กลุ่มจี 7 ยากที่จะบรรลุเสียงพูดเดียวกัน

Vân
Chia sẻ
(VOVWORLD) - เป็นไปตามความวิตกกังวลของบรรดานักวิเคราะห์ การประชุมผู้นำกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำหรือจี 7 ที่ได้เสร็จสิ้นลงเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ณ ประเทศฝรั่งเศส ไม่สามารถบรรลุผลงานที่น่ายินดีใดๆ ความแตกต่างกันเกี่ยวกับทัศนะระหว่างประเทศสมาชิกในการหารือเกี่ยวกับปัญหาสำคัญๆ ได้ทำให้การประชุมไม่สามารถบรรลุก้าวกระโดดใดๆ นอกจากนั้น การหารือในการประชุมครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความแตกแยกอย่างลึกซึ้งระหว่างประเทศต่างๆ
กลุ่มจี 7 ยากที่จะบรรลุเสียงพูดเดียวกัน - ảnh 1ผู้นำกลุ่มจี 7 และตัวแทนของยุโรปเข้าร่วมการประชุมผู้ำจี7 ณ ประเทศฝรั่งเศส (AFP)

หัวข้อของการประชุมครั้งนี้คือต่อต้านความไม่เท่าเทียมกัน ทุกปัญหาร้อนระอุของโลกได้รับการหารือในการประชุมผู้นำจี 7 ครั้งนี้ ทั้งเหตุไฟไหม้ป่าอเมซอน ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกจะถดถอยเนื่องจากความตึงเครียดด้านการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่านและสถานการณ์ความตึงเครียดในเขตอ่าวเปอร์เซียและการเก็บภาษีต่อกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ๆ

การแตกแยกที่ลึกซึ้ง

การหารือปัญหาใหญ่ๆที่ส่งผลต่อการเมืองระหว่างประเทศก็หมายความว่าปัญหาดังกล่าวจะส่งผลต่อผลประโยชน์ของประเทศเช่นกัน ดังนั้น ในการประชุมจี 7 ครั้งนี้เราจึงเห็นถึงความแตกแยกที่นับวันเพิ่มมากขึ้นระหว่างประเทศสมาชิก แถลงการณ์สั้นเพียง 1 หน้ากระดาษหลังจบการประชุมได้สะท้อนให้เห็นว่า ไม่มีการลงนามข้อตกลงหลายฉบับหรือถ้ามีก็เป็นเพียงทัศนะร่วมเท่านั้น ซึ่งไม่ได้ระบุอย่างละเอียดเกี่ยวกับปัญหาที่จี 7 ให้ความสนใจ

มองจากผลงานที่เป็นจริง จี 7 ไม่สามารถเสนอมาตรการต่อต้านความไม่เท่าเทียมกัน ถึงแม้นี่คือเนื้อหาที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆในปีประธานจี 7 ของฝรั่งเศส ทางการปารีสก็ไม่สามารถรณรงค์ให้ประเทศพัฒนาแบ่งเบาความรับผิดชอบ ให้การช่วยเหลือประเทศที่ยากจนที่สุด เช่นประเทศต่างๆในซาเฮล (Sahel) แอฟริกาและรับมือกับความท้าทายของความไม่เท่าเทียมกัน

ถึงแม้ประกาศว่า จะให้การช่วยเหลือการรับมือเหตุไฟไหม้ป่าอเมซอน แต่ประเทศจี 7 ไม่มีคำมั่น “ปรับลดอย่างจริงจัง” ต่อการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก ที่น่าสนใจคือ ประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ ไม่ได้เข้าร่วมการหารือสำคัญเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ

ถึงแม้รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน โมฮัมเหม็ด จาวาด ซาริฟ เดินทางไปยังฝรั่งเศสเพื่อพบปะกับทางการฝรั่งเศสและที่ปรึกษาการทูตของเยอรมนีและอังกฤษนอกรอบการประชุมผู้นำจี7 แต่จี7ก็ไม่ประสบความสำเร็จในการคลีคลายความตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับอิหร่านเมื่อบรรดาผู้นำของกลุ่มนี้ไม่เห็นพ้องเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการร่วมเกี่ยวกับปัญหานิวเคลียร์ของอิหร่าน ไม่มีมาตรการแก้ไขสถานการณ์ชะงักงันระหว่างสหรัฐกับอียูในการแก้ไขปัญหาของอิหร่าน นอกจากนั้น บรรดาผู้นำกลุ่มจี 7 ก็ไม่สามารถบรรลุความคืบหน้าในการโน้มน้าวให้นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ขยายเวลาในการชะลอมาตรการคว่ำบาตรการขายน้ำมันของอิหร่าน

