นางสาวอุรวดี ศรีภิรมย์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย เข้าพบและหารือกับ นาย Do Nhat Hoang อธิบดี Foreign Investment Agency (FIA) กระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม (FIA) เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา (ภาพจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอย) |
เครือบริษัท SCG และ CP ได้เข้ามาลงทุนในเวียดนามหลังจากเวียดนามมีนโยบายเปิดประเทศเมื่อกว่า 30 ปีก่อน จนถึงปัจจุบัน CP สามารถครองส่วนแบ่งสำคัญและมีส่วนร่วมพัฒนาการเพาะเลี้ยง ปศุสัตว์และอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อการส่งออกของเวียดนาม ส่วนสำหรับโครงการลองเซิน ปิโตรเคมิคอลส์ (Long Son Petrochemicals) ที่ใช้เงินลงทุนกว่า 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐของเครือบริษัท SCG นั้นได้เริ่มเดินเครื่องจักรและทดสอบประสิทธิภาพการเดินเครื่องโรงงานทั้งระบบเพื่อเตรียมผลิตเม็ดพลาสติกคุณภาพสูงป้อนตลาดโลกในปี 2024
อินโฟกราฟิกเกี่ยวกับความสัมพันธ์เวียดนาม-ไทย (VNA) |
ความสำเร็จของโครงการเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนไทยต่อศักยภาพการพัฒนา บรรยากาศการลงทุนประกอบธุรกิจและการสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพของรัฐบาลเวียดนาม นายศักดิ์ชายย์ ชัฏชัยโสภณ รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจโรงงานอาหารแปรรูปฮานอย CP เวียดนามและนาย อำนาจ จุลชาติ ผู้ช่วยทูตฝ่ายการลงทุนสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอยได้ให้ข้อสังเกตว่า
“ในช่วงที่เราทำธุรกิจอาหารสำเร็จรูปมาในตลอดเวลาที่ผมมาทำงานที่นี่ 11 ปี เรามีช่วงประสบปัญหา ผมยกตัวอย่าง ในช่วงที่เรามีปัญหาเรื่องของโควิด-19 ช่วงนั้น ทุกคนเพราะไม่มีวิธีที่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าตอนนั้นยังไงที่จะให้ธุรกิจเราผ่านพ้นไปด้วยดี ผมได้รับความร่วมมือจากกระทรวงอุตสาหกรรมคุมเรื่องของโซนที่เราจะส่งของไปให้ แต่ก่อนที่เราจะเดินทางไปทางไหนก็ลำบาก เพราะฉะนั้น ทางอุตสาหกรรมก็ตกลงกับซีพีว่า ให้ซีพีสามารถที่จะส่งอาหารไปให้ได้เพราะถ้าเกิดซีพีส่งไม่ได้ ทุกคนก็จะไม่มีอาหารรับประทาน เรื่องของวัคซีน ช่วงอนามัยก็มาช่วยซีพีในการจัดหาวัคซีนมาฉีดให้กับพนักงานถึงโรงงาน เรื่องของไฟฟ้า ช่วงที่เราประสบปัญหาเรื่องไฟฟ้า การไฟฟ้าเองเข้ามาคุยและ focus ว่า เราจะตัดช่วงเวลาไหนที่เหมาะสมและไม่กระทบกับการผลิต”
“ลองเซินถือว่า เป็นโครงการใหญ่ ลองเซินช่วยอะไรเวียดนามก็คือตะกอนเวียดนาม เม็ดพลาสติกจะต้อง import จากต่างประเทศและต้องพึ่งการนำเข้าส่วนใหญ่ ถ้าหากวัตถุดิบพึ่งการนำเข้า ต้นทุนก็สูง การแข่งขันในเรื่องของ Supply chain ในส่วนของอุตสาหกรรมพลาสติกต่อไปที่จะทำไม่ว่าจะเป็นเซมิคอนดักเตอร์ หรือ อุตสาหกรรมยานยนต์ที่พึ่งสิ่งพวกนี้ มันจำเป็น การที่มีโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกในเวียดนาม ซึ่ง supply ประมาณเกือบ 50% ถ้าผมจำไม่ผิด มันเป็นโอกาสที่ดีของประเทศเวียดนามในการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่อไปอีกหลายๆส่วนไม่ว่าจะเป็นชิ้นส่วนพลาสติกคุณภาพและการพัฒนาคุณภาพของเม็ดพลาสติก ผมเชื่อว่า การที่ลองเซินเข้ามาเป็นการช่วยยกระดับมาตรฐานการผลิตในประเทศเวียดนามมากขึ้น”
