(VOVworld) - กรมพัฒนาฝีมือแรงงานสังกัดกระทรวงแรงงานไทยมีหน้าที่จัดการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน และประเมินการทดสอบฝีมือการทำงานของเยาวชนไทย ในหลายปีที่ผ่านมา นอกจากได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยแล้ว ทางกรมพัฒนาฝีมือแรงงานยังให้ความร่วมมือกับภาคเอกชนและมหาวิทยาลัยต่างๆในการฝึกสอนอาชีพเพื่อมุ่งสู่การยกระดับฝีมือแรงงานไทยให้บรรลุมาตรฐานสากล
คณะผู้บริหารกรมพัฒนาฝีมือแรงงานของไทย
|
ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับการพัฒนาฝีมือแรงงาน ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานไทยที่ประกาศเมื่อวันที่ 20 มีนาคมปี 2014 ระบุว่า ในปี 2013 มีเยาวชนกว่า 4 ล้าน 6 แสนคนเข้าฝึกอบรมในสาขาอาชีพต่างๆ โดยมากที่สุดคือสาขาการท่องเที่ยวและการบริการ ซึ่งในนั้นมีแรงงานที่ผ่านการทดสอบด้านมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติกว่า 3 หมื่น 8 พันคน และแรงงานที่ผ่านการทดสอบฝีมือแรงงานตามความต้องการของสถานประกอบ 484 คน หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้กล่าวว่า "มีหลายสาขาที่เยาวชนไทยสนใจ โดยเราจะยกตัวเข้มให้กับเยาวชนที่จบจากการศึกษา ฝึกให้เขามีฝีมือมากเพียงพอก่อนที่จะเข้าสู่การทำงานนั่นเอง เราจะมีสาขาอาชีพที่หลากหลาย ส่วนใหญ่แบ่งเป็น 3 ส่วน ทั้งอุตสาหกรรมการผลิต พานิชยกรรมและการบริการ ซึ่งเป็น 3 ด้านที่เยาวชนนิยมมากพอๆกัน ตัวเยาวชนก็ชอบทั้ง 3 อย่างก็แล้วแต่ว่า เขาได้รับข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพ หรือ การแนะแนวแบบไหน ถ้าเขามีความเข้าใจในอาชีพนั้นๆ เขาก็อยากฝึกในเรื่องนั้น
การทดสอบฝีมือช่างไฟฟ้าตามมาตรฐานระดับชาติ
|
อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการการฝึกสอนอาชีพให้แก่เยาวชนของไทยถูกนำเข้าจากต่างประเทศภายใต้การสนับสนุนจากรัฐบาล หรือใช้ร่วมกับสถานประกอบการและมหาวิทยาลัยตามโครงการร่วมมือด้านการศึกษาและฝึกอบรมต่างๆ สำหรับเยาวชนที่เข้าฝึกอบรมนั้น ต้องฝึกบ่อยๆทุกวันจนเกิดความชำนาญและตอบสนองความต้องการด้านเวลาอย่างเข้มงวด คุณ ธวัชชัย เมืองมูล และคุณ ศักาพงศ์ หมื่นแสน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาภาคพายัพ เชียงใหม่กล่าวว่า
- อุปกรณ์ใหม่ๆที่นำเข้ามาคือสเตชั่นใหม่ๆจาก บริษัทเฟสโต เยอรมนี
- พวกเราจะเอาเทคโนโลยีนั้นมาซ้อมครับ ส่วนสำหรับการซ้อม เราต้องจับเวลาทุกครั้ง ที่กำหนดคือ 6 ชั่วโมง แต่เวลาซ้อม เราต้องตํ่ากว่านั้น พวกผมตั้งเวลาไว้ในการซ้อมทุกครั้งว่า 4 ชั่วโมง
นอกเหนือจากความรวดเร็วแล้ว เพื่อให้การฝึกสอนอาชีพของไทยตามทันกับแนวโน้มการพัฒนาของโลก เทคโนโลยีก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่ง นาย โกเมศ ปิยะพันธุ์ นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานชำนาญการ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค12 สงขลา กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้เผยว่า "ตัวอาจารย์เองก็จะต้องหาข้อมูลในเรื่องของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปและพัฒนาสูงขึ้นตลอด เพื่อที่จะนำความรู้ตรงนั้นมาถ่ายทอดให้กับเยาวชน ส่วนเด็กต้องมีทักษะฝีมือที่สอดตล้องกับมาตรฐานฝีมือแรงงานอาเซียนเนื่องจากในอนาคตแรงงานสามารถเคลื่อนย้ายไปยังประเทศต่างๆได้"
ตามความเห็นของหม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ อาจกล่าวได้ว่า การแข่งขันฝีมือแรงงานในภูมิภาคและโลก เป็นการวัดผลการฝึกสอนอาชีพให้แก่เยาวชนที่สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในภาคอุตสาหกรรมหรือภาคเอกชน โดยในการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 10 เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว เยาวชนไทย รวม 41 คน เข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานใน 22 สาขาจากทั้งหมด 25 สาขา และสามารถคว้า 7 เหรียญทอง 1 เหรียญเงินและ 5 เหรียญทองแดง โดยเฉพาะ ทีมไทยสามารถคว้าได้ 1 เหรียญทองแดงจากการแข่งขันฝีมือแรงงานสาขาใหม่ คือ หุ่นยนต์เคลื่อนที่ หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ได้ประเมินเกี่ยวกับผลการแข่งขันดังกล่าวว่า "เราก็ถือโอกาสเป็นการพัฒนาเยาวชนของเราให้อัพเดทเทคโนโลยีด้วย รวมทั้งกระตุ้นให้เยาวชนให้ความสำคัญกับการก้าวเข้าสู่โลกอาชีพช่างฝีมือ เราพยายามยกระดับการทำงานด้วยกันในอาเซียนและปรับข้อสอบของเราว่า ข้อสอบในระดับอาเซียนนั้น ใช้ข้อสอบจากระดับโลก เป็นการลดจำนวนชั่วโมงลงมา ส่วนในระดับประเทศไทยนั้น เราก็ใช้ข้อสอบระดับโลกเหมือนกัน แต่ก็จะปรับนิดหน่อย อาจจะเป็นลักษณะของการปรับชั่วโมง ลดชั่วมงลงมาแข่งขันในระดับชาติ"
เยาวชนไทยเข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานสาขาเมคคาทรอนิกส์ในกรอบการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ณ เวียดนาม เมื่อเดือนตุลาคมปี 2014
|
ปัจจุบัน นอกเหนือจากการส่งเสริมจุดแข็งในสาขาต่างๆที่มีอยู่ เช่น เชื่อม ซีเอ็นซีและการบริการแล้ว กรมพัฒนาฝีมือแรงงานของไทยยังให้ความสำคัญต่อการเปิดสอนอาชีพสาขาใหม่ๆตามแนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีของโลก เช่น หุ่นยนต์เคลื่อนที่ เพื่อมีส่วนร่วมยกระดับฝีมือแรงงานไทยให้พัมนาตามมาตรฐานสากล./.