(VOVworld)-การประชุมผู้นำกลุ่มประเทศเขตสามเหลี่ยมพัฒนากัมพูชา-ลาว-เวียดนามครั้งที่8ได้เปิดขึ้นที่กรุงเวียงจันทน์ประเทศลาว คณะผู้แทนเวียดนามนำโดยท่านเหงวียนเตินหยุงนายกฯเข้าร่วมการประชุมนี้เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์มิตรภาพที่มีมาช้านานกับลาวและกัมพูชาเช่นเดียวกับการประสานความร่วมมือระหว่างสามประเทศเพื่อปฏิบัติโครงการร่วมมือด้านการป้องกันประเทศ ความมั่นคงและพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในเขตสามเหลี่ยมพัฒนา
ผู้นำสามประเทศเห็นพ้องกับแผนการผลักดันการพัฒนาเขตสามเหลี่ยมพัฒนา
|
การประชุมผู้นำประเทศเขตสามเหลี่ยมพัฒนาครั้งที่ 8 มีขึ้นที่กรุงเวียงจันทน์ระหว่าง 25 - 26 พฤศจิกายน ซึ่งจะทบทวนแผนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและความร่วมมือระหว่างสามประเทศให้เกิดผลเป็นรูปธรรมจนถึงปี2020และบันทึกช่วยจำว่าด้วยกลไกความร่วมมือพิเศษสำหรับเขตสามเหลี่ยมพัฒนานี้ตลอดจนทำการประเมินโครงการร่วมมือพัฒนาต่างๆในภูมิภาคและวางแนวทางให้แก่อนาคต
กลไกความร่วมมือที่สำคัญระหว่างกัมพูชา-ลาว-เวียดนาม
เขตสามเหลี่ยมพัฒนามีประชากรรวมกันประมาณ7ล้านคน มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ1หมื่น4พันตารางกิโลเมตรซึ่งครอบคลุม13จังหวัดของทั้งเวียดนาม-ลาว-กัมพชา โดยของเวียดนามมี 5 จังหวัดคือ กอนตุม ยาลาย ดั๊กลั๊ก ดั๊กนงและบิ่งเฟือก ซึ่งเริ่มก่อตั้งเมื่อปี1999ตามความคิดริเริ่มของสมเด็จ ฮุนเซน นายกฯกัมพูชา อาจกล่าวได้ว่าจนถึงปัจจุบันนี้ความร่วมมือของเขตสามเหลี่ยมพัฒนาเวียดนาม-ลาว-กัมพูชาถือเป็นกลไกความร่วมมือที่สำคัญมีส่วนร่วมธำรงเสถียรภาพ ความั่นคงทางการเมืองและสังคมในเขตชายแดนของทั้งสามประเทศและได้นำมาซึ่งผลสำเร็จที่น่ายินดีในการพัฒนาของทั้งภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะกิจกรรมการค้าผ่านแดนได้รับการผลักดัน ระเบียบการต่างๆด้านการค้าได้รับการปรับปรุงตามแนวทางอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ซึ่งได้ช่วยให้อัตราการขยายตัวจีดีพีเฉลี่ยของทั้งสามประเทศในเขตนี้บรรลุประมาณร้อยละ10ต่อปี ส่วนจีดีพีเฉลี่ยต่อหัวประชากรปี2013อยู่ที่1.340เหรียญสหรัฐ
เวียดนามให้ความสำคัญต่อความร่วมมือในเขตสามเหลี่ยมพัฒนา
สำหรับเวียดนาม จังหวัดต่างๆที่อยู่ในเขตสามเหลี่ยมพัฒนาได้ให้ความสนใจกระชับความสัมพันธ์กับจังหวัดต่างๆทางภาคใต้ของลาวและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชาอย่างเข้มแข็งตามส่วนลึก โดยไม่เพียงแต่ผลักดันกิจกรรมแลกเปลี่ยนมิตรภาพเท่านั้นหากยังมีการขยายความสัมพันธ์ทางการค้าและประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนสินค้าผ่านแดนตามด่านสากลที่ติดกับลาวและกัมพูชาด้วยการลดระเบียบการ ซึ่งในฟอรั่มหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาของเขตสามเหลี่ยมพัฒนาที่จัดขึ้นที่เมืองบวนมาถวดจังหวัดดั๊กลักตามความคิดริเริ่มของเวียดนามเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา รองนายกฯเหงวียนซวนฟุกได้ชี้ชัดว่า“ต้องเน้นให้ความสนใจพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเขตเศรษฐกิจศูนย์การค้าและตลาดในเขตชายแดนเพื่ออำนวยความสะดวกในด้านการขนส่งและเดินทางผ่านแดน ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรโดยเฉพาะการฝึกสอนอาชีพให้แก่ประชาชนท้องถิ่น จังหวัดต่างๆต้องพยายามปฏิบัติตามแผนการที่นายกฯทั้งสามประเทศได้ผ่านความเห็นชอบควบคู่กับแผนการพัฒนาของแต่ละท้องถิ่นและของทั้งภูมิภาค โดยการพัฒนาเศรษฐกิจต้องผนึกแน่นกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด”
ในกระบวนการผลักดันการพัฒนาของเขตสามเหลี่ยมพัฒนานี้นอกจากต้องมีปฏิบัติการที่เข้มแข็งตามที่ได้ตกลงกันแล้ว ทั้งสามประเทศก็ต้องทำการปรับปรุงระเบียบนโยบายให้มีความสมบูรณ์ จัดสรรค์แหล่งพลังเพื่อการพัฒนาอย่างเหมาะสมพร้อมทั้งเพิ่มการติดตามตรวจสอบกระบวนการปฏิบัติตั้งแต่ระดับกระทรวง หน่วยงาน ท้องถิ่นไปจนถึงผู้ประกอบการ โดยขณะนี้ทั้งสามฝ่ายกำลังพิจารณาความเป็นไปได้ของการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อสนับสนุนการติดตามและการช่วยเหลือการปฏิบัตินโยบายและข้อตกลงต่างๆ ส่วนทางฝ่ายเวียดนามนั้น รองหัวหน้าคณะกรรมาธิการต่างประเทศแห่งรัฐสภาเหงวียนแหมงเตี๊ยนได้กล่าวว่า“จากการปฏิบัติแนวทางการเปลี่ยนแปลงใหม่และยกระดับประสิทธิภาพกิจกรรมของรัฐสภา ทางรัฐสภาเวียดนามได้ผลักดันแนวทางการเพิ่มการตรวจสอบการปฏิบัติมติต่างๆที่รัฐสภาได้ผ่านความเห็นชอบรวมทั้งมติที่เกี่ยวข้องกับเขตสามเหลี่ยมพัฒนา ซึ่งในเวลาที่ผ่านมาแม้จะได้รับความสนใจลงทุนและร่วมมือระหว่างประเทศแต่ประสิทธิภาพการดำเนินแผนการในเขตดังกล่าวยังไม่มีประสิทธิภาพตามความปรารถนาดังนั้นรัฐสภาเวียดนามจึงได้เดินหน้าในการเสนอมาตรการร่วมมือเพื่อให้แนวทางนโยบายต่างๆเกิดประโยชน์อย่างจริงจังกับประชาชนในเขตนี้”
ทั้งนี้ ความตั้งใจพัฒนาเขตสามเหลี่ยมพัฒนาในเขตชายแดนระหว่างสามประเทศนั้นจึงถือเป็นหน้าที่ที่ต้องให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆของเวียดนาม ของลาวและของทั้งกัมพูชา ดังนั้นในการประชุมผู้นำประเทศเขตสามเหลี่ยมพัฒนาครั้งที่ 8 นายกฯทั้งสามประเทศจะร่วมกันประเมิน วิเคราะห์ทั้งอุปสรรคและเงื่อนไขที่สะดวกเพื่อแสวงหามาตรการพิเศษสำหรับการพัฒนาของทั้งเขต ช่วยเสริมสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์มิตรภาพที่มีมาช้านาน ความสามัคคีพิเศษและความร่วมมือในทุกด้านกับลาวควบคู่กับการธำรงเสริมสร้างความร่วมมือในทุกด้านกับกัมพูชาต่อไปในอนาคต./.