จะลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี 2070 ก่อนหน้านั้น จีนได้ประกาศว่า จะบรรลุเป้าหมายนี้ภายในปี 2060 ในขณะที่สหรัฐและสหภาพยุโรปหรืออียูตั้งเป้าไว้ที่ปี 2050

ยังมีความท้าทายอีกมากและต้องการความพยายามเป็นอย่างมาก

สามารถเห็นได้ว่า ความคืบหน้าที่ได้บรรลุในที่ประชุม COP26 จนถึงขณะนี้เป็นไปในเชิงบวก  แต่อย่างไรก็ตาม การต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทายเป็นอย่างมาก โดยบทบาทความเป็นผู้นำของสหรัฐยังไม่ได้รับการค้ำประกันเพราะจนถึงขณะนี้ แผนการที่จะจัดงบ 5แสน 5 หมื่น 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในแพ็คเกจการใช้จ่ายเพื่อสังคมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ประธานาธิบดี ไบเดน เสนอ ยังไม่ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาสหรัฐ โดยเฉพาะโครงการที่มุ่งกดดันให้บริษัทไฟฟ้าเพิ่มการใช้พลังงานสะอาด รวมมูลค่า 1 แสน 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐได้ถูกตัดออกจากข้อเสนอด้านงบประมาณ

นอกจากนั้น ความเสี่ยงที่ประเทศต่างๆไม่สามารถหรือปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำมั่นอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ รวมทั้งเมื่อเศรษฐกิจทั่วโลกต้องใช้แหล่งพลังเพื่อรับมือและแก้ไขผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อแหล่งพลังเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สิ่งนี้อธิบายได้ว่า ทำไมผู้นำหลายชาติที่เข้าร่วมการประชุม COP26 ได้เน้นย้ำถึงเรื่องการให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อแหล่งพลังในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยนายกรัฐมนตรีเวียดนาม ฝ่ามมิงชิ้ง ได้ย้ำว่า การรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการฟื้นฟูธรรมชาติจะต้องได้รับความสนใจเป็นอันดับแรกในการกำหนดนโยบายเพื่อการพัฒนา เป็นมาตรฐานจริยธรรมสูงสุดของสำนักงาน หน่วยงานทุกระดับ สถานประกอบการและประชาชนทุกคน นายกรัฐมนตรีเวียดนามเรียกร้องให้ทุกประเทศให้คำมั่นอย่างจริงจังในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามหลักการแสดงความรับผิดชอบร่วมกัน ที่มีเงื่อนไขสอดคล้องกับ สถานการณ์และความสามารถของแต่ละประเทศบนพื้นฐานของความยุติธรรมและหลักนิติธรรมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ.

คำติชม