กิจกรรม “การละเล่นพื้นเมืองของประเทศอาเซียน”

Minh Ngoc- VOV5
Chia sẻ
(VOVWorld)-ในโอกาสฉลองวันเด็กสากล๑ มิถุนายน  ในวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนามได้ประสานงานกับกรมส่งเสริมการค้ามาเลเซียจัดกิจกรรม การละเล่นพื้นเมืองของประเทศอาเซียนโดยมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การเดินแฟชั่นชุดประจำชาติของประเทศอาเซียนและการละเล่นพื้นเมืองของประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   โดยมีผู้เข้าร่วมงานกว่า๒,๐๐๐คน รวมทั้งเด็กและนักศึกษา

(VOVWorld)-
ในโอกาสฉลองวันเด็กสากล๑ มิถุนายน  ในวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนามได้ประสานงานกับกรมส่งเสริมการค้ามาเลเซียจัดกิจกรรม การละเล่นพื้นเมืองของประเทศอาเซียน” โดยมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การเดินแฟชั่นชุดประจำชาติของประเทศอาเซียนและการละเล่นพื้นเมืองของประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  โดยมีผู้เข้าร่วมงานกว่า๒,๐๐๐คน รวมทั้งเด็กและนักศึกษา

กิจกรรม “การละเล่นพื้นเมืองของประเทศอาเซียน” - ảnh 1
การเดินแฟชั่นชุดประจำชาติของประเทศอาเซียน

เวลา๙โมงเช้าของวันเสาร์  กิจกรรม“การละเล่นพื้นเมืองของประเทศอาเซียน”เริ่มขึ้นด้วยการเดินแฟชั่นชุดประจำชาติของประเทศอาเซียน ที่เวทีกลางแจ้งด้านหน้าอาคารเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นอาคารที่มีหลังคาเป็นรูปว่าว  เด็ก๔คน อายุประมาณ๗-๘ขวบกำลังเดินแฟชั่นชุดอ๋าวหย่าย ซึ่งเป็นชุดประจำชาติของเวียดนาม หลังจากนั้นเป็นการเดินแฟชั่นชุดประจำชาติลาวของนางสาว มะนิแวง อินทะไย นักศึกษาชาวลาวที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยอุตสาหกรรมฮานอย   วันนี้ นางสาว มะนิแวง อินทะไยนุ่งผ้าซิ่นและเสื้อแขนยาวทรงกระบอกสีชมพู นี่เป็นครั้งแรกที่นางสาวมะนิแวง อินทะไยมีโอกาสเดินแฟชั่นชุดประจำชาติ  แม้ได้ฝึกการเดินแฟชั่นได้๑เดือนแล้ว แต่เธอก็ยังคงรู้สึกตื่นเต้นมากๆ “น้องรู้สึกดีใจและมีความภาคภูมิใจ  มาเข้าร่วมงานที่นี่ น้องใส่ชุดประจำชาติของลาว คนลาวใส่ชุดนี้ในโอกาสที่สำคัญ เช่น งานแต่งงาน เป็นต้น  น้องรู้สึกดีใจที่ได้มีโอกาสแนะนำให้ชาวเวียดนามเกี่ยวกับชุดแต่งกายและวัฒนธรรมของชาวลาว”
เด็กหญิงเลเวินแองที่นั่งชมการเดินแฟชั่นชุดประจำชาติได้เกือบ๓๐นาทีกล่าวว่า“ นี่เป็นครั้งแรกที่หนูได้ชมการเดินแฟชั่นชุดประจำชาติของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ชุดประจำชาติของประเทศต่างๆมีสีสันหลากหลายและแสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ของประชาชนประเทศนั้น  นอกเหนือจากชุดอ๋าวหย่ายของเวียดนามหนูชอบชุดประจำชาติของไทย ลาวและบรูไน”
เพื่อเตรียมให้แก่การเดินแฟชั่นในวันนี้ ในตลอดเกือบ๑เดือนที่ผ่านมา เด็ก๑๕คนที่มีอายุระหว่าง๕-๑๐ขวบและนักศึกษา๑๐คนจากประเทศลาว กัมพูชา มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปินส์และพม่าได้พยายามเป็นอย่างมากในการฝึกการเดินแฟชั่น  นาย เหงวียนยวีเถียว อดีตรองผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนามและสมาชิกคณะกรรมการจัดงานได้เผยว่า “เมื่อมาที่นี่ ผู้ชมจะมีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับชุดประจำชาติต่างๆของเยาวชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  พวกเขาไม่เพียงแต่ได้รับชมการเดินแฟชั่นโชว์ชุดประจำชาติเท่านั้นหากยังมีโอกาสถ่ายรูปและลองใส่ชุดประจำชาติเหล่านั้นอีกด้วยเพื่อเข้าใจได้ว่า เยาวชนในประเทศอื่นใส่ชุดอะไร ซึ่งชุดแต่งกายดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นของพิพิธภัณฑ์ ส่วนชุดประจำชาติใดที่ทางพิพิธภัณฑ์ไม่มี พวกเราก็ขอความช่วยเหลือจากสถานทูตประเทศอาเซียนประจำเวียดนาม”

