ไฮฟอง เมืองแห่งสะพาน

Thanh Hung -Vinh Phong/VOV
Chia sẻ
(VOVWORLD) -สำหรับผู้ที่มีความผูกพันกับเมืองท่า ไฮฟอง ต่างก็มีความคุ้นเคยกับสะพานหลายแห่งที่ก่อสร้างในตัวเมืองเช่น สะพานกวัย สะพานซีมัง สะพานหร่าว สะพานแบกดั่ง เป็นต้น โดยสะพานเหล่านี้ถือเป็นพยานแห่งความผันผวนต่างๆในชีวิตของคนหลายรุ่นรวมทั้งการพัฒนาอย่างข้ามขั้นของนครไฮฟอง
ไฮฟอง เมืองแห่งสะพาน - ảnh 1 สะพานบิ๊งห์

ไฮฟองไม่เพียงแต่เป็นที่รู้จักในชื่อว่าเมืองท่า เมืองแห่งดอกหางนกยุงเท่านั้นหากยังมีชื่อใหม่อีกชื่อคือ เมืองแห่งสะพาน โดยในช่วงปี2013-2018 นครไฮฟองเป็นท้องถิ่นที่มีการก่อสร้างสะพานมากที่สุดของประเทศโดยรวมสะพานหลายขนาดกว่า20แห่งที่ก่อสร้างใหม่ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการสานฝันของชาวนครให้เป็นจริง

บนแม่น้ำแหลกไตร มีสะพานใหม่3แห่งข้ามผ่านคือสะพานหร่าว2 สะพานเหนียม2และสะพานดงเค เชื่อมระหว่างเขตเยืองกิง เกี๊ยนอานและอานเยือง  เมื่อกลางปี2017 สะพานข้ามทะเลที่ยาวกว่า5.4กิโลเมตร เตินหวู-แหลกเหวียนเชื่อมอ.เกาะก๊าตบ่ากับแผ่นดินใหญ่ได้เปิดใช้งาน ซึ่งสร้างโฉมใหม่ให้แก่เมืองท่าที่สำคัญแห่งนี้ นอกจากนั้นสะพานอีกหลายแห่งที่ได้รับการก่อสร้างและเปิดใช้งานในปีเดียวกันอย่าง สะพานตามบาก สะพานกวัย สะพานข้ามถนนเหงวียนบิ๋งเคียม เลห่งฟอง ก็ได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาการจราจรติดขัด คุณหว่างถิถาว อาศัยที่แขวงหะลี้ เขตห่งบ่าง เผยว่า“นับตั้งแต่มีสะพานใหม่หลายแห่งได้รับการก่อสร้าง การสัญจรไปมาของประชาชนมีความสะดวกมากขึ้น ทุกคนต่างก็ดีใจเพราะนอกจากไปไหนมาไหนไกล้ขึ้นแล้ว โฉมของนครก็มีความสวยงามทันสมัยมากขึ้น”

ไฮฟอง เมืองแห่งสะพาน - ảnh 2สะพานข้ามทะเลที่ยาวกว่า5.4กิโลเมตร เตินหวู-แหลกเหวียน 

สะพานแบกดั่งข้ามแม่น้ำเกิ๊มกำลังอยู่ในช่วงสุดท้าย ซึ่งเมื่อเปิดใช้งานการเดินทางจากไฮฟองไปที่เมืองฮาลองจังหวัดกว๋างนิงห์ก็จะใช้เวลาเพียง30นาที ส่วนสะพานหว่างวันถุ ซึ่งเป็นสะพานที่มีบทบาทในการขยายตัวเมืองไฮฟองที่เชื่อมระหว่างเขตห่งบ่างและเขตตัวเมืองใหม่ทางทิศเหนือของแม่น้ำเกิ๊มนั้นได้เปิดโอกาสให้แก่การขยายพื้นที่ของนครไฮฟองเพื่อตอบสนองความต้องการของกระบวนการพัฒนา นอกจากนั้นก็มีสะพานห่านและสะพานดังที่เริ่มก่อสร้างช่วงกลางปี2017และเปิดใช้งานเมื่อต้นปี2018ที่ถือเป็นสองสะพานที่มีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาการจราจรของไฮฟอง ส่วนในโครงการสร้างถนนริมฝั่งทะเลที่เชื่อมกับจังหวัดท้ายบิ่งห์มีความยาวกว่า30กิโลเมตรตัดผ่านอ.เตียนหลาง อ.เกี๊ยนถวิและเขตด่งเซินนั้นก็มีการก่อสร้างสะพาน7แห่ง ซึ่งสะพานต่างๆรวมทั้งกิจการที่สำคัญด้านโครงสร้างพื้นฐานได้ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนในกระบวนการพัฒนาที่ทันสมัยของไฮฟอง  ควบคู่กับการยกระดับระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมให้สมบูรณ์ ทางการนครยังให้ความสนใจยกระดับคุณภาพงานด้านสวัสดิการสังคมอีกด้วยผ่านการผลักดันการสร้างสรรค์ชนบทใหม่และพัฒนาตัวเมืองใหม่  นาย หวูยิวตุ่ง ผู้อำนวยการสำนักงานคมนาคมขนส่งนครไฮฟองกล่าวว่า ทางการนครได้ตระหนักว่า ในกระบวนการพัฒนานครจะต้องมีแรงกระตุ้นเพื่อรับกระแสการลงทุนใหม่ของสถานประกอบการทั้งในและต่างประเทศโดยเฉพาะกลุ่มบริษัทเอกชนที่มีประสบการณ์และมีศักยภาพ“ในรายการโครงการลงทุนพัฒนาระยะกลางช่วงปี2017-2020 หน่วยงานคมนาคมให้ความสนใจผลักดันโครงการที่มีคำมั่นเบิกจ่ายเงินทุนแล้ว ซึ่งเมื่อระบบคมนาคมมีความสมบูรณ์ก็เป็นการดึงดูดกระแสการลงทุนจากต่างประเทศได้สะดวกมากขึ้น”

จากระบบแม่น้ำ16สายหลักในพื้นที่รวมระยะทางกว่า300กิโลเมตร พร้อมเงื่อนไขทางภูมิศาสตร์ที่สะดวกเพราะเป็นนครที่อยู่ในปากน้ำ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้แก่การแลกเปลี่ยนการค้าและพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของไฮฟอง โดยคาดว่าตั้งแต่บัดนี้จนถึงปี2030 ไฮฟองจะก่อสร้างสะพานแห่งใหม่อีก30แห่ง.

คำติชม