RCEP – ระยะใหม่สำหรับการค้าในภูมิภาคและโลก

Huyen
Chia sẻ
(VOVWORLD) - เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ในการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 37 ภายใต้อำนวยการของเวียดนาม ประธานอาเซียน 2020 ข้อตกลงหุ้นส่วนในทุกด้านในภูมิภาคหรือ RCEP โดยมี 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนและ 5 ประเทศหุ้นส่วน ประกอบด้วย จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้รับการลงนามอย่างเป็นทางการหลังการเจรจาเป็นเวลา 8 ปี การที่ข้อตกลง RCEP จะมีผลบังคับใช้นั้นได้รับการประเมินว่า จะสร้างระยะใหม่ โครงสร้างใหม่และก้าวกระโดดใหม่ให้แก่การค้าในภูมิภาคและโลก
RCEP – ระยะใหม่สำหรับการค้าในภูมิภาคและโลก - ảnh 1รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เจิ่นต๊วนแอง ซึ่งเป็นตัวแทนของเวียดนามได้ลงนาม RCEP (baodautu.vn

ข้อตกลง RCEP ที่มี 15 ประเทศสมาชิกถือเป็นข้อตกลงที่ทันสมัย ครอบคลุมและมีคุณภาพสูง  นอกจากข้อกำหนดที่ชัดเจน คำมั่นเกี่ยวกับการเปิดตลาดในด้านสินค้า การบริการและการลงทุน การปฏิรูประเบียบศุลกากรให้กระทัดรัดและข้อกำหนดเกี่ยวกับแหล่งที่มาของสินค้าที่อำนวยความสะดวกทางการค้าแล้ว ข้อตกลลง RCEP ยังครอบคลุมถึงประเด็นต่างๆด้านลิขสิทธิ์ทางปัญญา อีคอมเมิร์ซ การแข่งขัน สถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาล

FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลกและความหวังสำหรับพลังขับเคลื่อนใหม่

การเจรจาเกี่ยวกับ RCEP เริ่มขึ้นเมื่อปลายปี 2012 ระหว่าง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนกับ 6 ประเทศคู่สนทนา ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ แต่เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2019 อินเดียได้ถอนตัวออกจาก RCEP อย่างเป็นทางการ คาดว่า เมื่อ RCEP มีผลบังคับใช้จะสร้างตลาดที่มีผู้บริโภคประมาณ 2.2 พันล้านคนและจีดีพีประมาณ 49 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 30 จีดีพีของโลก ทำให้มีการประเมินว่า RCEP เป็นข้อตกลงการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลกและมีความหมายในหลายด้าน นาย หวอชี้แถ่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจได้แสดงความเห็นว่า “ความหมายแรก คือข้อตกลงนี้เป็นสัญลักษณ์สำคัญเกี่ยวกับกระบวนการเชื่อมโยงการค้าเสรีและการลงทุนในภูมิภาค อาเซียนและหุ้นส่วนต่างๆยังคงยืนยันว่า การค้าเสรีและการลงทุนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ถึงแม้จะมีความยากลำบาก ประเด็นที่สองคือ นี่คือข้อตกลงเอฟทีเอที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนี้ และอาเซียนมีบทบาทสำคัญในการเสนอข้อคิดริเริ่มต่อการพัฒนาโครงสร้างต่างๆ นอกจากนี้ RCEP ยังสะท้อนรูปแบบของกระบวนการเชื่อมโยงในอาเซียนที่มีการผสานของความเป็นอิสระ เสรีกับความร่วมมือ”

ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญหลายคน ข้อตกลง RCEP ถือเป็นพลังขับเคลื่อนแห่งการเติบโตใหม่สำหรับการค้าระหว่างประเทศเนื่องจากปัจจัยหลายประการ โดยก่อนอื่นคือ RCEP เป็นข้อตกลงเอฟทีเอฉบับเดียวที่มีความหลากหลายของระดับการพัฒนาจากเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก รวมทั้งเศรษฐกิจที่ด้อยพัฒนา และมีรายได้ในระดับต่าง ๆ

