การตลบตะแลงของจีนเพื่ออ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลตะวันออก

Chia sẻ
(VOVworld) –  ต่อการที่จีนนำแท่นขุดเจาะไหหยาง๙๘๑เข้ามาในไหล่ทวีปของเวียดนาม วงการนักกฎหมาย และนักวิจัยกฎหมายสากลของเวียดนามได้เสนอหลักฐานข้อมูลทางนิตินัยมากมายเพื่อยืนยันถึงการกระทำละเมิดของจีนโดยเห็นว่า จีนกำลังจงใจเข้าใจผิดอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี๑๙๘๒ จงใจทำให้เขตทะเลที่ไม่มีการพิพาทให้กลายเป็นเขตทะเลที่มีการพิพาทเพื่อปฏิบัติแผนยึดครองทะเลตะวันออก

(VOVworld) –  ต่อการที่จีนนำแท่นขุดเจาะไหหยาง๙๘๑เข้ามาในไหล่ทวีปของเวียดนาม วงการนักกฎหมาย และนักวิจัยกฎหมายสากลของเวียดนามได้เสนอหลักฐานข้อมูลทางนิตินัยมากมายเพื่อยืนยันถึงการกระทำละเมิดของจีนโดยเห็นว่า จีนกำลังจงใจเข้าใจผิดอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี๑๙๘๒ จงใจทำให้เขตทะเลที่ไม่มีการพิพาทให้กลายเป็นเขตทะเลที่มีการพิพาทเพื่อปฏิบัติแผนยึดครองทะเลตะวันออก

การตลบตะแลงของจีนเพื่ออ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลตะวันออก - ảnh 1
เรือจีนฉีดน้ำด้วนแรงดันสูงใส่เรือเวียดนาม(Photo: canhsatbien )

มาตรา๕๗ของอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎมายทางทะเลปี๑๙๘๒หรือUNCLOS ระบุว่า ความกว้างของเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศริมฝั่งทะเลต้องไม่เกินกว่า๒๐๐ไมล์ทะเล ส่วนมาตรา๗๖เป็นการระบุถึงคำนิยามในการกำหนดเขตเศรษฐกิจจำเพาะในระยะ๒๐๐ไมล์ทะเล  และยังมีวิธีการกำหนดอีก๓รูปแบบตามกฎหมายทะเล ปี๑๙๘๒ เป็นอันว่า จากวิธีการกำหนดความกว้างของไหล่ทวีปแสดงให้เห็นว่า แท่นขุดเจาะไหหยาง๙๘๑ถูกติดตั้งในจุดที่ห่างจากเกาะลี้เซินของเวียดนามเพียง๑๑๙ไมล์ทะเลและลึกเข้ามาในเขตไหล่ทวีปและเขตเศรษฐกิจจำเพาะของเวียดนาม

หลักฐานข้อมูลที่ชัดเจนที่แสดงให้เห็นถึงการละเมิดของจีน

            จีนได้มีการละเมิดอย่างรุนแรงทั้งด้านประวัติศาสตร์และนิตินัย เริ่มตั้งแต่จีนใช้อ้างว่า ติดตั้งแท่นขุดเจาะในเขตทะเลซานซาของจีน(ซานซาเป็นชื่อที่จีนตั้งให้หมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลของเวียดนาม) ถ้าพิจารณาตามข้ออ้างนี้ จะเห็นได้ว่า จีนได้ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติโดยได้ยึดครองหว่างซาหรือพาราเซลอย่างผิดกฎหมายผ่านเหตุการณ์ใช้ความรุนแรงเมื่อปี๑๙๗๔  ดร. เหงวียนถิลานแอง สถาบันการทูตเวียดนามอ้างหลักฐานว่า

“พวกเราทราบดีว่า เมื่อปี๑๙๔๕ เมื่อสงครามโลกครั้งที่๒ยุติลง กฎบัตรสหประชาชาติได้รับลงนามอนุมัติเพื่อรักษาสันติภาพและเสถียรภาพของโลกโดยระบุว่า   สันติภาพและการแก้ไขพิพาทเป็นหน้าที่ของทุกประเทศสมาชิก ห้ามบรรดาประเทศสมาชิกใช้หรือข่มขู่ใช้กำลัง อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ เมื่อปี๑๙๗๔ ซึ่งในตอนนั้น จีนได้เป็นประเทศสมาชิกสหประชาชาติแล้วก็ได้ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติอย่างอุกอาจ ดังนั้น จีนไม่มีอธิปไตยเหนือหว่างซาหรือพาราเซลอย่างชอบธรรม”

เวียดนามได้ยืนยันหลายครั้งแล้วว่า ไม่รับรองอธิปไตยของจีนเหนือหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือเสปรลีย์และประชาคมระหว่างประเทศก็ไม่เคยยอมรับอธิปไตยของจีนเหนือเขตน่านน้ำนี้ดังนั้นข้ออ้างนี้ของจีนจึงเป็นโมฆะ

ไม่เพียงแต่ละเมิดอำนาจอธิปไตยและขอบเขตอำนาจทางกฎหมายของประเทศริมฝั่งทะเลที่มีเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหลทวีปตามที่ระบุอย่างชัดเจนในUNCLOS ปี๑๙๘๒เท่านั้น แต่สถานการณ์ในขณะนี้ยังแสดงให้เห็นว่า จีนยังละเมิดสิทธิเสรีภาพในการเดินเรือทะเล คุกคามสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค เมื่อวันที่๕เดือนนี้ กรมกิจการทางทะเลแห่งประเทศจีนได้ออกประกาศห้ามเรือแล่นผ่านในรัศมี๓ไมล์ทะเลนับจากแท่นขุดเจาะไหหยาง๙๘๑ ตามกฎหมายทางทะเล ปี๑๙๘๒ ซึ่งเป็นเอกสารทางนิตินัยสากลสูงสุดในปัจจุบัน ดร.เหงวียนถิลานแองกล่าวต่อไปว่า“จากการส่งเรือชนิดต่างๆและเครื่องบินประจัญบานไปยังเขตน่านน้ำของเวียดนามในทะเลตะวันออก จีนได้ละเมิดสิทธิเสรีภาพในการเดินเรือทะเลของทุกประเทศในโลก รวมทั้งเวียดนาม แหล่งข่าวภาคสนามรายงานว่า เมื่อเรือของตำรวจทะเลเวียดนามเข้าอยู่ห่างจากแท่นขุดเจาะของจีนเพียง๗ถึง๑๐ไมล์ทะเลเท่านั้นได้ถูกเรือของจีน รวมทั้งเรือทหารของจีนข่มขู่และโจมตี เป็นอันว่า การกระทำนี้อาจเกิดขึ้นต่อเรือของประเทศใดๆที่แล่นผ่านเขตนี้ ทะเลตะวันออกเป็นเขตทะเลสำคัญของโลกถ้าเรือที่แล่นผ่านถูกขัดขวางเช่นนี้ ก็ถือเป็นการละเมิดเสรีภาพในการเดินเรือทะเลซึ่งเป็นสิทธิที่ได้ถูกระบุในอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเล ปี๑๙๘๒ ”

เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า เมื่อเทียบกับข้อกำหนดในเอกสารทางนิตินัยทุกฉบับที่กำลังมีผลบังคับใช้ ดังเช่นกฎบัตรสหประชาชาติ UNCLOS ปี๑๙๘๒  อนุสัญญาต่อต้านเรือชนกันขององค์การความปลอดภัยในการเดินเรือทะเลสากล และคำมั่นสัญญาระหว่างอาเซียนกับจีนก็จะพบว่า  จีนได้เมินเฉยต่อกฎหมายสากลและ ละเมิดอธิปไตยของประเทศเพื่อนบ้านริมฝั่งทะเลอย่างรุนแรง

การตลบตะแลงของจีนเพื่ออ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลตะวันออก - ảnh 2
นักกฎหมายเลแทงเซิน(Photo: Dan tri)

การตลบตะแลงเพื่ออ้างกรรมสิทธิ์

            นักกฎหมายเลแทงเซินกล่าวว่า การติดตั้งแท่นขุดเจาะไหหยาง๙๘๑ในเขตไหล่ทวีปเวียดนามเป็นก้าวเดินต่อไปในยุทธศาสตร์ครอบครองทะเลตะวันออกของจีน จากการแถลงว่า มีการพิพาท เช่น ที่หมู่เกาะปะการังสการ์โบโรห์ของฟิลิปปินส์ จีนกำลังจงใจเปลี่ยนแปลงคำนิยามและหลอกลวงประชามติว่า มีเขตทับซ้อนในเขตเศรษฐกิจจำเพาะกับประเทศต่างๆในภูมิภาค เพื่อแปรความทะเยอทะยานทำให้เส้นประ๙เส้นเป็นเส้นพรมแดนที่ได้รับการรับรองในระยะยาว นักกฎหมายเลแทงเซินยืนยันว่า“จากที่ไม่มีการพิพาท พวกเขาได้เปลี่ยนเป็นมีการพิพาท เมื่อมีการพิพาท พวกเขาออกแถลงการณ์เกี่ยวกับอธิปไตยซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายเป็นอย่างยิ่ง จากการตลบตะแลง พวกเขาได้ประโคมข่าวเพื่อให้ชาวโลกเข้าใจว่า เขตติดตั้งแท่านขุดเจาะของพวกเขาเป็นเขตที่มีการพิพาท อย่างไรก็ดี เวียดนามได้ยืนหยัดปฏิเสธและยืนยันว่า นี่มิใช่เขตพิพาทหากเป็นพฤติกรรมรุกล้ำ

เวียดนามยืนหยัดพิทักษ์รักษาอธิปไตยของชาติ

เวียดนามมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และนิตินัยอย่างสมบูรณ์เพื่อยืนยันอธิปไตยเหนือหมู่เกาะหว่างซาหรือพาราเซลและเจื่องซาหรือเสปรลีย์ อำนาจอธิปไตย ขอบเขต อำนาจทางกฎหมายเหนือเขตเศรษฐกิจจำเพาะและไหล่ทวีปตามข้อกำหนดของUNCLOS ปี๑๙๘๒  

จากความประสงค์ที่จะมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันให้แก่สันติภาพและการพัฒนาในภูมิภาค ให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ ในหลายวันที่ผ่านมา เวียดนามยังคงปฏิบัติแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างสันติผ่านการเจรจา ส่วนจีนได้ทำอะไรบ้างเพื่อ“ยืนหยัดแก้ปัญหาผ่านการเจรจาอย่างสันติ เพื่อแก้ไขปัญหาทะเล ทำให้ทะเลตะวันออกกลายเป็นเขตทะเลที่สันติภาพ มิตรภาพและความร่วมมือ” ดังเจตนารมณ์ของข้อตกลงหลักการ๖ข้อเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาทะเลตะวันออกที่เวียดนามและจีนได้ลงนามกัน ณ กรุงปักกิ่ง เมื่อปี๒๐๑๑ ซึ่งมีคำตอบที่ชัดเจนแล้ว แต่ประชามติกำลังรอการปฏิบัติจากจีน./.

Anh Huyen-VOV5

 



 

คำติชม