โรงงาน CPV FOOD บิ่งเฟือก หนึ่งในโรงงานที่ทันสมัยที่สุดของซีพีเวียดนาม (cp.com.vn) |
กิจกรรม Meet Thailand ครั้งที่ 2 (The 2nd Meet Thailand) ระหว่างวันที่ 28-30 สิงหาคม 2567 ณ จังหวัดหล่าวกาย (Lao Cai) ภายใต้หัวข้อการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (ภาพจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอย) |
ในด้านการลงทุน ไทยเป็นนักลงทุนรายใหญ่อันดับ 9 ใน 144 ประเทศและดินแดนที่ลงทุนในเวียดนาม โดยมี 715 โครงการ รวมยอดเงินทุนจดทะเบียน 1 หมื่น 3 พัน 7 ร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนอกจากอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปแล้ว นักลงทุนไทยยังขยายการลงทุนในโครงการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมและพลังงาน ซึ่งเป็นโครงการที่มีการพัฒนาแบบก้าวกระโดดตามข้อสังเกตของนาย อำนาจ จุลชาติ ผู้ช่วยทูตฝ่ายการลงทุนสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอย
“ในส่วนที่บอกว่า ก้าวกระโดด อาจจะมองใน 2 stage คือส่งเสริมคุณภาพและส่งเสริมในเรื่องของนโยบายที่ทางเวียดนามกำลังต้องพัฒนาประเทศต่อไป ก็คือในเรื่องของ infrastructure ในเรื่องบริหารจัดการ เรื่องของนิคม จะเห็นว่า กลุ่มนิคมที่เข้ามาในเวียดนาม อย่างเช่น Amata WHA ก็เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่สามารถยกระดับคุณภาพของอุตสาหกรรมในเวียดนามเนื่องจากพร้อมบริหารจัดการพื้นที่ การให้บริการในเรื่องของ infrastructure ที่ดีให้กับนักลงทุน ซึ่งสิ่งนี้คล้ายๆ magnetic ที่ทำให้นักลงทุนจากต่างชาติเข้ามาลงทุนในเวียดนามเพิ่มขึ้น ส่วนที่ 2 ที่เป็นส่วนก้าวกระโดดคือในเรื่องของการพัฒนา เรื่องของพลังงาน เราจะเห็นว่า ในช่วงที่มีนโยบายในเรื่องของพลังงาน ประเทศไทยก็เป็นส่วนหนึ่งที่เข้ามาลงทุนอันดับต้นๆ โครงการใหญ่ๆ เช่น บริษัท Super บ้านปู ผู้ที่เข้ามาทำเรื่องพลังงานทางเลือกในประเทศเวียดนามในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ที่เราจะเห็นภาพว่า พลังงานทางเลือกในประเทศเวียดนาม bloom มากในช่วงนั้น”
นางสาว พยอม นาหอคำ รองประธาน Thai Cham (คนที่หนึ่งนับจากซ้าย) เป็นตัวแทน Thai Cham มารับรางวัล certificate of Merit จากกระทรวงวางแผนและการลงทุนในฐานะที่มีส่วนช่วยในการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้ามาในประเทศเวียดนามเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา (ภาพจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอย) |
ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา มูลค่าการค้าต่างตอบแทนระหว่างเวียดนามกับไทยได้เพิ่มขึ้นจาก 1 หมื่น 4 ร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2013 เป็นเกือบ 1 หมื่น 9 พันล้านดอลล์สหรัฐในปี 2023 โดยเฉพาะในปี 2022 มูลค่าการนำเข้าส่งออกระหว่างสองประเทศบรรลุกว่า 2 หมื่น 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้คือ 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยยังคงเป็นหุ้นส่วนการค้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนามในอาเซียน ซึ่งในผลสำเร็จดังกล่าว มีส่วนร่วมและบทบาทการประสานงานและการเป็นสะพานเชื่อมของหอการค้าและอุตสาหกรรมไทยในเวียดนาม หรือThaiCham ซึ่งก่อนหน้านั้นมีชื่อว่า สมาคมนักธุรกิจไทยในเวียดนาม หรือTBA โดยปัจจุบัน ThaiCham มีสมาชิก 150 คนและองค์กรทั้งเป็นบริษัท นักธุรกิจไทยในเวียดนามและกลุ่มนักลงทุนชาวไทยในต่างประเทศที่สนใจการลงทุนในเวียดนาม นางสาว พยอม นาหอคำ ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท Chance and challenge หรือ CAC และรองประธาน Thai Cham ได้เผยว่า
