ดร.ศิขริน เตมียกุล (ซ้าย) และนาย ฉัตรชัย อมรเลิศปรีชา ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่ม CIRAC ได้รับการยกย่องในพิธีมอบรางวัลการประกวด Ending Plastic Pollution Innovation Challenge ในภูมิภาคอาเซียนปี 2020 ผ่านทางออนไลน์ (UNDP) |
“ประมาณ 20% ของขยะพลาสติกเป็นขยะแบบบรรจุภัณฑ์ที่ประกอบไปด้วยพลาสติกที่มีองค์ประกอบหลายชั้น เช่น ถุงขนม snack package ทั้งหลาย หรือซองกาแฟ 3 in 1 ซึ่งมีชั้นaluminium layer ข้างใน ไม่ใช่พลาสติดอย่างเดียว พลาสติกพวกนี้ที่ถูกใช้งานเยอะมาก ในอนาคตจะมีการใช้อย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีปัญหาคือด้วยการที่มันคือขยะพลาสติกที่ประกอบ material หลายอย่าง ทำให้ยากต่อการ recycle ปัจจุบัน ขยะพวกนี้ถูกทิ้งไว้ในทะเล ถ้าเราไม่สามารถหาทาง recycle มันได้ นี่จะเป็นเหตุผล ทำให้เราคิดถึงวิธีการเพื่อจัดการขยะพวกนี้ เราได้สร้างเทคโนโลยีที่ recycle พวกนี้ออกมาผ่านกระบวนการแยก aluminium layer ออกมาจากตัวพลาสติก ส่วนพลาสติกที่เหลือเราจะเปลี่ยนเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง”
เมื่อ 2 ปีก่อน ดร.ศิขริน เตมียกุล อายุ 30ปี ซึ่งจบการศึกษาระดับปริญญาเอกที่วิทยาลัยปิโตรเลียมปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและทำงานที่บริษัท SCG Chemicals ได้ร่วมกับเพื่อนคนหนึ่งจัดตั้งกลุ่ม CIRAC เพื่อวิจัยและพัฒนา“กระบวนการเปลี่ยนขยะบรรจุภัณฑ์ฟิล์มอ่อนตัวหลายชั้นเป็นอลูมิเนียมเเละน้ำมันเชื้อเพลิง” ซึ่งปัจจุบัน กำลังทำการทดสอบเทคโนโลยีนี้ในระดับ Pilot scale โดยนำขยะพลาสติก 1 ตันไปรีไซเคิลเป็นอลูมิเนียมประมาณ 200 ก.ก.ต่อวัน ส่วนกระบวนการเปลี่ยนขยะบรรจุภัณฑ์ฟิล์มอ่อนตัวหลายชั้นสู่น้ำมันเชื้อเพลิงนั้น กำลังทำการวิจัยและพัฒนา
“จุดเด่นของงานวิจัยของเราคือ design reator ซึ่งตัวreator เอง ราคาไม่แพง ปัจจุบัน เรามี reator อยู่แล้ว วัตถุดิบก็หาได้ทั่วไป สารตั้งต้นที่เราเอามาใช้ปัจจุบันก็เป็นซองกาแฟจากโรงงาน ปกติในโรงงาน เขาก็คืน package ที่ไม่ได้มาตรฐาน มันก็เป็นขยะ จำนวนมหาศาล เราเอามาเป็นสารตั้งต้นในการผลิตเป็นaluminium และน้ำมันของเรา ไม่มีของเสียต่อสิ่งแวดล้อม”
กลุ่ม CIRAC ได้ส่งผลงานดังกล่าวเข้าร่วมการประกวด Ending Plastic Pollution Innovation Challenge ในภูมิภาคอาเซียน หรือ EPPIC ปี 2020 โดยได้รับการชื่นชมจากคณะกรรมการจัดงานและคณะกรรมการตัดสินเป็นอย่างมาก ซึ่งทำให้กลุ่ม CIRAC เป็นหนึ่งใน 4 ทีมที่คว้ารางวัลการประกวด EPPICปี 2020 โดยได้รับเงินรางวัลทีมละ 1 หมื่น 8พันดอลลาร์สหรัฐและได้เข้าร่วมการอบรมเป็นเวลา 9เดือนเพื่อผลักดันการพัฒนาผลงานอย่างมีประสิทธิภาพ นาย หว่างแถ่งหวิง เจ้าหน้าที่ของโครงการเพื่อการพัฒนาของสหประชาชาติหรือ UNDP ในเวียดนาม ตัวแทนคณะกรรมการจัดงานได้ประเมินว่า
“กลุ่ม CIRAC ได้เสนอเทคโนโลยีที่ recycle ขยะพลาสติกตามรูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจุดใหม่ของเทคโนโลยีนี้คือนอกจากการเก็บและrecycle ขยะพลาสติกผ่านกระบวนการเปลี่ยนขยะบรรจุภัณฑ์ฟิล์มอ่อนตัวหลายชั้นเป็นอลูมิเนียมเเละน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว ยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มมากกว่าการrecycle ขยะพลาสติกให้เป็นเม็ดพลาสติกเพราะประเทศไทยกำลังต้องนำเข้าอลูมิเนียมจำนวนมาก ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะช่วยส่งเสริมการเก็บและrecycle ขยะพลาสติก มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก รวมทั้งขยะพลาสติกทางทะเล”
ข้อมูลเกี่ยวกับผลงานของกลุ่มCIRAC ในโครงการEPPIC ปี 2020 |
การเข้าร่วมการประกวด EPPICปี 2020 ไม่เพียงแต่เป็นโอกาสเพื่อให้กลุ่ม CIRAC นำเสนอเทคโนโลยีและเชื่อมโยงกับหุ้นส่วนต่างๆในภูมิภาคอาเซียนเท่านั้น หากยังมีส่วนช่วยปรับปรุงโครงการของพวกเขาให้สมบูรณ์อีกด้วย ดร.ศิขริน เตมียกุล เผยว่า
“ตลอดช่วง 6 เดือนที่มีprogramในการlearnกับeppic ทำให้เรามองเห็นภาพของการทำธุรกิจมากขึ้น เราเห็นภาพของการสร้างเทคโนโลยีที่ไม่ใช่แค่ทำธุรกิจเท่านั้น หากยังสอดคล้องกับการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม เราเห็นภาพในภาค businessที่จะเกิด impact ต่อสังคม ต่อโลกได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ที่สมุย สิ่งที่ได้รับประโยชน์โดยตรงคือเราได้เห็นตลอดchain ของขยะพลาสติก โครงการพาเราไปดูงานตั้งแต่ผู้ที่ใช้ขยะพลาสติกและสร้างขยะพลาสติกขึ้นมา ไปจนถึงกลุ่มคนที่คัดแยกขยะพลาสติก แล้วก็ทำการ recycle มันกลับมา”
จากการสานต่อความสำเร็จในการประกวด EPPICปี 2020 ในปี 2021 กลุ่ม CIRAC มีแผนปรับปรุง reator ให้ได้มาตรฐาน ผลักดันการวิจัยกระบวนการเปลี่ยนขยะบรรจุภัณฑ์ฟิล์มอ่อนตัวหลายชั้นให้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ควบคู่กันนั้น จะมีการส่งเสริมภาพลักษณ์ แบรนด์และเว็บไซต์และจัดตั้งบริษัท นอกจากนี้ ยังแสวงหานักลงทุน หุ้นส่วนที่จัดหาวัตถุดิบจากชุมชน บริษัทที่ซื้อเทคโนโลยี รวมทั้งอลูมิเนียมเเละน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศเพื่อมุ่งสู่การเจาะตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายในปี2022.