เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงผลักดันการส่งออกกุ้ง

Trung Hiếu; Vĩnh Phong
Chia sẻ
(VOVWORLD) - ปี 2019 มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์จากกุ้งของเวียดนามบรรลุเกือบ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเป็นเขตสำคัญในการเลี้ยงกุ้งน้ำกร่อยของประเทศ จังหวัดต่างๆในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะแหลมก่าเมากำลังพยายามบรรลุปริมาณกว่า 1.1 ล้านตันและมูลค่าการส่งออกบรรลุ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2025
เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงผลักดันการส่งออกกุ้ง - ảnh 1การเลี้ยงกุ้งน้ำกร่อยในจังหวัดก่าเมา

นาย หวิ่งวันหยุง ในตำบล เตินบั่ง อำเภอ เถอบิ่ง จังหวัดก่าเมาได้พัฒนารูปแบบการปลูกข้าวผสานกับการเลี้ยงกุ้งในท้องถิ่นมาเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาปัญหาน้ำทะเลซึมและโรคระบาดได้ทำให้พื้นที่เลี้ยงกุ้ง 1.5 เฮกตาร์ของครอบครัวได้รับความเสียหาย แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆนี้ จากการเข้าร่วมโครงการ “ยกระดับความยั่งยืนของระบบการเลี้ยงกุ้ง-ปลูกข้าว” ทำให้ผลผลิตเลี้ยงกุ้งของครอบครัวนาย หยุง เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการประยุกต์ใช้เทคนิคใหม่ ปัจจุบัน ครอบครัวนาย หยุง มีรายได้ตั้งแต่ 70-80 ล้านด่งต่อเฮกตาร์ต่อปี นาย หวิ่งวันหยุง เผยว่า “การปลูกข้าวผสานกับการเลี้ยงกุ้งมีประสิทธิภาพมากกว่า การทำนาสร้างคุณค่าด้านเศรษฐกิจไม่สูง แต่ลำบากมาก ขณะนี้ ราคาขายกุ้งสูงถึงนับแสนด่งต่อกิโลกรัม บางที ราคาขายกุ้งสูงถึง 8 แสนด่งต่อกิโลกรัม”

ส่วนที่จังหวัดบากเลียว มีพื้นที่เลี้ยงกุ้งมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากจังหวัดก่าเมา ซึ่งปัจจุบัน กำลังมีพื้นที่กว่า 3 หมื่น 4 พันเฮกตาร์ซึ่งผลิตตามรูปแบบปลูกข้าวผสานกับการเลี้ยงกุ้ง ด้วยความมุ่งมั่นกลายเป็น “แหล่งเลี้ยงกุ้งของประเทศ” จังหวัดบากเลียวกำลังประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในรูปแบบการเลี้ยงกุ้ง ที่น่าสนใจคือ รูปแบบการเลี้ยงกุ้งที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆในโรงเรือนของกลุ่มบริษัทเวียดนาม-ออสเตรเลีย ซึ่งให้ผลผลิตกุ้งสูงถึง 100 ตันต่อเฮกตาร์ต่อปี สถานประกอบการหลายแห่งในท้องถิ่นและประชาชนกำลังเปลี่ยแปลงแนวทางลงทุนตามรูปแบบนี้ ซึ่งมีส่วนร่วมเพิ่มปริมาณการเลี้ยงกุ้งในปีนี้ของจังหวัดบากเลียวสูงกว่า 1 แสน 4 หมื่น 2 พันตัน เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว นาย เยืองแถ่งจุง ประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัดบากเลียวเผยว่า นอกจากการเน้นผลิตกุ้งตามแนวทางห่วงโซ่คุณค่า ทางการจังหวัดได้ก่อตั้งนิคมอุตสาหกรรมที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงของหน่วยงานเลี้ยงกุ้งที่มีพื้นที่ 418 เฮกตาร์ รวมยอดเงินลงทุนเกือบ 1 ล้านล้านด่ง นาย เยืองแถ่งจุง ย้ำว่า “ปัจจุบัน มีนักลงทุนที่ประกอบธุรกิจในหน่วยงานกุ้ง 20 รายได้ขอเข้ามาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมนี้ มีสถาบันและมหาวิทยาลัยบางแห่งก็ขอเข้ามาที่นี่เพื่อเผยแพร่เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ใหม่ๆเกี่ยวกับหน่วยงานกุ้งและเครือข่ายกุ้งที่นิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้เพื่อขยายผลและกลายเป็นศูนย์กลางของหน่วยงานกุ้งแห่งชาติ ปัจจุบัน ได้มีการปฏิบัติกว่า 100 รูปแบบการเลี้ยงและแปรรูปกุ้งเป็นการนำร่อง ซึ่งในเบื้องต้นได้ประสบความสำเร็จ ดังนั้น พวกเราหวังว่า ในเวลาอันใกล้นี้ นิคมอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงนี้จะขยายผลและรูปแบบนี้จะขยายผลไปยังจังหวัดบากเลียวและแหลมก่าเมา”

เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงผลักดันการส่งออกกุ้ง - ảnh 2ชีวิตของประชาชนได้รับการยกระดับให้สูงขึ้นจาการปลูกข้าวผสมกับการเลี้ยงกุ้ง 

นานมาแล้ว เครื่องหมายการค้ากุ้งเวียดนามได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในทั่วโลก ปัจจุบันผลิตภัณฑ์กุ้งเวียดนามได้รับการส่งออกไปยังเกือบ 80 ประเทศและดินแดน มีส่วนร่วมต่อมูลค่าการส่งออกเกือบ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี แต่ในเวลาที่ผ่านมา เริ่มมีอุปสรรคในตลาดส่งออก นาย เหงียนเวียดจุง หัวหน้าหอการค้าของสำนักงานพาณิชย์และอุตสาหกรรมจังหวัดก่าเมาได้แสดงความเห็นว่า มาตรฐานด้านเทคนิคของประเทศต่างๆนับวันเข้มงวดมากขึ้น ในขณะเดียวกัน สัตว์น้ำของเวียดนามถูกอียูให้ใบเหลือง ทำให้ผลิตภัณฑ์กุ้งได้รับผลกระทบและถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวดมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ในเวลาที่จะถึง หน่วยงานกุ้งของจังหวัดก่าเมาและเวียดนามจะพัฒนามากขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่เข้มแข็งของสถานประกอบการในการเพาะเลี้ยงและการแปรรูป ซึ่งจะสร้างตลาดส่งออกที่ยั่งยืนมากขึ้นในอนาคต นอกจากนั้น นอกจากตลาดเดิม เช่น สหรัฐ จีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี สถานประกอบการได้ขยายตลาดส่งออกไปยังรัสเซียและอังกฤษ และเน้นตลาดภายในประเทศมากขึ้น นาย เหงียนเวียดจุง เผยว่า “การส่งออกคือแนวทางขั้นพื้นฐานเพื่อยกระดับมูลค่าสินค้าของเกษตรกรและสถานประกอบการ พวกเราได้ส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งไปยังหลายประเทศ ซึ่งช่วยสร้างรายได้สูง นอกจากนั้น ก็ต้องให้ความสนใจถึงตลาดภายในประเทศ ขณะนี้ ผลิตภัณฑ์กุ้งของก่าเมาได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดนครโฮจิมินห์และกรุงฮานอย การส่งออกสัตว์น้ำ รวมทั้งกุ้งของจังหวัดก่าเมาจะมีศักยภาพมากขึ้นในเวลาที่จะถึง”

ในเวลาที่ผ่านมา จังหวัดต่างๆในเขตริมฝั่งทะเลของเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเน้นพัฒนาตามแผนปฏิบัติการพัฒนาหน่วยงานกุ้งของนายกรัฐมนตรี ซึ่งในปัจจุบันก็ได้เห็นถึงสัญญาณที่น่ายินดี แต่เพื่อเสร็จสิ้นเป้าหมายสร้างสรรค์และพัฒนาหน่วยงานกุ้งให้เข้มแข็ง ท้องถิ่น สถานประกอบการและเกษตรกรต้องเปลี่ยนแปลงใหม่ ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีในการเพาะเลี้ยงและแปรูปเพื่อตอบสนองความต้องการที่นับวันเพิ่มสูงขึ้นของตลาดโลก

*** แผนปฏิบัติการแห่งชาติเกี่ยวกับการพัฒนาหน่วยงานกุ้งจนถึงปี 2025 ของนายกรัฐมนตรีได้ระบุว่า จนถึงปี 2020 พื้นที่เลี้ยงกุ้งน้ำกร่อยของเวียดนามต้องบรรลุ 7 แสน 1 หมื่นเฮกตาร์ ยอดปริมาณกุ้งเลี้ยงบรรลุกว่า 8 แสน 3 หมื่น 2 พันตัน มูลค่าการส่งออกกุ้งน้ำกร่อยบรรลุ 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนจนถึงปี 2025 พื้นที่เลี้ยงกุ้งน้ำกร่อยเพื่อการส่งออกบรรลุ 7 แสน 5 หมื่นเฮกตาร์ ยอดปริมาณกุ้งเลี้ยงบรรลุกว่า 1.1 ล้านตัน มูลค่าการส่งออกกุ้งน้ำกร่อยอยู่ที่ 8.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ยอดมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งจนถึงปี 2025 บรรลุ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ.

คำติชม