เศรษฐกิจและการค้าคือด้านที่เคยสามารถบรรลุความเห็นพ้องเป็นอักฉันท์ได้โดยง่ายระหว่างบรรดาผู้นำจี 7 แต่ปัจจุบันที่กลับเป็นประเด็นที่สร้างความขัดแย้ง โดยในกรอบการประชุมผู้นำจี 7 ครั้งนี้ ประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เผชิญกับแรงกดดันจากบรรดาผู้นำประเทศอื่นๆเกี่ยวกับสงครามการค้ากับจีนที่กำลังยืดเยื้อ ในขณะที่ประเทศอื่นๆได้เสนอให้ “ลดความตึงเครียด” กับทางการปักกิ่ง แต่สหรัฐกลับยังคงแสดงจุดยืนว่า สิ่งเดียวที่นาย โดนัลด์ ทรัมป์ เสียดายคือไม่ได้ปรับขึ้นภาษีในระดับสูงกว่านี้ต่อสินค้านำเข้าจากประเทศจีน

นอกจากนี้ ยังไม่มีการพูดถึงการที่นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เสนอว่า จะเชิญนาย วลาดีเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียเข้าร่วมการประชุมผู้นำจี 7 ในปี 2020 ที่สหรัฐเป็นเจ้าภาพ นี่คือหัวข้อที่อ่อนไหวของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปหรืออียูเพราะการที่รัสเซียจะได้กลับเข้าร่วมกลุ่มจี 7 หรือไม่นั้นต้องขึ้นอยู่กับความคืบหน้าในการแก้ไขวิกฤตในภาคตะวันออกยูเครน อีกทั้งความขัดแย้งระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐกับพันธมิตรยุโรปนับวันมีความชัดเจนมากขึ้นเมื่อนาย โดนัลด์ ทรัมป์ สนับสนุนนายกรัฐมนตรีอังกฤษ บอริส จอห์นสัน ที่มีทัศนะที่แข็งกร้าวกับอียูเกี่ยวกับข้อตกลง Brexit ด้วยการให้คำมั่นว่า จะลงนาม “ข้อตกลงการค้าขนาดใหญ่”กับอังกฤษ

แสงสว่างที่ริบหรี่

แม้บรรยากาศความขัดแย้งได้ปกคลุมการประชุมผู้นำจี 7 ในปีนี้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีความหวังทีเดียวเพราะในการปิดการประชุม ผู้นำกลุ่มจี 7 ได้ออกแถลงการณ์สั้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเห็นพ้องที่ยากที่จะบรรลุเกี่ยวกับการสนับสนุนเงิน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อช่วยดับไฟป่าอเมซอนและแผนการช่วยเหลือการปลูกป่าในระดับสหประชาชาติ สำหรับสถานการณ์ในยูเครน จี7สนับสนุนฝรั่งเศสและเยอรมนีจัดการประชุมผู้นำกลุ่ม 4 ฝ่าย Normandy ในเวลาวที่จะถึง “เพื่อสามารถบรรลุผลงานที่เป็นรูปธรรม” ในด้านเศรษฐกิจ จี 7 สนับสนุน “การค้าเสรีในโลกที่เปิดกว้างและยุติธรรม และความเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลก” นอกจากนั้น การสนทนาทวิภาคีก็ช่วยคลี่คลายความตึงเครียดในกลุ่มจี 7 เช่นฝรั่งเศสและสหรัฐได้บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการเก็บภาษีต่อกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ สหรัฐและญี่ปุ่นเห็นพ้องหลักการเกี่ยวกับประเด็นหลักของข้อตกลงการค้า

กลุ่มจี7ได้รับการก่อตั้งเมื่อปี 1975 จากประเทศตะวันตกเพื่อรับมือกับวิกฤตพลังงาน ในหลายปีที่ผ่านมา จี7ถูกมองว่าเป็นรูปแบบแห่งการพัฒนาและการบริหารที่ก้าวหน้า แต่ในปัจจุบัน จี 7 กลับมีอิทธิพลไม่เพียงพอและไม่สามารถเป็นตัวแทนที่ดีที่สุดตามที่เคยถูกคาดหวังและผลงานจากการประชุมผู้นำจี 7 ที่เพิ่งเสร็จสิ้นลง ณ ประเทศฝรั่งเศสได้แสดงให้เห็นว่า กลุ่มจี 7 กำลังประสบปัญหาในการบรรลุเสียงพูดเดียวกันในปัญหาโลกปัจจุบัน.

คำติชม