(VOVworld) – ในความพยายามเพื่อมุ่งสู่การจัดตั้งประชาคมอาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังเตรียมการให้แก่การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งเป็นนิมิตรหมายของการผสมผสานในทุกด้านของบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียน อย่างไรก็ดี ปี๒๐๑๕เป็นนิมิตรหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจของอาเซียนเท่านั้นและหลังปี๒๐๑๕ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะเป็นเช่นไร ต่อไปนี้ขอเชิญท่านฟังบทความเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายหลังปี๒๐๑๕
|
ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังเตรียมการให้แก่การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(Photo:Seatimes.com.vn) |
จนถึงปัจจุบัน บรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนได้บรรลุกว่าร้อยละ๘๐ของแผนการสร้างสรรค์ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและกำลังหารือถึงการมอบข้อตกลงแลกเปลี่ยนสินค้าของอาเซียนให้แก่ประเทศสมาชิกใหม่ เช่น กัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม ยกเลิกกำแพงภาษีศุลกากร อำนวยความสะดวกในด้านการค้าของอาเซียน พัฒนาและผสมผสานด้านศุลกากร ตามแผนการ ในปลายปี๒๐๑๕ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะได้รับการจัดตั้งบน๔เสาหลักคือสร้างสรรค์อาเซียนให้กลายเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว เป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ มีการพัฒนาใกล้เคียงกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและผสมผสมเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลก หลังจากที่ได้รับการจัดตั้ง การรวมเป็นตลาดเดียวกันจะช่วยให้สินค้า การบริการ และการลงทุนหมุนเวียนอย่างเสรี แรงงานที่มีฝีมือดีสามารถทำงานในภูมิภาคได้อย่างเสรี การแก้ไขกำแพงภาษีศุลกากรและการปลอดภาษีจะช่วยอำนวยความสะดวกให้สถานประกอบการผลักดันการส่งออก ลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าและลดต้นทุนการผลิตซึ่งช่วยให้อาเซียนมีความคล่องตัว มีการขยายตัว มีผลผลิตเพิ่มมากขึ้นและมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงกว่าภูมิภาคอื่นๆในโลก ศาสตราจาย์Hidetoshi Nishimura ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารสถาบันวิจัยเศรษฐกิจอาเซียนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยืนยันว่า การผสมผสานทางเศรษฐกิจของอาเซียนได้รับการผลักดันผ่านกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง“ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีเป้าหมายสำคัญ๒ประการคือ การค้าเสรีและฐานผลิตเดียวซึ่งสิ่งนี้มาจากเครือข่ายการผลิตที่ทันสมัยที่ได้รับการจัดตั้งใน๓ทศวรรษที่ผ่านมาซึ่งนับเป็นผลงานที่ดีที่ไม่มีในสหภาพยุโรปหรือประเทศตะวันตก เช่น การผลิตส่วนหนึ่งของไทยได้รับการถ่ายทอดให้แก่กัมพูชาและกรรมกรฝีมือดีของไทยจะเดินทางไปยังประเทศกัมพูชาเพื่อช่วยเหลือในการฝึกอบรมซึ่งสิ่งนี้กำลังได้รับการปฏิบัติ”
อย่างไรก็ดี การเชื่อมโยงระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนยังมีไม่สูงนัก ดังนั้นเพื่อให้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้รับการจัดตั้งและพัฒนาหลังปี๒๐๑๕ บรรดาประเทศอาเซียนจะต้องขยายการเชื่อมโยงภายในกลุ่มและกับภูมิภาค นายGeorge Yeo ประธานเครือบริษัทKerry Logistics อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์กล่าวว่า“ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีนและระหว่างจีนกับอินเดียจะส่งผลกระทบต่ออาเซียนในอนาคต อาเซียนจะสามารถรักษาบทบาทชี้ขาดได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการที่อาเซียนจะมีความสามัคคี ผสมผสานและเชื่อมโยงผ่านทางบก ทางอากาศ การเชื่อมโยงอิเล็กทรอนิกส์และการเคลื่อนย้ายของประชาชนหรือไม่”
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ปี๒๐๑๕เป็นเพียงนิมิตรหมายทางประวัติศาสตร์ของการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเท่านั้นเพราะภายหลังปี๒๐๑๕ บรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องทำหลายสิ่งหลายอย่าง โดยเฉพาะ การยกเลิกกำแพงภาษีศุลกากรและผลักดันการลงทุนเพื่อกลายเป็นภูมิภาคลงทุนที่ดึงดูดใจและพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อลดช่องว่างรายได้ระหว่างประเทศต่างๆในภูมิภาค./.
Mạnh Cường-VOV5