วันเมี้ยวซิกดั่ง

Thu Hoa/VOV5
Chia sẻ
(VOVWORLD) -วันเมี้ยวซิกดั่ง ได้รับการก่อสร้างเมื่อปี1832 ในแขวงลามเซิน นครฮึงเอียน จังหวัดฮึงเอียน ซึ่งเป็นหนึ่งในวิหารวรรณกรรม6แห่งของเวียดนามที่มีลักษณะเหมือนวันเมี้ยวก๊วกตื๋อย้ามฮานอยเป็นหนึ่งในวิหารวรรณกรรมที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด2แห่งคู่กับวิหารวรรณกรรม ณ กรุงฮานอย โบราณสถานทางวัฒนธรรมแห่งชาตินี้เคยเป็นสถานที่จัดการสอบเพื่อคัดเลือกผู้ที่มีวุฒิการศึกษามาร่วมพัฒนาประเทศรวมทั้งจัดงานสดุดียกย่องผู้ที่เป็นปรมาจารย์ยุคลัทธิขงจื๊อและเชิดชูการศึกษาตามหลักทฤษฏี “คนดีมีความรู้เป็นเสาหลักเพื่อค้ำจุนชาติ”
วันเมี้ยวซิกดั่ง - ảnh 1ประตูตามกวาน 

บรรยากาศในบริเวณเขตวันเมี้ยวซิกดั่งหลังฝนดูอึมครึม เงียบเหงาไปหมด แต่ก็ไม่ทำให้นักท่องเที่ยวสองคนที่เป็นชาวเวียดนามโพ้นทะเลในเยอรมนีที่ห่างบ้านเกิดมานานถึง20ปีนั้นลดความตื่นเต้นเมื่อได้กลับมาเยี่ยมสถานที่เก่าแห่งความทรงจำในวัยเด็ก

วันนี้สองพี่น้องคุณด่าวแทงถวีและด่าวแทงนาม ได้กลับมาเยี่ยมบ้านเกิดและหาโอกาสเยือนสถานที่ต่างๆที่พวกเขาคิดถึงในใจอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะเขตวันเมี้ยวซิกดั่งนี้ คุณแทงถวี กล่าวว่า“เราเกิดและอาศัยที่นี่ในช่วงวัยเด็ก ครอบครัวเรามีรกรากที่หมู่บ้านซิกดั่งนี้ ตอนเป็นเด็กเรามาที่นี่เล่นบ่อยเลยรู้จักทุกซอกทุกมุม อย่างตรงที่แขวนระฆังใหญ่ๆนี้เราก็เคยมาตีเล่น อาคารตรงนี้เมื่อก่อนคือสหกรณ์ที่ว่างเปล่า  เดี๋ยวนี้สวยงามมากแล้วแต่ยังคงมีความเก่าแก่เหมือนเดิม

วันเมี้ยวซิกดั่ง - ảnh 2 ด้านในของวันเมี้ยว

วันเมี้ยวซิกดั่งมีพื้นที่6พันตารางเมตร ที่รวมสถาปัตยกรรมต่างๆที่โดดเด่นน่าสนใจเช่น ประตูตามกวาน หอระฆัง หอเมฆ โดยสถาปัตยกรรมเหล่านี้ยังคงได้รับการรักษาไว้สมบูรณ์เหมือนเดิมและได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดฮึงเอียน“ประตูตามกวานนี้ออกแบบมีสองชั้นและมีการสลับหลังคา8ระดับ สื่อความหมายตามหลักความเชื่อของจีนคือ แผนผังแปดทิศหรือที่คนไทยเรียกว่ายันต์แปดทิศ ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งฟ้าและดินที่สามารถทำนายและหยั่งรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างฟ้า ดิน กับมนุษย์ เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่สะท้อนการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต และนี่ก็เป็นความปรารถนาของเกษตรกรที่อยากมีชีวิตที่อิ่มหนำผาสุก

หลังจากก้าวผ่านประตูตามกวานก็ถึงลานกลางที่กว้างขวาง สองข้างมีหอระฆังและอาคารที่จัดแสดงเอกสารข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับเกียรติประวัติการศึกษาของจังหวัดฮึงเอียน เดินลึกเข้าไปอีกคือเขตชั้นในของวันเมี้ยวที่ถูกตกแต่งด้วยป้ายคำกลอนคู่และเสาหลักรองรับน้ำหนักที่ลงรักขัดเงาและปิดทอง ที่นี่มีหิ้งบูชาขงจื๊อ นักคิดและนักปรัชญาสังคมที่มีชื่อเสียงของจีน รวมทั้งเหล่าลูกศิษย์และปรมาจารย์จูวันอาน ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนวันเมี้ยวก๊วกตื๋อย้าม ซึ่งทั้งคุณด่าวและคุณถวี้ยิ่งมีความภาคภูมิใจในเกียรติประวัติแห่งบ้านเกิดของตนมากขึ้นเมื่อได้ฟังคำบรรยายของเจ้าหน้าที่ดูแลเขตวันเมี้ยวซิกดั่งเกี่ยวกับระบบศิลาจารึกหินที่นี่“ศิลาจารึกที่นี่มี8หลักที่ตั้งขึ้นเมื่อปี1888และหลักสุดท้ายตั้งขึ้นเมื่อปี1943 โดยใช้จารึกชื่อของบุคคลที่สอบได้จอหงวนรวม168ท่านในจำนวนจอหงวนทั้งหมด228ท่านของจังหวัดฮึงเอียน ซึ่งในยุคศักดินา เวียดนามมีจอหงวนทั้งหมด2,898ท่าน ดังนั้นจำนวนผู้ได้รับตำแหน่งจอหงวนของจังหวัดถือว่ามากเป็นอันดับที่4ของประเทศ

วันเมี้ยวซิกดั่ง - ảnh 3 หอระฆัง

ถึงแม้ได้จากบ้านเกิดไปนานกว่า20ปี แต่เมื่อได้มีโอกาสกลับมาเยี่ยมสถานที่แห่งนี้ พี่น้องสองคนด่าว-ถวี้ต่างก็รู้สึกซาบซึ้งตรึงใจเมื่อได้เห็นทุกอย่างยังคงเหมือนเดิม ตั้งแต่สถาปัตยกรรมไปจนถึงต้นไม้ใบหญ้าล้วนทำให้เขานึกถึงช่วงเวลาชีวิตในวัยเด็ก เมื่อเดินทางไปตามเส้นทางเดิมที่คุ้นเคย ผ่านทุ่งนาช่วงฤดูเก็บเกี่ยวสุกเหลืองอร่ามส่งกลิ่นหอมอบอวนไปตามสายลมแล้วอำลาหมู่บ้านซิกดั่ง มั่นใจว่าความทรงจำดีๆเกี่ยวกับแผ่นดินเกิดนี้จะตราตรึงในหัวใจของเธอทั้งสองตลอดไปแม้จะอาศัยอยู่ที่แดนไกล.

คำติชม