“การติดต่อประสานงานในทุกๆงานที่เกี่ยวข้องกับทางสถานทูตไทย สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ จะมีการอัพเดทประสานงานกันตลอดเวลา หรือ ในหลายๆครั้ง ทาง authority ของฝั่งเวียดนาม เวลามีงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน ทางจังหวัดเองก็จะเชิญทาง Thai Cham เข้าไปร่วมงาน ต้องบอกว่า เราก็ได้รับโอกาส และได้รับข้อมูลที่ดีๆจากทั้งหลายๆหน่วยงานที่ให้เราไปเข้าร่วมและแชร์ประสบการณ์ จริงๆต้องบอกว่า ในงานส่วนนี้ Thai Cham ก็มีบทบาทค่อนข้างชัดเจนเนื่องจากว่า ล่าสุด Thai Cham เราเพิ่งได้รับรางวัล certificate of Merit จากกระทรวงวางแผนและการลงทุนในฐานะที่มีส่วนช่วยในการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้ามาในประเทศเวียดนาม”
กิจกรรม Coffee Talk in the North ครั้งที่ 1 จัดโดยหอการค้าและอุตสาหกรรมไทยในเวียดนาม (ThaiCham) ณ โรงแรม Movenpick Hanoi Centre เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา (ภาพจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอย) |
ในการพบปะนอกรอบการประชุมผู้นำอาเซียน-ญี่ปุ่น ณ กรุงโตเกียว เมื่อปลายปีที่แล้ว นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้งและนาย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีไทยได้เห็นพ้องเพิ่มมูลค่าการค้าต่างตอบแทนให้อยู่ที่ 2 หมื่น 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐผ่านการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและขยายความร่วมมือในด้านที่ทั้งสองฝ่ายมีศักยภาพและจุดแข็ง โดยนาย อำนาจ จุลชาติ ผู้ช่วยทูตฝ่ายการลงทุนสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงฮานอย ได้ให้ข้อสังเกตว่า เวียดนามกับไทยสามารถส่งเสริมจุดอ่อนจุดแข็งด้วยกันได้ ซึ่งการสนับสนุนกันระหว่างสองประเทศไม่เพียงแต่เอื้อประโยชน์ให้แก่แต่ละฝ่ายเท่านั้น หากยังมีส่วนช่วยส่งเสริมการพัฒนาในภูมิภาคอีกด้วย
“เวียดนามตอนนี้มีประชากรร้อยล้าน ถ้าเราบอกว่า ประชากร 70%เป็นวัยรุ่น เรามองในภาพเดียวกันที่เมืองไทย ซึ่งเข้าสู่เอเชียน society เรามีองค์ความรู้ในด้านธุรกิจ แต่ขาดในเรื่องของพลัง แรงงาน หรือว่า แรงงานที่มีคุณภาพ ผมมองว่า เวียดนามมีศักยภาพตรงนี้เยอะ สามารถที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดห่วงโซ่การผลิตในภูมิภาคได้ know how ของไทยกับเวียดนาม พลังของคนเวียดนามที่เป็นวัยรุ่นที่มีความกระตือรือร้นในการทำธุรกิจ รวมถึงของคนไทยเองในเรื่องของ standard know how ในการบริหารจัดการ ถ้าเอาสองอย่างนี้มาร่วมกัน ผมว่า เราสามารถจะพาทั้งภูมิภาคไปสู่เวทีโลกได้”
ทั้งนี้สิ่งที่น่าสนใจคือเวียดนามกำลังเดินหน้าปฏิบัติเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 ส่วนไทยก็มีประสบการณ์ในการพัฒนาธุรกิจสีเขียวและเรื่องของสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการลงทุนและประกอบธุรกิจที่เวียดนามกำลังผลักดันการพัฒนา.