ประการที่สองคือ อาเซียนเป็นศูนย์กลางของ RCEP ในขณะที่ประเทศสมาชิกที่ไม่อยู่ในอาเซียนของ RCEP ได้รับการเชื่อมโยงกับอาเซียนผ่านข้อตกลงเอฟทีเอของอาเซียน + 1  และในอนาคต RCEP อาจใช้แทนเอฟทีเอทุกฉบับของอาเซียน + 1 สำหรับประเทศจีน RCEP ถือว่าจะสร้างโอกาสที่ดีเนื่องจากขณะนี้ อาเซียนเป็นหุ้นส่วนการค้ารายใหญ่อันดับสองของจีน เมื่อ RCEP มีผลบังคับใช้ มูลค่าการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียน-จีนจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและส่งผลบวกต่อห่วงโซ่คุณค่าของภูมิภาค

ประการที่สามคือ RCEP มีขอบเขตการเข้าถึงที่กว้างขึ้น เมื่อเทียบกับเอฟทีเอของอาเซียน + 1 โดยไม่เพียงลดภาษีลงเกือบร้อยละ 90 RCEP ยังมีข้อกำหนดที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับการค้า การบริการและการลงทุนต่างประเทศและข้อกำหนดใหม่เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกให้แก่อีคอมเมิร์ซ นอกจากนั้น ประเทศสมาชิก RCEP ล้วนมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง หลายประเทศมีประชากรรุ่นเยาว์ในระดับสูงซึ่งเป็นเงื่อนไขและปัจจัยที่เอื้อต่อการเติบโตของการค้าอาเซียนและหุ้นส่วนภายนอก

RCEP – ระยะใหม่สำหรับการค้าในภูมิภาคและโลก - ảnh 2ประเทศหุ้นส่วนต่างๆลงนาม RCEP  (baodautu.vn

RCEP – นิมิตหมายพิเศษของเวียดนามและอาเซียนในปี 2020

ปี 2020 เป็นปีที่ยากลำบากสำหรับเวียดนามในฐานะประธานหมุนเวียนของข้อตกลง RCEP ซึ่งแนวโน้มของการคุ้มครองการค้าในหลายประเทศทำให้การเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีทั้งหมดต่างประสบปัญหาบวกกับสถานการณ์ทางการเมืองในภูมิภาคมีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการปรับความสัมพันธ์ทางการเมืองในภูมิภาคและระหว่างประเทศใหญ่ๆยังไม่เสร็จสิ้นลง ตลอดจนปัญหาการระดมของโควิด-19 ที่ยืดเยื้อได้ทำให้การเจรจา RCEP ประสบอุปสรรคมากขึ้น พร้อมทั้งสร้างความลำบากในการเสนอคำมั่นเพิ่มเติมต่าง ๆ เพื่อผสมผสานเข้ากับกระแสโลก แต่ท่ามกลางอุปสรรคต่างๆเหล่านั้น เวียดนามได้ส่งเสริมบทบาทประธานอาเซียน 2020 เป็นอย่างดีเพื่อส่งเสริมบทบาทการเป็นศูนย์กลางและเป็นผู้นำของอาเซียนเพื่อให้บรรลุผลงานคือการลงนามข้อตกลง RCEP ซึ่งความภาคภูมิใจนี้ได้รับการยืนยันจากนายกรัฐมนตรี เหงียนซวนฟุก ประธานอาเซียน 2020 “การลงนาม RCEP หลังจากการเจรจาเป็นเวลาหลายปีถือเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่ของประเทศอาเซียน ด้วยบทบาทเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียนได้ร่วมกับประเทศหุ้นส่วนสร้างพื้นฐานให้แก่ระยะความร่วมมือใหม่ที่รอบด้านและยาวนาน มุ่งสู่อนาคต สอดล้องกับระดับการพัฒนาและนำผลประโยชน์มาให้แก่ทุกประเทศในภูมิภาค

คาดว่า RCEP จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการหลังจากที่มี 6 ประเทศอาเซียนและ 3 ใน 5 ประเทศหุ้นส่วนให้สัตยาบัน การเจรจาและการลงนาม RCEP ที่ประสบความสำเร็จมีส่วนในการสร้างโครงสร้างการค้าใหม่ในภูมิภาค ผลักดันโลกาภิวัตน์ตามแนวทางของการเปิดการค้าเสรีอย่างยั่งยืน สำหรับเวียดนาม ผ่านการลงนาม RCEP เวียดนามก็ได้มีการร่วมกับอาเซียนเพื่อมีเสียงพูดต่อการกำหนดกลไกความร่วมมือใหม่ รวมถึงกฎระเบียบทางการค้าของภูมิภาค ผลักดันสถานะของประเทศและธำรงบทบาทเป็นศูนย์กลางของอาเซียน.

คำติชม