กิจกรรม “การละเล่นพื้นเมืองของประเทศอาเซียน” - ảnh 2
การเล่นชักเย่อแบบไทย

เขตที่จัด“การละเล่นพื้นเมืองของประเทศอาเซียน”อยู่ห่างจากเวทีการแสดงชุดประจำชาติของประเทศอาเซียนไม่ไกลนัก  โดยคณะกรรมการจัดงานได้จัดการละเล่นต่างๆ เช่น หมากขุมแบบเวียดนามและมาเลเซียและชักเย่อของไทย เป็นต้น ทางด้านซ้ายของลานมีกลุ่มนักศึกษา๓คนกำลังเล่นหมากขุม  ซึ่งเป็นการละเล่นของเด็กๆเวียดนามในสมัยก่อน โดยมีอุปกรณ์การเล่นได้แก่กระดานที่จากกระดาษปกแข็งที่แบ่งเป็น๑๒หลุมและก้อนกรวดสีขาวหลายสิบก้อน ขณะที่นักศึกษาคนอื่นๆก็กำลังเล่นคองกัก ซึ่งเป็นการละเล่นพื้นเมืองของมาเลเซียที่คล้ายกับหมากขุมของเวียดนาม โดยกระดานแบ่งเป็น๑๔หลุมและจำนวนก้อนกรวดในแต่ละหลุมก็แตกต่างกัน  ซึ่งการละเล่นดังกล่าวมีจุดที่แตกต่างกันตามคำแนะนำของนาย Mohd Qa Shairi นักศึกษาชาวมาเลเซียว่า“ผมรู้สึกดีใจเป็นอย่างมากที่มีโอกาสแนะนำการเล่นคองกักให้แก่เพื่อนมิตรชาวเวียดนาม  กระดานของพวกเราทำจากไม้ ส่วนกระดานในการเล่นหมากขุมของเวียดนามทำจากกระดาษ คนเวียดนามใช้ก้อนกรวดเพื่อเล่นหมากขุม ส่วนพวกเราใช้ลูกแก้วเพื่อเล่นคองกัก”
ก็ออกไปเล็กน้อย นาย เหงวียนยวีมิง นักศึกษามหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์พร้อมเพื่อน๒คนกำลังเล่นชักเย่อพื้นเมืองของไทย  ซึ่งเพื่อนๆคนไทยเคยชินกับการละเล่นชักเย่อ๓มุมแต่สำหรับเยาวชนเวียดนามนี่คือการละเล่นที่แปลกใหม่ นาย เหงวียนยวีมิงได้เผยว่า
“ผมดีใจเป็นอย่างมากที่มีโอกาสเล่นการละเล่นพื้นเมืองต่างๆกับเพื่อนๆชาวต่างชาติ  แม้ภาษาเวียดนามของพวกเขาไม่ดีแต่พวกเขาก็พยายามอธิบายให้ผมเข้าใจวิธีการเล่น ผมได้รู้จักการละเล่นพื้นเมืองต่างๆ เช่นชักเย่อของไทย ผมคิดว่า ยากกว่าการเล่นชักเย่อแบบเวียดนาม เมื่อกลับบ้าน ผมจะสอนวิธีการเล่นให้แก่น้องๆ”
เมื่อถึงเวลาปิดงาน๑๖.๓๐น. ผู้ที่เข้าร่วมงานก็เริ่มทยอยพาลูกหลานกลับบ้านด้วยความชื่นมื่นและพึงพอใจ   ส่วนเด็กๆบางคนแสดงความเสียใจเนื่องจากอยากเล่นต่ออีก เด็กทุกคนต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า  ถ้ามีโอกาสจะกลับมาที่นี่เพื่อเล่นการละเล่นพื้นเมืองต่างๆ  ซึ่งถือเป็นความสำเร็จของกิจกรรมดังกล่าวในการแนะนำการละเล่นพื้นเมืองต่างๆ ของประเทศอาเซียนให้แก่เยาวชนเวียดนาม.

คำติชม